ค้นหาสินค้า

ไข่

ขายไข่ราคาถูก มีให้เลือกหลายร้าน

ไข่

ไข่จิ้งหรีดทองแดงลาย
ไข่จิ้งหรีดทองแดงลาย ศรีเทพ เพชรบูรณ์

ราคา 50.00 บาท /ขัน

ไข่อารมณ์ดี , ไข่อินทรีย์
ไข่อารมณ์ดี , ไข่อินทรีย์ เมืองราชบุรี ราชบุรี

ราคา 100.00 บาท /ชุด

ขายไข่นกกระทาสด-ต้ม
ขายไข่นกกระทาสด-ต้ม พนัสนิคม ชลบุรี

ราคา 75.00 บาท

 ไข่ไก่มีเชื้อ ลูกผสมเหลืองหางขาว
ไข่ไก่มีเชื้อ ลูกผสมเหลืองหางขาว คอนสวรรค์ ชัยภูมิ

ราคา 30.00 บาท /ฟอง

ไข่นกกระทา
ไข่นกกระทา ป่าโมก อ่างทอง

ราคา 78.00 บาท

ไข่จิ้งหรีด
ไข่จิ้งหรีด โนนไทย นครราชสีมา

ราคา 50.00 บาท

ไข่ไก่อินทรีย์
ไข่ไก่อินทรีย์ บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา

ราคา 60.00 บาท

ไข่เชื้อไก่ดำ
ไข่เชื้อไก่ดำ พรานกระต่าย กำแพงเพชร

ราคา 25.00 บาท /ใบ

ไข่นกกระทา
ไข่นกกระทา ดอยหล่อ เชียงใหม่

ราคา 90.00 บาท

ชุดประกอบ DIY ควบคุมฟักไข่ set ฺB
ชุดประกอบ DIY ควบคุมฟักไข่ set ฺB เมืองระยอง ระยอง

ราคา 750.00 บาท

แผงไข่ พลาสติก เหนียว แข็งแรง ทนทาน
แผงไข่ พลาสติก เหนียว แข็งแรง ทนทาน ศรีราชา ชลบุรี

ราคา 13.00 บาท

ไข่นกกระทา สุพรรณบุรี
ไข่นกกระทา สุพรรณบุรี สุพรรณบุรี

ราคา 50.00 บาท /100 ฟอง

Egg-Tray  6 Nos.
Egg-Tray 6 Nos. บ้านโพธิ์ ฉะเชิงเทรา

ราคา 3.00 บาท

จังหวัดที่ขายไข่

กำแพงเพชร (1 ร้าน)

ฉะเชิงเทรา (2 ร้าน)

ชลบุรี (2 ร้าน)

ชัยภูมิ (1 ร้าน)

เชียงใหม่ (1 ร้าน)

นครราชสีมา (1 ร้าน)

เพชรบูรณ์ (1 ร้าน)

ระยอง (1 ร้าน)

ราชบุรี (1 ร้าน)

สุพรรณบุรี (1 ร้าน)

