ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นโกงกางใบใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhizophora mucronata Poir.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Red mangrove, Asiatisk mangrove, Loop-root mangrove
ชื่ออื่นๆ : กงกอน, โกงกางนอก, กงกางนอก, พังกา, พังกาใบใหญ่
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น มีรากเสริมออกมาเหนือโคนต้น เรือนยอดรูปกรวยคว่ำแคบๆ ลำต้นตรง เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเทา เปลือกค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นๆ เปลือกในเป็นสีส้ม กระพี้เป็นสีเหลืองอ่อน แก่เป็นสีน้ำตาล
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบรูปรีถึงรีกว้าง มีติ่งแหลมเล็ก แข็ง สีดำ ที่ปลายใบ แผ่นใบหนา มีจุดเล็กๆ สีดำกระจัดกระจายทั่วไปทางด้านล่าง
ดอก : ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกตูมรูปไข่ ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน
ผล : ผลเดี่ยว ทรงคล้ายลูกข่าง สีน้ำตาล ผิวของผลหยาบสาก ผลงอกตั้งแต่อยู่บนต้น เป็นฝักตรงสีเขียวอ่อน ส่วนที่ติดกับขั้วมีกลีบเลี้ยง
การขยายพันธุ์ของต้นโกงกางใบใหญ่
ผล
การดูแลต้นโกงกางใบหใญ่
ปลูกได้ในดินเลนปนทราย ต้องการน้ำมาก ชอบแดดเต็มวัน
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นโกงกางใบใหญ่
เปลือก ล้างแผล ห้ามเลือด แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้อาเจียน
ประโยชน์ของต้นโกงกางใบใหญ่
- ลำต้น ทำเสาและหลักในที่น้ำทะเลขึ้น ใช้ทำถ่าน
- เปลือก ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง ฯลฯ ให้สีน้ำตาล
- เปลือกของต้นโกงกางมีสารแทนนินและฟีนอล นำมาทำยา ทำหมึก ทำสี ใช้ในการฟอกหนัง ใช้ทำกาวสำหรับติดไม้
- ป่าไม้โกงกางช่วยป้องกันรักษาชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะของกระแสน้ำได้ และยังใช้เป็นแนวกำบังคลื่นลมที่เคลื่อนเข้ามาปะทะชายฝั่งได้เป็นอย่างดี
- ป่าไม้โกงกาง เป็นที่วางไข่และฟักตัวอ่อน และเป็นแหล่งที่มีสภาพสมดุลทางธรรมชาติสูงมาก