ค้นหาสินค้า

ไผ่

จำหน่ายต้นไผ่ กล้าและกิ่งพันธุ์ไผ่ สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ผู้ให้การสนันสนุน

ไผ่เลี้ยง 6 เมตร

ต้นไผ่เลี้ยง สูง 3 เมตร

ไม้ไผ่อัด เสื่อลำแพนอัดกาว มีบริการส่งทั่วประเทศ

รั้วไม้ไผ่แช่น้ำยากันมอดสไตล์ญี่ปุ่น ตรม.ละ 1,000 บาท

ต้นไผ่เลี้ยง สูง2.50ม

ต้นไผ่

ไผ่เลี้ยง 6 เมตร
ไผ่เลี้ยง 6 เมตร ปราจีนบุรี

ราคา 180.00 บาท /ถุง

ไผ่เลี้ยง สุง3.5เมตร ส่งปลูกเก็บเงินปลายทาง
ไผ่เลี้ยง สุง3.5เมตร ส่งปลูกเก็บเงินปลายทาง องครักษ์ นครนายก

ราคา 120.00 บาท /กอ

ต้นไผ่รวก ศรีราชา ชลบุรี
ต้นไผ่รวก ศรีราชา ชลบุรี ศรีราชา ชลบุรี

ราคา 100.00 บาท /ต้น

ต้นไผ่
ต้นไผ่ ปราจีนบุรี

ราคา 100.00 บาท /ถุง

ต้นไผ่ดำ มารับเองที่โคราชส่งไม่ได้ โทร 0616498997
ต้นไผ่ดำ มารับเองที่โคราชส่งไม่ได้ โทร 0616498997 เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา

ราคา 2,000.00 บาท /ต้น

ต้นไผ่บงหวาน Sweet Bamboo ซื้อ 3 แถม 1
ต้นไผ่บงหวาน Sweet Bamboo ซื้อ 3 แถม 1 วังสะพุง เลย

ราคา 69.00 บาท /ต้น

ไผ่ตงศรีปราจีน
ไผ่ตงศรีปราจีน ทุ่งสง นครศรีธรรมราช

ราคา 300.00 บาท /ต้น

ไผ่เงิน/ไผ่แมว(ถุง5)
ไผ่เงิน/ไผ่แมว(ถุง5) องครักษ์ นครนายก

ราคา 12.00 บาท /ต้น

(1ต้น) ต้น ไผ่แดง
(1ต้น) ต้น ไผ่แดง เมืองมหาสารคาม มหาสารคาม

ราคา 339.00 บาท /ต้น

ไผ่ซางหม่น
ไผ่ซางหม่น เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 250.00 บาท /ต้น

ไผ่ดำ
ไผ่ดำ บางไทร พระนครศรีอยุธยา

ราคา 333.00 บาท /ต้น

ไผ่ดำ ขนาด 3 เมตร
ไผ่ดำ ขนาด 3 เมตร เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 200.00 บาท /ถุง

ไผ่เลี้ยง3เมตร
ไผ่เลี้ยง3เมตร เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 100.00 บาท /ถุง

พันธุ์ไผ่ซางหม่น
พันธุ์ไผ่ซางหม่น บ้านด่านลานหอย สุโขทัย

ราคา 50.00 บาท /กิ่ง

ไผ่ซางหม่นกิ่งตอน ต้นละ 100 บาท ดร.อิงลิช การ์เดนทร์
ไผ่ซางหม่นกิ่งตอน ต้นละ 100 บาท ดร.อิงลิช การ์เดนทร์ กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 100.00 บาท /ต้น

ไผ่สีทอง
ไผ่สีทอง ปราจีนบุรี

ราคา 500.00 บาท /1

ไผ่ซาง
ไผ่ซาง หนองหาน อุดรธานี

ราคา 55.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นไผ่

ชลบุรี (1 ร้าน)

เชียงราย (1 ร้าน)

นครนายก (1 ร้าน)

นครราชสีมา (1 ร้าน)

นครศรีธรรมราช (1 ร้าน)

ปราจีนบุรี (6 ร้าน)

พระนครศรีอยุธยา (1 ร้าน)

มหาสารคาม (2 ร้าน)

เลย (1 ร้าน)

สุโขทัย (1 ร้าน)

อุดรธานี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นไผ่ ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์ไผ่

ไผ่เลี้ยง 6 เมตร
ไผ่เลี้ยง 6 เมตร ปราจีนบุรี

ราคา 180.00 บาท /ถุง

ไผ่เลี้ยง สุง3.5เมตร ส่งปลูกเก็บเงินปลายทาง
ไผ่เลี้ยง สุง3.5เมตร ส่งปลูกเก็บเงินปลายทาง องครักษ์ นครนายก

ราคา 120.00 บาท /กอ

เมล็ดพันธุ์ไผ่ซาวนวล ????ซองละ 200 บาท50เม็ด
เมล็ดพันธุ์ไผ่ซาวนวล ????ซองละ 200 บาท50เม็ด บางพลี สมุทรปราการ

ราคา 200.00 บาท /ซอง

เมล็ดพันธุ์ไผ่ซางหม่น ซื้อ3แถม1
เมล็ดพันธุ์ไผ่ซางหม่น ซื้อ3แถม1 สีชมพู ขอนแก่น

ราคา 100.00 บาท /50 เมล็ด

เมล็ดไผ่ บงหวาน
เมล็ดไผ่ บงหวาน เกาะลันตา กระบี่

ราคา 50.00 บาท

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์ไผ่

กระบี่ (1 ร้าน)

ขอนแก่น (1 ร้าน)

สมุทรปราการ (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์ไผ่ ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าไผ่

ไผ่เลี้ยง 6 เมตร
ไผ่เลี้ยง 6 เมตร ปราจีนบุรี

ราคา 180.00 บาท /ถุง

ไผ่เลี้ยง สุง3.5เมตร ส่งปลูกเก็บเงินปลายทาง
ไผ่เลี้ยง สุง3.5เมตร ส่งปลูกเก็บเงินปลายทาง องครักษ์ นครนายก

ราคา 120.00 บาท /กอ

ไผ่กิมซุง
ไผ่กิมซุง กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 50.00 บาท

ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง ต้นละ200
ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง ต้นละ200 บางพลี สมุทรปราการ

ราคา 200.00 บาท /ต้น?

กล้าไผ่ซางหม่น
กล้าไผ่ซางหม่น งาว ลำปาง

ราคา 45.00 บาท /บาท

ต้นไผ่เงิน หรือไผ่แมว
ต้นไผ่เงิน หรือไผ่แมว คลองหลวง ปทุมธานี

ราคา 60.00 บาท /ถุง

ไผ่
ไผ่ งาว ลำปาง

ราคา 30.00 บาท /ถุง

ไผ่กิมซุง
ไผ่กิมซุง หนองหาน อุดรธานี

ราคา 30.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นกล้าไผ่

ปทุมธานี (1 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ลำปาง (2 ร้าน)

สมุทรปราการ (1 ร้าน)

อุดรธานี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าไผ่ ทั้งหมดในเว็บ

ข้อเสียของต้นไผ่เลี้ยง

- ต้นไผ่เป็นพืชผลัดใบ หากปลูกต้นไผ่เป็นจำนวนมากเศษใบไม้ของใบไผ่จะร่วงหล่นตามพื้นค่อนข้างเยอะ

- กอไผ่เวลาที่ขึ้นซ้อนกันเป็นจำนวนมาก จะเป็นที่อยู่ของสัตว์มีพิษ

- หากเราปลูกต้นไผ่แล้วไม่ดูแลตัดกิ่งตกแต่งกิ่งให้มีความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยก็จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หรือแหล่งซ่องสุมของสัตว์มีพิษ