อ่างทอง (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ไข่ ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะของเอื้องม่อนไข่ (3496)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Dendrobium  thyrsiflorum Rchb.  F.  
ชื่อพ้อง:    Dendrobium clavatum  Roxb.
ตระกูล:    ORCHIDACEAE 
ชื่อพื้นเมือง:    เอื้องม่อนไข่เหลือง, เอื้องม่อนไข่
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย   ลำลูกกล้วย เป็นแท่งสี่เหลี่ยม สีเขียวเข้มมีผิวเป็นร่องตื้นๆ  สูงประมาณ  30 – 60 เซนติเมตร   แตกหน่อเจริญเติบโตทางด้านข้าง
    ใบ    หนา รูปรีแกมรูปไข่ ออกเรียงสลับ  2 – 3 ใบ เวลาออกดอกจะไม่ทิ้งใบ ใกล้ปลายลำ ใบยาวประมาณ 12-18 ซม.
    ดอก    ออกดอกเป็นช่อแน่นใกล้ยอด ช่อดอกห้อยเป็นพวง 10 – 20  ดอกขึ้นไป  โคนกลีบปากกระดกม้วนขึ้น ปลายแหลม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว   กลีบปากเกือบกลมสีส้ม   ดอกกว้าง  2.5– 3   เซนติเมตร ภายในปากมีขนหนาแน่น ริมสันปากไม่มีขน ดอกบานเกือบพร้อมกันทั้งช่อ และบานนานประมาณ ๑ สัปดาห์
    ราก    เป็นแบบรากกึ่งอากาศ (semi-epiphytic)
ฤดูกาลออกดอก:    มกราคม  ถึง เมษายน ของทุกปี 
การปลูก:    นิยมปลูกลงในกระถางกล้วยไม้  กระเช้าไม้ ใช้วัสดุปลูกกาบมะพร้าวแห้ง ถ่านไม้ หรือเกาะติดแก่นไม้  บำรุงปุ๋ยกล้วยไม้ฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง
การดูแลรักษา:    ควรให้อยู่ในที่โล่งลมพัดผ่านได้ดี   กลางแจ้ง   หรือใช้ซาแลนพรางแสงประมาณ 30-40 %  
การใช้ประโยชน์:    ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:    ไทย เมียนม่าร์ เนปาล และจีน
แหล่งที่พบ:    ป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไปทาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ว่านนางล้อม แก้ปวดเมื่อย ปวดไขข้อ เส้น เอ็น (3794)

ใบ สีเขียวสดใส ใบเล็กยาว ที่โคนใบออกสีแดงเรื่อๆ ใบคล้ายว่านไชยมงคล

ดอก ออกดอกมีกลีบสีม่วง คล้ายกับดอกน้ำเต้าทอง

หัว ลงหัวคล้ายกับหอมหัวใหญ่ หัวขนาดใหญ่จะอยู่ตรงกลาง มีหัวเล็กๆ ล้อมรอบอยู่

เป็นว่านที่มีอภินิหารทางเสน่ห์ ทางเมตตามหานิยมสูง ปลูกเอาไว้ที่บ้าน ที่ร้านค้า จะมีผู้มาห้อมล้อมอยู่เสมอ เพราะเห็นว่าผู้ปลูกว่านนางล้อมนี้น่าสนใจ น่าคบ น่านิยมเป็นอย่างมาก มีเสน่ห์ มีสิ่งที่น่าสนใจแก่ผู้อื่นๆ เสมอไม่ว่าเรื่องของการงานธุรกิจที่ร่วมกันอยู่ หรือเรื่องส่วนตัวอื่นๆ ทำให้เกิดความเป็นกันเอง เกิดการทำมาหากินคล่องตัว พูดจาตกลงกันได้ง่ายๆ ในปัญหาที่อาจจะมีอยู่ก่อน แต่เมื่อมาพบกันแล้วก็จะกลายเป็นบุคคลที่พูดกันได้ไม่มีปัญหาอันใด

สรรพคุณทางยาสมุนไพร รักษาอาการปวดเจ็บไขข้อที่มีปัญหาเดินไม่ถนัด เอ็นอักเสบ เจ็บปวด ให้เอาหัวของว่านนางล้อมนี้มาโขลกคั้น เอาน้ำมันมาถู ทา นวดกล้ามเนื้อ เส้น เอ็น ของผู้ที่มีปัญหา

การปลูกกล้วยไข่ (3826)

เงินลงทุน
ครั้งแรกประมาณ 9,000 บาท/ไร่ (ไม่รวมค่าที่ดิน) (ค่าจ้างไถ 2 ครั้ง 1,000 บาท/ไร่ ค่าแรง 1,000 บาท/ไร่
ค่าปุ๋ย 5,000 บาท/ไร่ หน่อกล้วย 3-3.50 บาท/ต้น)

รายได้
70,000 บาท/ไร่/ปี

วัสดุ/อุปกรณ์
จอบ เสียม เครื่องฉีดพ่นสารเคมี อุปกรณ์รดน้ำ มีด

แหล่งจำหน่ายต้นพันธุ์
ร้านขายวัสดุอุปกรณ์การเกษตรทั่วไป

วิธีดำเนินการ
1. เตรียมดิน โดยใช้รถไถผาน 7 ไถ ทำลายหญ้า ทิ้งไว้ 10 วัน ครั้งที่ 2 ใช้รถไถผาน 3 ไถ เพื่อปรับหน้าดินให้พร้อมปลูก ทิ้งไว้อีก 10 วัน เพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรคในดิน ในช่วงการไถ ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าลงไปในดินพร้อมกัน
2. เตรียมหน่อกล้วยสำหรับปลูกหน่อที่ดีให้ผลผลิตสูงจะต้องเป็นหน่อ “หูกวาง” ที่มีความสูง 50 เซนติเมตร มีใบ 2 - 3 ใบ ใบจะแคบยังไม่คลี่ออกเต็มที่คล้ายกับหูกวาง ก่อนปลูกให้ใช้ยาฟูราดาน 3 ช้อนแกง ปุ๋ยเกล็ด 2 ช้อนแกง ยาเร่งราก 1 ช้อนแกง ผสมน้ำ 50 ลิตร ละลายให้เข้ากัน แล้วเอาหน่อกล้วยจุ่มลงไปก่อนนำไปปลูก
3. ปลูกกล้วย โดยพูนดินขึ้นมากลบโคนต้น 1 คืบ หรือขุดหลุมปลูกกว้างและลึก 1 ศอก ระยะปลูก 1 x 1 วา พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 400 ต้น จากนั้นรดน้ำ 5 วัน/ครั้ง ประมาณ 1 เดือน จะเริ่มแตกยอดอ่อน ซึ่งยาฟูราดานจะเริ่มหมดฤทธิ์พอดี
4. การใส่ปุ๋ย ครั้งแรกเมื่อกล้วยอายุ 15 วัน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46 – 0 - 0 อัตราครึ่งกำมือ/ต้น ครั้งที่ 2 เมื่อกล้วยอายุ 1 เดือน ใส่สูตร 15-15-15 อัตรา 1 กำมือ/ต้น ครั้งที่ 3 และ 4 ใส่ปุ๋ยสูตรเดียวกันและอัตราเท่ากัน ระยะห่างครั้งละ 1 เดือน ครั้งที่ 5 และ 6 เปลี่ยนเป็นสูตร 20-0-0 ผสมกับสูตร 15-15-15ในอัตราส่วนเท่ากัน ใส่ 1 กำมือ/ต้น ห่างกันอีกครั้งละ 1 เดือน เมื่อกล้วยไข่อายุ 7 เดือนครึ่ง จะเริ่มออกปลี ช่วงนี้จะใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15 – 3 - 15 อัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดเข้าไปบริเวณก้านของปลี เพื่อให้ปุ๋ยเข้าไปตามกาบกล้วย
5. ระยะที่กล้วยเริ่มเจริญเติบโต จะเริ่มมีหน่อแทงออกมา ต้องใช้มีดตัดเพื่อไม่ให้แย่งอาหารจากต้นแม่ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง และตัดแต่งใบกล้วยเหลือไว้ 10 ใบต่อต้น เมื่อหัวปลีออกมาได้ 10 วัน ให้ตัดหัวปลีออก จากนั้นอีก 45 – 50 วัน กล้วยจะเริ่มแก่จึงตัดเครือลงมาเพื่อขายส่งให้ลูกค้า ซึ่งโดยทั่วไปจะมีลูกค้ามารับซื้อถึงที่แล้วนำไปตัดขายเป็นหวีต่อไป
6. การปลูกกล้วยไข่ 1 ครั้ง เก็บผลผลิตได้ประมาณ 3 ปี กล้วยปีที่ 2 ผลผลิตจะดีที่สุด ดังนั้นจึงควรใช้หน่อกล้วยที่อายุไล่เลี่ยกัน กันไว้กอละ 1 หน่อ การดูแลรักษาก็จะเหมือนกันทั้งหมด แต่การใส่ปุ๋ยจะน้อยลงกว่าปีแรก