- ต้นไผ่มีความทนทานมาก ขุดถอนรากถอนโคนก็ไม่ค่อยจะยอมหลุดออกไปง่าย ๆ ถอนไปแล้วไม่นานก็โตขึ้นมาอีกเรื่อย ๆ ต้องหมั่นถอนกันบ่อย ๆ

ไผ่

ประโยชน์ของต้นไผ่เลี้ยง

- ปลูกเพื่อสร้างแนวรั้ว

- ปลูกเป็นไม้ประดับสวนภายในบ้านให้ความร่มรื่น

- ปลูกเป็นแนวกันแดดกันลมให้กับสวนผักสวนผลไม้ ที่ไม่ชอบแดดจัด

- ลำต้นนำไปแปรรูปใช้งานได้อย่างหลากหลาย เช่น ทำบันได โป๊ะ หลักไม้สำหรับเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ ทำกระดาษ เครื่องจักสาน และใช้ทำเฟอร์นิเจอร์

- หน่อไม้นำไปบริโภคสดหรือแปรรูปเป็นหน่อไม้ดองได้

ไผ่

วิธีการปลูกไผ่หลอด

เตรียมต้นพันธุ์ไผ่หลอดที่สมบูรณ์แข็งแรง นำมาปลูกลงในดินที่เตรียมไว้ ขุดหลุมขนาด 30*30*50 เซนติเมตร ต่อ 4-5 ต้น รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ปลูกในช่วงแรกต้องดูแลรดน้ำให้เพียงพอ เมื่อต้นเจริญเติบโตให้ลดการให้น้ำ ไม่ต้องดูแลรักษามาก ปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติ

ไผ่

ลักษณะพฤกษศาสตร์ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ วิธีการดูแล ประโยชน์ ของต้นไผ่เหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์ไผ่เหลือง : Bambusa vulgaris Schrad

ชื่อภาษาอังกฤษไผ่เหลือง : Common Bamboo, Yellow Bamboo

ชื่ออื่นๆ : ไผ่หลวง, ไผ่ซางคำ, จันคำ, ไผ่จีน, ไผ่รีไช

ลำต้นไผ่เหลือง : เป็นไม้ล้มลุก แตกต้นเป็นก่อห่าง ไม่เป็นพูพอนสูง ลำต้นทรงกระบอกกลวง ตั้งตรง แตกกิ่งก้านตั้งแต่ระดับล่าง แตกกิ่งน้อย ไม่มีหนาม บริเวณข้อกิ่งออกเป็น 3 กิ่ง โดยกิ่งตรงกลางใหญ่กว่ากิ่งด้านข้าง ผิวลำต้นมีสีเหลืองสด และมีแถบสีเขียวพาด 1-4 แถบ ตามความยาวของปล้อง หน่อใหญ่ ปลายหน่อแหลม โคนกาบหุ้มหน่อมีสีเหลือง ปลายกาบมีสีเขียว มีขนสีน้ำตาลเข้มปกคลุม ส่วนเนื้อหน่อมีสีขาว

ใบไผ่เหลือง : เป็นใบเดี่ยวออกตามปลายกิ่ง รูปใบหอก ก้านใบสั้น แผ่นใบ และขอบใบเรียบ โคนมใบเป็นรูปลิ่ม ปลายใบแหลม แผ่นใบสีเขียว เส้นกลางใบสีเหลือง ก้านใบสีเขียว มีกาบสีเหลืองหุ้มบริเวณข้อก้านใบ

ดอกไผ่เหลือง : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว

ไผ่

การขยายพันธุ์ของต้นไผ่เหลือง

การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การปักชำต้น และการแยกเหง้า

การดูแลต้นไผ่เหลือง

ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด ทนแล้งได้ดี

ประโยชน์ของต้นไผ่เหลือง

- นิยมปลูกประดับตามสวน ปลูกในกระถาง หรือปลูกตามแนวรั้ว

- สามารถนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ

- หน่อใช้ประกอบอาหาร


ความเชื่อไผ่สีทอง เป็นไม้มงคล

ต้นไผ่สีทองเป็นไม้มงคล ควรปลูกทางทิศตะวันออก ซึ่งสีเหลืองทองสื่อถึงเงินทองและความรุ่งเรือง เชื่อว่าช่วยนำความผาสุกมาให้แก่ครอบครัว รวมถึงช่วยให้โชคลาภ และเงินทองไหลมาเทมา

ไผ่

วิธีการปลูกไผ่เลี้ยง

- เตรียมต้นกล้าสูงประมาณ 50 เซนติเมตร

- เตรียมพื้นที่โดยการไถกลบหน้าดินทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ แล้วไถกลบอีกครั้ง

- ขุดหลุมปลูกลึก 25 เซนติเมตร ระยะห่างในการปลูก 4*4 เมตร นำต้นกล้าลงหลุม แล้วกลบดิน รดน้ำทุกวันจนครบ 2 อาทิตย์ หลังจากนั้นรดอย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์

- เมื่อครบ 3 อาทิตย์ ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ต้ละ 1 กำมือ หว่านรอบๆ ต้น และใส่ทุกๆ 15 วัน จนกระทั่งเก็บผลผลิต

- ไผ่อายุ 7 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งและลำต้นที่เล็กออก แล้วพรวนดินให้ทั่วรอบกอ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 5 - 10 กิโลกรัม

- ไผ่อายุ 8 เดือนขึ้นไป จะสามารถให้หน่อไผ่และเพิ่มจำนวนต้นในแต่ละกอ เพื่อจะได้ปริมาณจำนวนต้นไว้ผลิตหน่อในฤดูต่อไป ถ้ากอไหนมีต้น 4 ลำขึ้นไปสามารถเก็บหน่อไผ่ได้ ถ้ามีน้อยกว่าอย่าเพิ่งตัดหน่อ หน่อไผ่พ้นขึ้นมาจากดินประมาณ 4-6 วัน จะมีขนาดประมาณ 40-50 เซนติเมตร จึงจะสามารถตัดได้ มีขนาดพอดีไม่แก่เกินไป

- ไผ่อายุ 2 ปี ต้องตัดต้นที่แก่และชิดกันออก ให้แต่ละกอเหลือจำนวนต้นอยู่ประมาณไม่เกิน 12 ต้น

- หลังจากนั้น ควรตัดแต่งกิ่งทุกปีปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 15-20 กิโลกรัม แล้วรดน้ำทันที

ไผ่

พันธุ์ไผ่ตงที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด

1. ไผ่ตงดำ ลำต้นจะมีสีเขียวเข้มอมดำ ใบมีสีเขียวเข้ม หนาใหญ่ และมองเห็นร่องใบชัดเจน ให้หน่อมีคุณภาพ หน่อมีขนาดปานกลาง มีรสหวานกรอบ เนื้อเป็นสีขาวละเอียดและไม่มีเสี้ยน นิยมปลูกเพื่อผลิตหน่อและทำตงหมก มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า "ไผ่ตงหวาน"

2. ไผ่ตงเขียว ลำต้นมีขนาดเลฌกแบะสั้นกว่าไผ่ตงดำ ลำต้นสีเขียว เนื้อไม้บาง ไม่ค่อยแข็งแรง ใบมีขนาดปานกลาง บาง และสีเขียมเข้ม จับแล้วไม่สากมือ หน่อมีรสาติหวานอมขื่นเล็กน้อย เนื้อเป็นสีขาวอมเหลือง ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี

ไผ่

วิธีการทำหลอดไม้ไผ่

หลอดไม้ไผ่เป็นวัสดุที่นิยมใช้ในการสร้างหลอดดูดน้ำเพราะมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ไม่มีหนามและเป็นวัสดุธรรมชาติ ทำให้เป็นทางเลือกที่ดีในการลดการใช้หลอดพลาสติก และช่วยลดภาวะโลกร้อนได้

1. เตรียมไผ่หลอดอายุประมาณ1 ปี ตัดเป็นลำ

2. นำไม้ไผ่ไปรมควัน

3. ตัดตามขนาดที่ต้องการ

4. ขัดให้เรียบแล้วทำลวดลายตามความต้องการ

ไผ่

ความแตกต่างระหว่างพันธุ์ไผ่สีทองและพันธุ์ไผ่เหลือง

- ไผ่สีทองมีลำต้นเล็กกว่าไผ่เหลือง

- ไผ่สีทอง มีลำต้นเพลา และตรงกว่า ไผ่เหลือง

- ไผ่สีทองมีใบขนาดใหญ่กว่า ไผ่เหลือง

- ไผ่สีทองแตกหน่อเป็นลำต้นชิดกันกว่า ไผ่เหลือง

- ไผ่สีทองไม่แตกกิ่งที่โคนต้น แต่จะแตกกิ่งตั้งแต่บริเวณกลางลำต้นถึงปลายยอด ส่วนไผ่เหลือง แตกกิ่งตั้งแต่ช่วงล่างของลำต้น

- ไผ่สีทองมีแถบสีเขียวพาดตั้งที่ปล้องเพียง 1 เส้น หรือบางพันธุ์ไม่มีพาดสีเขียวตัด ส่วนไผ่เหลืองมีพาดสีเขียวมากกว่า 1 เส้น

- หน่อของไผ่เหลืองมีขนาดใหญ่กว่าหน่อไผ่สีทอง

ไผ่สีทอง
ไผ่สีทอง
ไผ่เหลือง
ไผ่เหลือง

ไผ่เลี้ยงมีกี่ชนิด

ไผ่เลี้ยงมี 2 ชนิด

ไผ่

1.ไผ่เลี้ยงพันธุ์หนัก

เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตหน่อได้ตามปกติ คือในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - สิงหาคม ในช่วงฤดูอื่นก็จะไม่ให้ผลผลิต หรืออาจจะมีบ้างแต่ก็น้อยมาก ถ้าจะนำหน่อไผ่เลี้ยงพันธุ์หนักไปผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูหรือต้นฤดูฝนก่อนที่ผลผลิตหน่อตามฤดูกาลจะออกมา เพื่อที่จะได้จำหน่ายในราคาที่สูงกว่าไผ่ที่ออกตามฤดูกาลนั้น ต้องมีการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี และค่อนข้างยาก ต้นทุนสูง ผลผลิตที่ได้ก็น้อยมากไม่คุ้มกับทุน

2.ไผ่เลี้ยงพันธุ์เบา

เป็นไผ่เลี้ยงพันธุ์ที่ให้ผลผลิตหน่อไผ่ตั้งแต่ในช่วงฤดูฝนเช่นกัน แต่ไผ่เลี้ยงชนิดนี้สามารถผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูกาลได้ดีมาก เพราะมีลักษณะเด่น คือ ปลูกเลี้ยงง่าย บำรุงรักษาง่าย ถ้าได้น้ำ ได้ปุ๋ยดี จะให้ผลผลิตหน่อทันที ไม่ต้องรอถึงช่วงฤดูฝน ผลผลิตที่ได้จะเพิ่มมากขึ้นตามความเอาใส่ใจในการบำรุงรักษา จึงสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ฉะนั้นปลูกไผ่เลี้ยงขายหน่อไผ่ ควรปลูกพันธุ์เบาจะเหมาะมาก


ไผ่ตง มี 4 ชนิด

ไผ่ตงดำ

ลำต้นจะมีสีเขียวเข้มอมดำ ขนาดเล็กกว่าไผ่ตงหม้อ ผิวลำต้นสีเขียวอมเทา มีขนขึ้นปกคลุมบริเวณโคนต้น และบริเวณปล้องมีนวลแป้งสีขาว เมื่อจับจะรู้สึกสากมือ กิ่งแขนงมีน้อย ใบจะมีสีเขียวเข้ม หนาใหญ่และมองเห็นร่องใบได้ชัดเจน หน่อจะมีขนาดปานกลาง กาบหน่อมีสีน้ำตาลปนดำ มีขนละเอียดสีน้ำตาลดำคล้ายกำมะหยี่ เนื้อเป็นสีขาวละเอียดและไม่มีเสี้ยน มีรสหวาน กรอบ จึงเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเพื่อผลิตหน่อและทำตงหมก ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มคุณภาพของหน่อให้ดีขึ้นไปอีก ไผ่ตงพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่ให้หน่อที่มีคุณภาพ เป็นที่รู้จักในชื่อ "ไผ่ตงหวาน"

หน่อไผ่ตงดำ
หน่อไผ่ตงดำ

ไผ่ตงเขียว

มีขนาดลำต้นเล็กและสั้นกว่าไผ่ตงดำ สีของลำต้น จะเป็นสีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลื่น มีทรงพุ่มค่อนข้างทึบ เนื่องจากมีแขนง และใบมาก เนื้อไม้บาง ไม่ค่อยแข็งแรง ใบมีขนาดปานกลาง บางและสีเขียวเข้ม จับแล้วไม่สากมือ หน่อมีรูปทรงกรวย สีของกาบหน่อเป็นสีเขียว ขอบกาบเป็นสีม่วงแดง และมีขนสีม่วงแดง เมื่อลอกกาบหน่อออกบริเวณเหนือรอยกาบจะมีสีเขียวอมเหลือง มีรสหวานอมขื่นเล็กน้อย เนื้อของหน่อค่อนข้างเหลืองหยาบ มีเสี้ยนมาก

หน่อไผ่ตงเขียว
หน่อไผ่ตงเขียว

ไผ่ตงหม้อ

มีลำต้น หน่อ และใบใหญ่ ทรงพุ่มโปร่ง ลำต้นตั้งตรงมี ลำต้นมีสีเขียว มีนวลแป้งสีขาวปกคลุม ลำปล้องปล้องเรียบสม่ำเสมอ กิ่งแขนงมีน้อยมาก กิ่งแขนงส่วนมากเป็นกิ่งเดี่ยว ส่วนใบมีขนาดเล็ก สีเขียว ไม่หนาแน่น หน่อมีสีน้ำตาลอมม่วงกับน้ำตาลดำอมม่วง มีขนาดหน่อใหญ่มาก กาบหน่อมีขนละเอียดคล้ายไผ่ตงดำ บริเวณรอยต่อของกาบมีสีเปลือกมังคุด เนื้อหน่อมีสีขาว เนื้อค่อนข้างหยาบ และแข็งกว่าไผ่ตงดำ ใบกาบหุ้มแนบชิดกับโคนหน่อ

ต้นไผ่ตงหม้อ
ต้นไผ่ตงหม้อ

ไผ่ตงหนู

เป็นไผ่ตงที่มีลำต้น และหน่อเล็กกว่าไม้ไผ่ตงชนิดอื่นๆ แตกทรงพุ่มแน่น และค่อนข้างเตี้ย


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นไผ่หลอด ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์

ไผ่

  1. ชื่อวิทยาศาสตร์ : Neohouzeaua mekongensis
  2. ลำต้น : เป็นไผ่ขนาดเล็ก ขึ้นเป็นกอ สำต้นสีเขียวเป็นมัน ไม่มีหนาม ขึ้นเป็นกอ เป็นพุ่ม แขนงสั้น
  3. ใบ : ใบสีเขียวเรียวเล็ก
  4. หน่อ : หน่อเล็ก มีขน หน่อสีเทา กาบสีขาว