ตลาด/แหล่งจำหน่าย
ขายส่งพ่อค้า แม่ค้า บริษัทที่ส่งขายต่างประเทศ โรงงานแปรรูป

ข้อแนะนำ
เพื่อเป็นการประหยัด และลดต้นทุน ควรจะผลิตปุ๋ยชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้มะม่วงสุก หอยเชอรี่ หญ้าขนและกากน้ำตาลหรือโมลาส (วัตถุดิบต่าง ๆ เหล่านี้ควรซื้อในช่วงราคาถูก) หมักไว้ 3 เดือน แล้วกรองเอากากออก นำน้ำปุ๋ยที่ได้ 3 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 10 – 15 วัน

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกล้วยไข่ (3860)

ชื่อวิทยาศาสตร์:     Musa ฺAA cv. Kluai Khai
ชื่อวงศ์:    MUSACEAE
ชื่อสามัญ:    Pisang Mas
ชื่อพื้นเมือง:    กล้วยกระ
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    ลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนเหลือง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูแดง
    ใบ    ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านใบมีปีกสีชมพู
    ดอก    ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับรูปไข่ ม้วนงอขึ้น ปลายค่อนข้างแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างที่โคนกลีบสีซีด กลีบรวมใหญ่สีขาว ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวไม่มีสี เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีความยาวใกล้เคียงกันแต่เกสรตัวเมียสูงกว่าเล็กน้อย เกสรตัวเมียมีสีเหลือง ส่วนเกสรตัวผู้มีสีชมพู
    ฝัก/ผล    เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลค่อนข้างเล็ก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ก้านผลสั้นเปลือกค่อนข้างบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองสดใส บางครั้งมีจุดดำเล็ก ๆ ประปราย เนื้อสีครีมอมส้ม รสหวาน    
การขยายพันธุ์:    ใช้หน่อปลูก
การดูแลรักษา:   ชอบดินร่วน, ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี ชอบมีแสงแดดจัด  
การใช้ประโยชน์:    - รับประทานสดและแปรรูป 
แหล่งที่พบ:    ทุกภาคของประเทศไทย
การปรุงอาหาร:    ผลรับประทานสด และเป็นเครื่องเคียงของข้าวเม่าคลุก และกระยาสารท นอกจากนี้ยังใช้ทำกล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด และกล้วยบวชชี


สายพันธุ์กล้วยไข่ (3861)

พันธุ์กล้วยไข่ที่ปลูกทั่วไปในประเทศของเรา มีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ    
กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร และกล้วยไข่พระตระบอง    
แต่พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้าคือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

   

- กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลหรือช็อกโกแลต    
ร่องก้านใบเปิดและขอบก้านใบขยายออก ใบมีสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล    
ก้านเครือมีขนขนาดเล็ก ผิวเปลือกผลบาง ผลเล็ก เนื้อมีสีเหลือง รสชาติหวาน

   

- กล้วยไข่พระตะบอง ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลปนดำ    
สีของใบเข้มกว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร รสชาติจะออกหวานอมเปรี้ยว    
และผลมีขนาดใหญ่กว่ากล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร ลำต้นสูง 2.5-3.5 เมตร    
เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียว มีประดำหนา    
โดยเฉพาะใต้ขอบใบ ด้านในมีสีเขียวอมเหลือง ก้านใบสีเขียว ร่องใบเปิด    
ขอบก้านใบมีสีชมพูเล็กน้อย ผลโตกว่ากล้วยไข่ทั่วไป ก้านผลค่อนข้างสั้น    
ผลไม่มีเหลี่ยม ปลายผลมนโค้งขึ้นเล็กน้อย เปลือกค่อนข้างหนา    
เนื้อด้านในสีเหลือง รสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมเล็กน้อย


การปลูกกล้วยไข่สายพันธุ์เกษตรศาสตร์2 (3862)

กล้วยไข่เกษตรศาสตร์  2 เป็นการพัฒนาสายพันธุ์ด้วยการใช้วิธีฉายรังสีและคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุด

จุดเด่นของกล้วยไข่สายพันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 คือ มีเครือที่ เรียงกันสวย      
เมื่อตัดส่งออกไปจำหน่ายได้ทุกหวี ผลผลิตต่อหวีต่อเครือมากกว่าเดิม      
คุณภาพของผลมีสีที่นวลสวย เนื้อกล้วย เนียนคล้ายกล้วยหอม และ ไม่มีแกนกลาง    
รสชาติอร่อย ความหวานอยู่ที่ 22-23 บริกซ์ ลักษณะผลของกล้วยไข่เกษตรศาสตร์    
2  จะไม่โตกว่ากล้วยไข่ปกติมากนัก แต่ถ้าปลูกในพื้นที่มีดินดี      
บำรุงรักษาดีจะได้ผลผลิตลูกใหญ่เทียบเท่ากับกล้วยหอม

การปลูก หลุมขนาด 50*50*50 เซนติเมตร รองก้นด้วย ปุ๋ยคอก    
คลุกเคล้ากับหน้าดิน  อัตรา 5 กิโลกรัม ต่อหลุม    
แต่ถ้าต้องการไว้หน่อเพื่อเก็บเกี่ยว  ผลผลิตต่อไปอีก 1-2 รุ่น    
ควรรองก้นหลุมด้วย หินฟอสเฟตอัตรา 100-200  กรัมต่อหลุม ระยะปลูก    
1.5-1.75*2 เมตร วางหน่อพันธุ์ที่ หลุมปลูกให้ลึก  25-30 เซนติเมตร      
โดยจัดวางหน่อพันธุ์ให้ด้านที่ติดกับต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน      
กลบดินลงหลุมปลูกและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ต้อง  คอยดูแลเอาใจใส่ในการเจริญเติบโตเป็นระยะๆ ใช้เวลาราวๆ 8-9      
เดือนก็จะให้ผลผลิต เมื่อให้ผลผลิตแล้วควรตัดต้นทิ้งทันที      
เพื่อให้รุ่นต่อมาออกผลผลิตทดแทน

ปัญหาสำคัญที่มีต่อคุณภาพของผลผลิต ก่อนจะปลูกต้องแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำยาป้องกันแมลง      
เพื่องดการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช      
ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค      
รวมทั้งการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมในระยะยาว      
ซึ่งจะมีผลต่อการส่งออกผลผลิตไปจำหน่ายยังต่างประเทศ…ดังนั้นกระบวนการผลิตจึงต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม เมื่อกล้วยออกเครือแล้วจะ      
ต้องใช้ถุงคลุมเพื่อป้องกันแมลง

การปลูกและการดูแลรักษากล้วยไข่ (3863)

การปลูก

การเตรียมดิน:
- วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน และความเป็นกรดด่างของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก
- ไถพรวน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช
- คราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง

ฤดูปลูก:
- ช่วงเวลาการปลูก ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประมาณเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน

วิธีการปลูก:
- ปลูกด้วยหน่อใบแคบที่มีความสมบูรณ์ดี
- เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร
- รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกอัตรา 5 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับหน้าดินรองก้นหลุมปลูกถ้ามีการไว้หน่อ (ratoon) เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปอีก 1-2 รุ่น ควรรองก้นหลุมด้วย หินฟอสเฟต อัตรา 100-200 กรัม/หลุม
- ระยะปลูก (1.5-1.75) x2 เมตร เป็นการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว แล้วรื้อปลูกใหม่ 2x2 เมตรเป็นการปลูกสำหรับไว้ตอหรือหน่อ (ratoon) เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตของหน่อ (ratoon) อีก 1-2 รุ่น
- การปลูก วางหน่อพันธุ์ที่หลุมปลูกให้ลึก 25-30 เซนติเมตร โดยจัดวางหน่อพันธุ์ให้ด้านที่ติดกับต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน กลบดินลงหลุมปลูกและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา

การพรวนดิน:
ภายหลังปลูกกล้วยไข่ประมาณ 1 เดือนควรรีบทำการพลิกดินให้ทั่วทั้งแปลงปลูก เพื่อให้ดินเก็บความชื้นจากน้ำฝนไว้ให้มากที่สุด และเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วย ขณะที่รากกล้วยยังขยายไปไม่มากนัก

การกำจัดวัชพืช:
ควรกำจัดวัชพืชปีละ 3 ครั้ง ครั้งแรกพร้อม ๆ กับการพลิกดิน ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 ให้พิจารณา จากปริมาณวัชพืช แต่จะทำก่อนที่ต้นกล้วยตกเครือ

การให้ปุ๋ย:
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ครั้ง เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูกอัตรา 3-5 กิโลกรัมต่อหลุม ใส่ปุ๋ยเคมี 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่กล้วยมีการเจริญเติบโตทางลำต้น ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง หลังจากปลูก 1 และ 3 เดือน การให้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 3 และ 4 จะให้ปุ๋ยเคมีภายหลังจากปลูก 5 และ 7 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่กล้วยใกล้จะให้ผลผลิต จะให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-24, 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง วิธีการใส่ปุ๋ยเคมี โรยห่างจากต้นประมาณ 30 เซนติเมตร หรือใส่ลงในหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร 4 ด้าน แล้วพรวนดินกลบ

การให้น้ำ:
ในฤดูฝน เมื่อฝนทิ้งช่วง เมื่อสังเกตหน้าดินแห้งและเริ่มแตก ควรรีบให้น้ำ
ในฤดูแล้งเริ่มให้น้ำตั้งแต่หมดฝน ประมาณปลายเดือนมกราคม-พฤษภาคม

วิธีการให้น้ำ:
ใช้วิธีปล่อยให้น้ำไหลเข้าไปในแปลงย่อยเป็นแปลง ๆ เมื่อดินมีความชุ่มชื้นดีแล้ว จึงให้แปลงอื่นต่อไป

เทคนิคที่ควรทราบ

การพูนโคน:
โดยการโกยดินเข้าสุมโคนกล้วย ช่วยลดปัญหาการโค่นล้มของต้นกล้วยเมื่อมีลมแรง โดยเฉพาะต้นตอที่เกิดขึ้นระยะหลังโคนจะลอยขึ้นทำให้กล้วยโค่นล้มลงได้ง่าย

การแต่งหน่อ:
เครื่องมือที่ใช้ในการแต่งหน่อ คือ มีดยาวปลายขอ ชาวบ้านเรียกว่า มีดขอ การแต่งหน่อทุกครั้ง โดยเฉือนเฉียงตัดขวางลำต้นเอียงทำมุม 45 องศากับลำต้นโดยครั้งแรก เฉือนให้รอบเฉือนด้านล่างอยู่สูงจากโคนต้นประมาณ 4-5 นิ้ว หลังจากนั้นอีกประมาณ 20-30 วัน จึงเฉือนหน่อครั้งที่ 2 ให้รอบเฉือนครั้งใหม่อยู่ทิศทางตรงข้าม กับรอยเฉือนครั้งก่อน และให้รอยเฉือน มุมล่างสุดครั้งใหม่อยู่สูงจากรอยเฉือนมุมบนครั้งก่อน 4-5 นิ้ว แต่งหน่อเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงเวลาที่เหมาะสม ก็จะปล่อยหน่อให้เจริญเติบโตเป็นกล้วยตอต่อไป หรืออาจขุดหน่อไว้ สำหรับปลูกใหม่หรือขายก็ตาม