การขยายพันธุ์ของต้นไผ่หลอด

โดยการแยกเหง้า

การดูแลต้นไผ่หลอด

ต้องการน้ำปานกลาง ชอบความชื้น

ประโยชน์ของต้นไผ่หลอด

ลำต้นใช้ทำม่าน ทำหลอดดูด นิยมนำไปตกแต่งสวน และปลูกริมรั้วเป็นรั้วบ้าน

ไผ่

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นไผ่สีทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ วิธีการดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร และประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นไผ่สีทอง : Bambusa vulgaris Schrad

ชื่อภาษาอังกฤษของต้นไผ่สีทอง : Common Bamboo, Golden Bamboo

ชื่ออื่นๆ : ไผ่เหลือง ไผ่หลวง ไผ่ซางคำ จันคำ ไผ่จีน ไผ่รีไช

ลำต้นของต้นไผ่สีทอง : เป็นไม้ล้มลุก เป็นพุ่มกอ ลำต้นทรงกระบอกกลวง ตั้งตรง สีเหลือง มีแถบริ้วเขียวตามความยาวของปล้อง 1 เส้น หรือไม่มี ผิวเรียบ มีข้อปล้องชัดเจน ไม่มีหนาม เนื้อแข็ง มีเหง้าใต้ดิน แตกกิ่งตั้งแต่บริเวณกลางลำต้นถึงปลายยอด

ใบของต้นไผ่สีทอง : เป็นใบเดี่ยว ออกที่ปลายกิ่ง รูปใบหอก ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียวแซมด้วยลายสีขาว เป็นแถบ ผิวใบด้านล่างมีไข เส้นกลางใบสีเหลือง ก้านใบสีเขียว มีกาบสีเหลืองหุ้มบริเวณข้อก้านใบ

ดอกของต้นไผ่สีทอง : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว ขนาดเล็ก

หน่อของต้นไผ่สีทอง : มีขนาดเล็ก หน่อชะลูดและเรียวยาว กาบหุ้มหน่อสีน้ำตาลอมเหลือง และมีขนสีน้ำตาลเข้มปกคลุม

ต้นไผ่สีทอง
ต้นไผ่สีทอง

การขยายพันธุ์ของต้นไผ่สีทอง

โดยการแยกเหง้า และปักชำต้น

การดูแลต้นไผ่สีทอง

ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดปานกลางถึงแดดจัด ทนแล้งได้ดี

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นไผ่สีทอง

ช่วยลดไข้ ละลายเสมหะ รักษาโรคบิด แก้ท้องเสีย ขับระดู ขับลม ขับปัสสาวะ

ไผ่สีทองตากแห้ง
ไผ่สีทองตากแห้ง
ไผ่สีทองผ่าตากแห้ง
ไผ่สีทองผ่าตากแห้ง

ประโยชน์ของต้นไผ่สีทอง

หน่อสามารถนำมารับประทาน เนื้อไม้ใช้ทำอุปกรณ์เครื่องใช้ หรือที่อยู่อาศัย นิยมปลูกประดับตกแต่งสวน ตกแต่งร้าน ปลูกเป็นแนวรั้ว ปลูกตามบ้านเรือน และสถานที่สาธารณะ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นไผ่ดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ความเชื่อ และประโยชน์ของต้นไผ่ดำ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นไผ่ดำ

ต้นไผ่ดำ
ต้นไผ่ดำ

  1. ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa vulgaris Schrad.
  2. ชื่อภาษาอังกฤษ : BLACK BAMBOO, Fernledt Bamboo
  3. ชื่ออื่นๆ : ไผ่ดำ, ไผ่เสฉวน, ไผ่หลอด
  4. ลำต้น : เป็นพืชตระกูลไผ่ ลำต้นเดี่ยว ขึ้นเป็นกอหลวมๆ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นเป็นปล้องยาว ผิวเกลี้ยง ลำอ่อนสีเขียวอมม่วง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ หน่ออ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดง หน่ออ่อนมีรสขมจัดไม่นิยมรับประทาน
  5. ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปใบหอก ปลายแหลม โคนสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบสาก ใบสีเขียว กาบหุ้มข้อสีน้ำตาลแดง
  6. ดอก : ออกเป็นช่อ

การขยายพันธุ์ของต้นไผ่ดำ

โดยการปักชำ แยกเหง้า ฝังลำ

ต้นไผ่ดำ
ต้นไผ่ดำ

การดูแลต้นไผ่ดำ

ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำมาก ชอบแดดจัด

ความเชื่อของต้นไผ่ดำ

เป็นไม้มงคล มีความเชื่อว่าไล่สิ่งเลวร้ายหรือสิ่งไม่ดีให้ออกไปจากที่พักอาศัยของผู้ปลูก บ้านใดปลูกจะมีสุขภาพแข็งแรง ค้าขายต่างบ้านต่างเมืองจะเจริญรุ่งเรือง

ต้นไผ่ดำ
ต้นไผ่ดำ

ประโยชน์ของต้นไผ่ดำ

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับอาคาร สถานที่ หรือปลูกเป็นไม้กระถาง


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของไผ่เลี้ยง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ วิธีการดูแล

ชื่อวิทยาศาสตร์ของไผ่เลี้ยง : Bambusa multiplex (Lour.) Raeusch. ex Schult.

ชื่อภาษาอังกฤษของไผ่เลี้ยง : Hedge Bamboo

ชื่ออื่นๆ : ไผ่เชียงไพร, ไผ่สร้างไพร, ไผ่เลี้ยงบ้าน, ไผ่เลี้ยงหวาน

ใบของไผ่เลี้ยง : เป็นเดี่ยวออกตามข้อถึงปลายยอด ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบคม ผิวใบหยาบ แผ่นใบสีเขียว มีกาบหุ้มลำต้น ใบแตกออกบริเวณกลางลำ ทำให้ดูเป็นพุ่มอยู่ส่วนยอดของต้น มีใบดกมาก

ลำต้นของไผ่เลี้ยง : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง กลม เป็นทรงกระบอกกลวง ผิวเกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน ไม่มีหนาม เนื้อเเข็ง เนื้อไม้ค่อนข้างหนา มีข้อปล้องชัดเจน มีขนสีขาวนวลอยู่ตามข้อ มีเหง้าใต้ดินสั้น

ดอกของไผ่เลี้ยง : ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งตามซอกใบ ดอกสีขาว ก้านดอกยาว

ผลของไผ่เลี้ยง : ทรงรีขนาดเล็กมีผนังของผล เชื่อมติดกับส่วนเปลือกของเมล็ด

เมล็ดของไผ่เลี้ยง : มีสีน้ำตาล

หน่อของไผ่เลี้ยง : สีเขียวอมเหลือง ไม่มีขนที่กาบใบ เนื้อแน่นฉ่ำน้ำ มีสีเหลืองนวล มีรสชาติหวานมัน กรอบอร่อย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

ต้นไผ่เลี้ยง สูง 6 เมตร
ต้นไผ่เลี้ยง สูง 6 เมตร

ไผ่เลี้ยงมี 2 ชนิด

หน่อไผ่เลี้ยง
หน่อไผ่เลี้ยง

  1. ไผ่เลี้ยงพันธุ์หนัก ให้ผลผลิตหน่อตามปกติ คือในช่วงฤดูฝน
  2. ไผ่เลี้ยงพันธุ์เบา ให้ผลผลิตหน่อตามปกติ และสามารถผลิตเป็นไผ่นอกฤดูกาลได้ เนื่องจาก ปลูก และบำรุงรักษาง่าย เก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี

การขยายพันธุ์ของต้นไผ่เลี้ยง

โดยการแยกกอ และปักชำ

ต้นไผ่เลี้ยงประดับ
ต้นไผ่เลี้ยงประดับ

การดูแลต้นไผ่เลี้ยง

ไผ่เลี้ยงขึ้นได้ดีในดินทั่วไป ชอบดินร่วนซุยหรือดินร่วนปนทราย ชอบแดดรำไรถึงเต็มวัน ต้องการน้ำปานกลาง การเจริญเติบโตปานกลาง

ไผ่เลี้ยงทำรั้ว
ไผ่เลี้ยงทำรั้ว

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นไผ่ตงลืมแล้ง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นไผ่ตงลืมแล้ง

ไผ่ตงลืมแล้ง/ไผ่กิมซุง
ไผ่ตงลืมแล้ง/ไผ่กิมซุง

  1. ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa beecheyana
  2. ลำต้น : มีข้อปล้องชัดเจน สีของลำปล้องเป็นสีเขียวเข้ม เป็นมัน ไม่มีขน ลำอ่อนมีนวลสีขาวปกคลุม เนื้อในลำปล้องจะค่อนข้างตัน
  3. ใบ : ยอดกาบรูปสามเหลี่ยมเรียว ส่วนใบกิ่งเป็นรูปหอกปลายเรียวแหลม มีก้านสั้น มีขนาดต่างกันไป บ้างก็จะมีใบกว้างมาก ไม่มีเส้นลายใบด้านขวาง แต่มักจะมีตุ่มใสๆ บนใบ หลังใบไม่มีขน แต่อาจพบขนอ่อนบริเวณท้องใบ
  4. ดอก : ออกดอกเป็นช่อ
  5. หน่อ : แทงขึ้นจากโคนกอ เปลือกหุ้มหน่อสีเขียวคลํ้า ไม่มีขน มีหน่อได้เร็วและหน่อดกตลอดทั้งปี

การขยายพันธุ์ของต้นไผ่ตงลืมแล้ง

โดยการแยกหน่อ และตอนกิ่ง

กิ่งตอนไผ่ตงลืมแล้ง
กิ่งตอนไผ่ตงลืมแล้ง
หน่อไผ่ตงลืมแล้ง
หน่อไผ่ตงลืมแล้ง

การดูแลต้นไผ่ตงลืมแล้ง

ปลูกได้กับทุกสภาพอากาศ ทุกสภาพดิน เป็นไผ่ที่ทนต่อการถูกน้ำท่วมนานๆ และทนต่อความแห้งแล้งได้

ไผ่

ประโยชน์ของต้นไผ่ตงลืมแล้ง

หน่อนำมาแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง หน่อไม้กระป๋อง หน่อไม้สดนำมาปรุงอาหาร ให้เนื้อกรอบหวาน ไม่มีรสขมเจือปน ลำต้นขายส่งโรงงานกระดาษ ใช้ทำไม้ค้ำยัน ไม้ก่อสร้าง และไม้ใช้สอยอื่นๆ และเนื้อไม้ตัวมอดไม่กินเนื้อไม้อีกด้วย เลยนิยมนำไปสร้างบ้านทำเฟอร์นิเจอร์ได้ทนทานกว่าไผ่อื่นชัดเจน

หน่อไผ่ตงลืมแล้ง (ไผ่กิมซุง)
หน่อไผ่ตงลืมแล้ง (ไผ่กิมซุง)

ไผ่ตงมีกี่สายพันธุ์ (3427)

ไผ่ตงมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ตงหม้อ ตงดำ ตงเขียว และตงหนู โดยลักษณะตามสายพันธุ์มีดังนี้

1. ไผ่ตงหม้อ หรือ ไผ่ตงใหญ่ หรือ ไผ่ตงหนัก ไผ่ตงสายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ที่สุด จึงมีลำขนาดใหญ่ ลำยาวตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไป ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 12-18 เซนติเมตร ใบมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ กอโปร่ง เพราะแตกกิ่งแขนงน้อย หน่อมีขนาดใหญ่มาก หนักประมาณ 5-10 กิโลกรัม (หน่อหนักประมาณ 20 กิโลกรัม ก็เคยมี แต่เมื่อสมัยก่อนที่ยังอุดมสมบูรณ์และอายุกอยังไม่มาก) หน่อมีสีน้ำตาลอมม่วงและน้ำตาลดำอมม่วง บนกาบหน่อมีขนค่อนข้างละเอียด เนื้อหน่อมีสีขาว แต่แข็งและหยาบกว่าตงดำ ช่วงออกหน่อจะอยู่กลางฤดูฝน (กรกฎาคม-สิงหาคม)

2. ไผ่ตงดำ หรือ ไผ่ตงกลาง สายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่รองลงมาจากไผ่ตงหม้อ คือเส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 6-12 เซนติเมตร หรือมีเส้นรอบวงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ที่สำคัญลำต้นมีสีเขียวเข้มจนไปถึงอมดำ จึงเป็นที่มาของชื่อตงดำ ลำต้นเตี้ยกว่าและสั้นกว่าตงหม้อ ข้อค่อนข้างเรียบ และที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะมีแป้งสีขาวจับอยู่บริเวณปล้อง ใบมีสีเขียวเข้มขนาดใหญ่และหนากว่าไผ่ตงสายพันธุ์อื่นๆ หน่อไผ่ตงดำจัดเป็นสุดยอดหน่อไม้ที่มีคุณภาพดีมาก เนื่องจากมีรสหวาน กรอบ เนื้อขาวละเอียด ไม่มีเสี้ยน นิยมนำมาทำตงหมก หน่อจะมีน้ำหนักประมาณ 3-6 กิโลกรัม

3. ไผ่ตงเขียวนี้จะมีขนาดลำต้นเล็กและสั้นกว่าไผ่ตงดำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5-12 เซนติเมตร สีของลำต้น จะเป็นสีเขียว เนื้อไม้บาง ไม่ค่อยแข็งแรง ใบมีขนาดปานกลาง บางและสีเขียวเข้ม จับแล้วไม่สากมือ หน่อมีน้ำหนัก 1-4 กิโลกรัม หน่อไม้ไผ่ตงชนิดนี้จะมีรสหวานอมขื่นเล็กน้อย เนื้อเป็นสีขาวอมเหลือง ไผ่ตงเขียวมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี นอก จากนี้แล้วไผ่ตงเขียวยังมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี เหมาะที่จะปลูกใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีผู้นิยมปลูกกันมากไม่แพ้ไผ่ตงดำ

4. ไผ่ตงหนู หรือ ตงเล็ก เป็นพันธุ์ขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่เพียง 3-6 เซนติเมตร ไผ่ตงชนิดนี้ยังปลูกกันน้อย เนื่องจากให้ผลผลิตต่ำกว่าไผ่ตงอื่น ๆ แหล่งปลูกภาคเหนือที่ได้ผลดีคือ ที่จังหวัดลำปาง และเชียงใหม่ ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ยังมีปลูกกันไม่มากครับ