การตัดแต่งและการไว้ใบ:
การไว้ใบกล้วยไข่ในระยะต่าง ๆ มีผลอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโต การปฏิบัติดูแลรักษาปัญหาโรค และแมลง ตลอดจนผลผลิต และคุณภาพผล ในช่วงแรกระยะการเจริญเติบโต ควรไว้จำนวน 12 ใบ ถ้ามากกว่านี้ จะมีปัญหาทำให้การปฏิบัติดูแลรักษาทำได้ยากลำบาก โรคแมลงจะมากขึ้นเกิดการ แย่งแสงแดด ลำต้น จะสูงบอบบางไม่แข็งแรง เกิดการหักล้มได้ง่าย ในทางตรงข้ามถ้าจำนวนใบ มีน้อยเกินไปจะทำให้การเจริญเติบโต ไม่ดี ลำต้นไม่สมบูรณ์ ดินสูญเสียความชื้นได้เร็ว ปัญหาวัชพืชจะมากขึ้นภายหลัง กล้วยตกเครือแล้ว ควรตัดแต่งใบออก เหลือไว้เพียงต้นละ 9 ใบก็พอ ถ้าเหลือใบไว้มากจะทำให้ต้นกล้วยรับน้ำหนักมาก จะทำให้เกิดการหักล้มได้ง่าย ระยะกล้วยมีน้ำหนักเครือ มากขึ้น และถ้าหากตัดแต่งใบออกมากเกินไป เหลือจำนวนใบไว้น้อย จะทำให้บริเวณคอเครือและผลกล้วยถูกแสงแดดเผา เป็นเหตุให้กล้วยหักพับบริเวณ คอเครือก่อนเก็บเกี่ยว และผลเสียหายไม่สามารถนำไปขายได้

การค้ำเครือ:
เมื่อกล้วยตกเครือจะมีน้ำหนักมาก จึงควรป้องกันลำต้นหักล้ม ซึ่งกระทำได้โดยการปักหลัก ผูกยึดติดกับลำต้น การปักหลักต้องปักลงไปในดินให้แน่นทิศทางตรงข้ามกับเครือกล้วยให้แนบชิดกับ ลำต้นกล้วยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผูกยึดลำต้นกล้วยให้ตรึงกับไม้หลักสัก 3 ช่วง ดังนี้ คือบริเวณช่วงโคนต้น กลางต้น และคอเครือ โดยใช้ปอกล้วยหรือปอฟางก็ได้ ถ้าใช้ไม้รวกสำหรับค้ำเครือควรจะนำไปแช่น้ำ 15-20 วัน เสียก่อนแล้วนำมาตากแดดให้แห้งจึงค่อยนำไปใช้

การตัดปลี:
กล้วยไข่ที่มีการเจริญเติบโตและสมบูรณ์ หลังจากปลูก 7-8 เดือนก็จะแทงปลี แต่ถ้าการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ไม่ดี การแทงปลีก็จะช้าออกไปอีก ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแทงปลีจนถึงปลีคล้อยตัวลงมาสุดจะใช้เวลาประมาณ 7 วัน หลังจากนั้นปลีจะบาน ระยะเวลาตั้งแต่ปลีเริ่มบานหวีแรกจนสุด หวีสุดท้ายจะใช้เวลาอีกประมาณ 7 วัน รวมระยะเวลาตั้งแต่ออกปลี จนสามารถตัดปลีทิ้งประมาณ 15 วัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นกล้วยและช่วงฤดูที่กล้วยตกปลี

การเก็บเกี่ยว
ปกติหลังจากตัดปลีแล้วประมาณ 45 วัน เป็นเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว ถ้าปล่อยไว้นานกว่านี้ผลกล้วยอาจแตก และสุกคาต้น หรือที่ชาวสวนเรียกว่ากล้วยสุกลม รสชาติไม่อร่อย สีและผิวกระด้างไม่นวลสวยเหมือนที่นำไปบ่ม
กล้วยไข่ที่ตกเครือในช่วงฤดูหนาว ซึ่งผลจะแก่ช้ามีผลทำให้อายุการเก็บเกี่ยวต้องยาวนานออกไปถึง 50-55 วัน หลังตัดปลี

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร


ไข่มดแดง สุดยอดอาหาร และอีกหนึ่งอาชีพที่ทำรายได้ (5057)

การเพาะเลี้ยงไข่มดแดง สุดยอดอาหาร และอีกหนึ่งอาชีพที่ทำรายได้ พร้อมเมนูสุดแซบในการนำมาปรุงอาหาร    
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=TZGr8V6lgWU