ไผ่ตงที่ขายกันส่วนมากแล้วก็จะมีตงหม้อและตงเขียวศรีปราจีนที่ขายกัน และกิ่งพันธุ์ไผ่มักนิยมขยายด้วยวิธีตอนกิ่งซะเป็นส่วนใหญ่ เพราะไผ่ ตงออกรากง่าย ลำหนึ่งตอนได้ทีเป็นสิบกิ่ง และกิ่งพันธุ์มีโอกาสรอดร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การขยายพันธุ์ด้วยวิธีชำกิ่งแขนง และชำลำที่มีแขนงติดมาด้วยก็นิยมเช่นกัน เพราะสะดวกรวดเร็ว และได้จำนวนมาก ส่วนวิธีดูว่ากิ่งพันธุ์ที่ขายนั้นเป็นไผ่ตงจริงหรือไม่นั้น มีลักษณะดูง่ายๆ คือ ที่ลำแม่ที่เขาตัดมาชำนั้น ที่หัวเขาจะตัดให้เป็นหัวแหลมหรือเฉียงนั่นเอง ส่วนไผ่เลี้ยงจะตัดตรงๆ สังเกตลักษณะการตัดได้ที่ลำแม่ที่ชำเช่นกัน

ไผ่ตง เราจะเน้นบริโภคหน่อเป็นหลัก แต่ลำก็ใช้ติดตรงที่เนื้อไม้บางลำกลวงมีช่องว่างมาก เหมาะกับการทำของที่ระลึก ของใช้ ของชำร่วยที่ไม่มีการกดทับมากนัก เฟอร์นิเจอร์ก็ทำได้แต่ต้องพิถีพิถันตั้งแต่ขั้นตอนการตัด การรักษาเนื้อไม้ และการประกอบ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มไผ่ (3713)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Chamaedorea erumpeus  H.E.Moore
ชื่อวงศ์:  ARECACEAE
ชื่อสามัญ:  Bamboo palm
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ปาล์มแตกหน่อ มีกอ ลำต้นขนาดเล็กเป็นข้อปล้องเห็นได้ชัดเจน มีสีเขียวเป็นมันเหมือนลำต้นไผ่ลำต้นสูงประมาณ 5-6 ฟุต
    ใบ  ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ มีสีเขียว และเป็นมัน ใบเรียวแหลม ทรงอวบ เหนียว ทางใบยาวประมาณ 2 ฟุต
    ดอก  ออกเป็นช่อ ช่อดอกจะแซมออกตามข้อปล้องของลำต้นตรงส่วนยอด ๆ
    ฝัก/ผล  มีสีเขียว พอแก่จะแตกเป็นสีม่วงดำ ผลหนึ่งๆ จะมีเมล็ดอยู่เมล็ดเดียว
    เมล็ด  ขนาดเมล็ดเท่าถั่วลันเตา
การปลูก:  ปลูกประดับไว้ตามริมหน้าต่างข้างประตู
การดูแลรักษา:  ไม่ต้องการแสงแดดมากปลูกได้ในที่แดดรำไรเพียงครึ่งวัน แต่ต้องการน้ำพอสมควร
การขยายพันธุ์:  แยกหน่อหรือเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  
    -    ไม้ประดับ
    -    ก้านและใบของมันมาใช้ประโยชน์ในการจัดดอกไม้และตกแต่งห้อง
ถิ่นกำเนิด:  เม็กซิโกและอเมริกาใต้
*ปาล์มไผ่นี้มีความสามารถในการคายความชื้นสูง และดูดสารพิษจำพวกเบนซิน ไตรคลอไรเอททาริน ฟอร์มาดิไฮด์ ได้ดี


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของไผ่น้ำเต้า (3732)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Bambusa ventricosa   McClure
ชื่อวงศ์:  GRAMINEAE
ชื่อสามัญ:  Buddha s Belly bamboo, Phai namtao
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ลำต้นอยู่เหนือดินตั้งตรงเอง ผิวเรียบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ต้นแก่สีเขียวอมเหลือง
    ใบ  เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบด้านบนมีลักษณะมันเรียบ ส่วนด้านท้องใบมีลักษณะหยาบ ขอบใบมีความคม ใบแก่สีเขียวเข้มเรียวแหลม
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดจัด ต้องการน้ำพอสมควร เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด
การขยายพันธุ์:  การแตกหน่อ หรือ แยกกอ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ทำเป็นของชำร่วยได้ เช่น ทำแจกัน
    -    บริโภค
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศจีน
ส่วนที่ใช้บริโภค:  หน่อสามารถนำมาทำอาหารรับประทานได้
สรรพคุณทางยา:
    -    ใบ นำมาปรุงเป็นยาขับฟอกโลหิตระดูที่เสีย
    -    ตาไม้ไผ่ สุมไฟเอาถ่าน ใช้รับประทานแก้ร้อนในกระหายน้ำ
    -    ราก มีรสกร่อยและใช้รวมกับยาขับโลหิต ขับระดู


การขยายพันธุ์ไผ่ตง (3815)

ไผ่ตงสามารถขยายพันธุ์ได้ 5 วิธีคือ การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แยกเหง้า ชำปล้อง และการขยายพันธุ์โดยการปักชำแขนง ซึ่งมีวิธีทำดังนี้

1. การเพาะเมล็ด

ไผ่ตงเมื่อหมดอายุขัยจะออกดอกและ ตาย ปกติไผ่ตงจะเริ่มออกดอกในเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เมล็ดไผ่ตงจะเริ่มแก่และร่วงหล่นประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน เกษตรกรสามารถนำเมล็ดไผ่ตงที่ได้ไปทำการเพาะต่อไปโดยวิธีการดังนี้

1.1 การเก็บเมล็ดพันธุ์

      - เมล็ดไผ่ตงเมื่อแก่จัดจะร่วงลงพื้น เกษตรกรควรทำความสะอาดหรือถางโคนต้นให้เตียน เพื่อความสะดวกในการรวบรวมเมล็ดไผ่ตง หรือใช้วัสดุหรือตาข่ายรองรับเมล็ดพันธุ์ไผ่ตง กรณีเขย่าต้นให้เมล็ดร่วงจากต้น

      - รวบรวมเมล็ดพันธุ์ไผ่ตงที่ได้ ทำการฝัดด้วยกระด้งก็จะได้เมล็ดที่สมบูรณ์

      - นำเมล็ดที่สมบูรณ์มาขัด นวดเอาเปลือกออกโดยใช้พื้นรองเท้าแตะฟองน้ำ ขัดนวดเมล็ดบนกระด้ง และฝัดเอาเปลือกออก

      - นำเมล็ดที่ได้ไปผึ่งแดด ประมาณ 1 แดด ก็สามารถนำไปเพาะได้ เพื่อป้องกันแมลงและไม่ควรเก็บเมล็ดไว้เกิน 1 เดือน เพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกลดลง

1.2 วิธีการเพาะกล้าไผ่ตง

      - เมล็ดไผ่ตงที่จะเพาะควรขัดเอาเปลือกนอกออกก่อนถ้าเพาะทั้งเปลือกนอกเมล็ดจะงอกช้าและเติบโต ไม่สม่ำ เสมอ

      - นำเมล็ดไปแช่น้ำ 2 คืน หรือแช่เมล็ดด้วยน้ำอุ่นประมาณ 2 ชั่วโมงแล้วแช่น้ำอีก 1 คืน

      - นำเมล็ดขึ้นจากน้ำ แล้วห่อหุ้มเมล็ดด้วยผ้ารดน้ำให้ชื้นอยู่เสมอประมาณ 2 คืน เมล็ดจะเริ่มงอก

      - นำเมล็ดที่เริ่มงอกไปลงแปลงเพาะที่มีขี้เถ้าแกลบผสมดินและทรายรองพื้นหนาประมาณ 4 นิ้ว หว่านเมล็ดแล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 1 ซม. คลุมแปลงด้วยวัดสุคลุมดิน เช่น หญ้าแห้ง และฟางข้าว

      - ทำการย้ายกล้า ภายหลังจากการเพาะลงแปลงแล้วประมาณ 15 วัน ซึ่งต้นกล้าไผ่ตงจะมีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว ย้ายกล้าที่แข็งแรงลงถุงเพาะและอนุบาลไว้ในเรือน เพาะชำ หรือในที่ร่มรำไร ประมาณ 6-8 เดือน ก็นำไปปลูกต่อไป

2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

เราสามารถใช้ต้นกล้าไผ่ตงที่ได้ จากการเพาะเมล็ดมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการนำต้นกล้ามาขยายพันธุ์ให้ได้ปริมาณมาก ๆ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนต้นพันธุ์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต้นพันธุ์ที่มาจากการเพาะชำ กิ่งแขนงออกดอกและตายเพราะกิ่งแขนงที่นำมาจากต้นแม่ที่มีอายุมากพร้อมที่จะ ออกดอก กิ่งแขนงนั้นจะมีอายุเท่ากับต้นแม่ ฉะนั้นเมื่อต้นแม่ออกดอก กิ่งแขนงที่นำไปปลูกก็จะออกดอกตายด้วยเช่นกัน แต่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องอาศัยขั้นตอนและเทคนิคทาง วิชาการมาก จึงควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการหรือบริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินการผลิต

3. การขยายพันธุ์โดยการแยกกอ เหง้า

การขยายพันธุ์วิธีนี้จะต้องคัด เลือกเหง้า ที่มีอยู่ 1-2 ปี จะตัดให้ตอสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร แล้วทำการขุดเหง้ากับตอออกจากกอแม่เดิม โดยระวังอย่าให้ตาที่คอเหง้าแตกเสียหายได้ เพราะตานี้จะแตกเป็นหน่อต่อไป ส่วน "หน่อเจ่า" เป็นหน่อที่ขุดขึ้นมามีขนาดเล็ก สามารถแยกกอไปปลูกได้เช่นกัน การขยายพันธุ์ วิธีนี้จะได้เหง้าแม่ที่สะสมอาหารอยู่มากจึงมีอัตราการอดตายสูงทำให้หน่อ แข็งแรงและได้หน่อเร็วกว่าวิธีขยายพันธุ์โดยการใช้ กิ่งแขนงหรือลำ ได้พันธุ์ตรงกับสายพันธุ์เดิม แต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากเสียเวลาแรงงาน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก

4. การขยายพันธุ์โดยใช้ลำ

การขยายพันธุ์วิธีนี้จะต้องทำการ คัดเลือกลำที่มีอายุประมาณ 1 ปี แล้วนำมาตัดเป็นท่อน ๆ โดยให้แต่ละท่อนมี 1 ข้อ ซึ่งการใช้ท่อนตัด 1 ข้อ จะต้องตัดตรงกลางและให้รอยตัดทั้งสองห่างจากข้อประมาณ 1 คืบ และควรเป็นลำที่มีแขนงติดอยู่โดยจะต้องตัดให้แขนงเหลือยาวประมาณ 1 คืบด้วย จากนั้นจึงนำไปชำในแปลงเพาะชำ โดยวางให้ข้ออยู่ระดับดินและให้ตาหงายขึ้น ระวังอย่าให้ตาได้รับอันตราย แล้วใส่น้ำลงในปล้องไผ่ตงให้เต็ม และคอยเติมน้ำให้อยู่เต็มอยู่เสมอ

การเพาะวิธีนี้จะต้องหมั่นดูแลรด น้ำให้ความชุ่มชื่นอยู่เสมอหลังจากนั้นประมาณ 2-4 สัปดาห์จะพบหน่อและราก แตกออกมา เมื่อหน่อแทงรากแข็งแรงเต็มที่ ประมาณ 6-12 เดือน ก็ทำการย้ายปลูกได้

5. การขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งแขนงปักชำ

กิ่งแขนงคือ กิ่งที่แยกออกจากลำต้นไผ่ตรงบริเวณข้อ ซึ่งโคนกิ่งแขนงจะมีรากงอกเห็นได้เด่นชัด การใช้กิ่งแขนงขยายพันธุ์เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะสะดวกและง่าย โดยมีการคัดเลือกดังนี้

      - ให้เลือกกิ่งแขนง ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1 1/2 นิ้ว

      - ให้เลือกรากของกิ่ง แขนงที่มีสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลอมเหลืองและมีรากฝอยแตกจากรากแขนงแล้ว

      - ให้เลือกกิ่งแขนง ที่ใบยอดคลี่แล้ว และกาบหุ้มตาหลุดหมดแล้วเช่นกัน

      - ให้เลือกกิ่งแขนง ที่มีอายุ 4-6 เดือน ถ้าเป็นกิ่งค้างปียิ่งดี

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

การปลูกไผ่ตง (3816)

การเตรียมพื้นที่
ควรเตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้ง ซึ่งจะทำงานได้สะดวกสามารถลงมือปลูกได้ทันในต้นฤดูฝน โดยในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้ำขัง มีเนิน หรือมีตออยู่ในพื้นที่ต้องไถบุกเบิก กำจัดตอออกให้หมด ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบอยู่แล้ว แค่ไถพรวนกำจัดวัชพืชอย่างเดียวก็พอ

ฤดูปลูก
ในแหล่งที่สามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี ก็สามารถปลูกไผ่ได้ตลอดปีเช่นกัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรปลูกตั้งแต่ฝนเริ่มตก จนถึงปลายเดือนมิถุนายน หากฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำช่วย

ระยะปลูก
ระยะปลูกที่เหมาะสมระหว่างต้น x ระหว่างแถว คือ 6-8 x 6-8 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกไผ่ตงได้ประมาณ 25-45 ต้น ทั้งนี้ระยะปลูกควรพิจารณาจากพันธุ์ไผ่ตง และสภาพความสมบูรณ์ของดิน ถ้าปลูกไผ่ตงดำ ควรปลูกห่างกว่าไผ่ตงเขียว เพราะขนาดลำของไผ่ตงดำจะใหญ่กว่าไผ่ตงเขียว และถ้าสภาพดินเลว ไผ่ไม่ค่อยเจริญเติบโต ควรใช้ระยะปลูกที่ถี่กว่าสภาพดินดี

การเตรียมหลุมปลูก
หลุมที่ปลูกไผ่ตงควรมีขนาด กว้างxยาวxลึก ไม่น้อยกว่า 50x50x50 เซนติเมตร ให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 1 กระป๋องนม (ประมาณ 300-500 กรัม) ต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ (ประมาณ 1 กิโลกรัม) และยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้ากับดินบนให้ทั่วแล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุม ให้ระดับดินสูงกว่าเดิมเล็กน้อยเผื่อสำหรับดินยุบตัวภายหลัง

การปลูก
ถ้าเป็นต้นกล้าไผ่ตงที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ควรเป็นต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์ มีอายุไม่น้อยกว่า 14 เดือน หรือความสูงไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร มีระบบรากฝอยแผ่กระจายและสมบูรณ์ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง สำหรับการคัดเลือกต้นกล้าไผ่ตงที่ได้จากการชำ กิ่งแขนงนั้น ควรเป็นต้นกล้าที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร มีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจาก การทำลายของโรคและแมลงการปลูกควรนำต้นกล้าไปปลูกตรงกลางหลุมที่เตรียมไว้ปลูกให้ลึกเท่า กับระดับดินเดิมแล้วพูนดินบริเวณโคนต้นให้เป็นเนินสูงขึ้นเล็กน้อย ใช้ไม้ปัก เป็นหลักผูกยึดต้นไผ่ เพื่อป้องกันลมโยก หลังจากนั้นต้องรดน้ำตามทันที เพื่อช่วยให้เม็ดดินกระชับราก นอกจากนี้ต้นไผ่ที่เพิ่งปลูกจะไม่ทนต่อแสงแดด และความร้อนสูง ต้องใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอื่น ช่วยพรางแสงแดด จนกว่าต้นกล้าจะมีใบใหญ่และตั้งตัวได้แล้ว จึงค่อยปลดออก

การปลูกพืชแซม
ในระหว่างที่ต้นไผ่ตงเพิ่งเริ่มปลูกยังเล็กอยู่ในช่วง 1-2 ปีแรก ควรจะปลูกพืชแซม เพื่อเสริมรายได้ อาจจะปลูกผัก พืชไร่ หรือไม้ผลอายุสั้น เช่น กล้วย มะละกอ เป็นต้น หลังจากไผ่ตงโตแล้วแดดส่องผ่านได้น้อย ก็ยังสามารถปลูกพืชแซมได้ พืชที่ปลูกได้ผลดีก็คือ กระชาย เพราะเป็นพืชที่ทนร่มได้ดี นอกจากกระชายแล้ว ยังมีพืชสมุนไพรอีกหลายชนิดที่ทนร่มและได้ผลดี เช่นกัน ในสวนที่ไม่ได้ปลูกพืชแซมควรปล่อยให้มีหญ้าขึ้นตามธรรมชาติ และคอยควบคุมการตัด หรืออาจจะปลูกพืชคลุมดินเพื่อรักษาหน้าดินและความชื้นภายในดิน เช่น ถั่วลาย เพอราเลีย คุดซู ก็ได้ โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตรา 2-3 กก./ไร่

การให้น้ำ
ต้นไผ่ตงปลูกใหม่ในระยะแรกนั้น จะขาดน้ำไม่ได้ต้องคอยดูแลรดน้ำให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ หลังจากนั้นเมื่อไผ่ตงตั้งตัวได้ดีแล้ว อาจเว้นระยะห่างออกไปบ้างปริมาณ และความถี่ของการให้น้ำขึ้นอยู่ กับสภาพความชื้นของดินและเมื่อถึงฤดูแล้งควรหาวัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ฟางแห้ง คลุมบริเวณโคนต้น เพื่อรักษาความชื้นให้ กับดิน

การใส่ปุ๋ย
- การให้ปุ๋ย ในช่วงปีแรกไผ่ตงสามารถใช้ ปุ๋ยที่คลุกเคล้าไปกับดินปลูกได้ในระยะปีต่อ ๆ ไปจำเป็นจะต้องมีการไถพรวนและใส่ ปุ๋ย หลังจากเก็บหน่อขายแล้วจะทำการตัดแต่งกอและไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช ปกตินิยมไถพรวนในช่วงเดือน ตุลาคม-พฤศ จิกายน ก่อนที่ดินจะแห้ง เพราะถ้าดินแห้งจะไถพรวนได้ยาก
- การใส่ปุ๋ยจะใส่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ปุ๋ยที่นิยมคือปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักโดยจะใส่ในอัตรา 1-1.5 ตันต่อไร่ (40-50 กก. หรือ 4-5 บุ้งกี๋ต่อกอ) หรืออาจใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 2-4 กก. ต่อกอ ร่วมกับปุ๋ยคอก
ในกรณีที่ต้องการเร่งการออกหน่อ นอกเหนือจากปุ๋ยปกติแล้วจะมีการใส่ปุ๋ย ยูเรีย (46-0-0) ในอัตรา 1-2 กก. รอบ ๆ กอ โดยระวังอย่าให้โดนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อเน่าได้ และถ้าต้องการให้หน่อมีคุณภาพดียิ่งขึ้นควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพิ่มไปในอัตรา 1 กก. ต่อกอโดยใส่ไปพร้อม ๆ กับยูเรีย
- การปลูกไผ่ตงจะเน้นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเป็นหลัก ไม่ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้กอไผ่ทรุดโทรมเร็ว

การตัดหน่อไผ่ตง
ไผ่ตงจะเริ่มแทงหน่อเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน การตัดหน่อจะตัดเมื่อหน่อยาวประมาณ 1 ฟุต โดยใช้เสียมหางปลาตัดหน่อบริเวณกาบใบที่ 3 จากโคนหน่อ ซึ่งจะเหลือตาไว้ 2-3 ตา สำหรับแตกหน่อในปีถัดไป สำหรับหน่อที่ไม่แข็งแรงให้ตัดออกทิ้งไป การตัดหน่อควรทำตอนเช้ามืด เพื่อจะได้หน่อไม้สดส่งตลาด หน่อไม้ไผ่ตงที่ตัดไว้นาน ๆ จะทำให้ความหวานลดลง ดังนั้น ควรตัดหน่อแล้วรีบขายทันที ในการตัดหน่อควรเริ่มตัดหน่อจากกลางกอก่อน แล้วขยายวงออกมารอบนอกกอ ส่วนหน่อที่อวบใหญ่ที่อยู่ด้านนอกควรมีการรักษาไว้เพื่อให้เป็นลำแม่เลี้ยงหน่อต่อไป

การตัดแต่งกอ
ไผ่ตงก็เหมือนต้นไม้ทั่ว ๆ ไป ต้องมีการตัดแต่งหลังการเก็บเกี่ยวหน่อในช่วงฤดูฝน โดยแต่งกอในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ควรตัดแต่งกอให้สะอาด โดยดำเนินการดังนี้
1.    ตัดกิ่งเป็นโรค และกิ่งแห้งออก
2.    กอไผ่ตงที่อายุ 1-2 ปี จะไม่มีการตัดหน่อ ทั้งนี้เพื่อไว้เป็นลำสำหรับเลี้ยงกอ ให้เจริญเติบโตและขยายกอใหญ่ขึ้น
3.    กอไผ่ตงที่มีอายุ 2 ปี ให้เลือกตัดหน่อที่ชิดลำอื่น หน่อที่ไม่สมบูรณ์ และหน่อตีนเต่าออก เหลือไว้เพียง 5-7 หน่อ ต่อกอ
4.    กอไผ่ตงที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป ให้เลือกตัดลำที่แก่อายุเกิน 3 ปีขึ้นไป ออกขายหรือใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม โดยเหลือลำแม่ที่สมบูรณ์ไว้ประมาณ 10-20 ลำต่อกอ เพื่อเลี้ยงกอและเลี้ยงหน่อที่ออกใหม่ การตัดลำแก่ออกนี้ควรตัดจากลำที่อยู่กลางกอ กอไผ่ตงจะได้โปร่งและขยายกอออกกว้างขึ้น

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

ไผ่เป็นไม้มงคล (3900)

คนไทยเราเชื่อมาแต่โบราณว่า ไผ่เป็นไม้มงคลเพราะเป็นไม้ที่แสดงถึงความมั่นคง ซื่อตรง ดังต้นไผ่ ทุกคนให้ความรักเยินยอ ในคุณงามความดี ปลูกแล้วจะอยู่ดีมีสุข อันตรายจากคนปองร้าย หรือโรคภัยมิอาจเบียดเบียนได้

ฤทธิ์มงคลจะมากขึ้นหารปลูกไผ่นี้ในวันเสาร์ ทางด้านทิศตะวันออกของบริเวณบ้าน ผู้ปลูกและผู้อยู่อาศัยหากเกิดปีมะแมจะยิ่งส่งเสริมมงคลให้เกิดมากยิ่งขึ้นด้วย