ลักษณะของหวายเหลืองจันทบูรณ์ (3513)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium friedericksianum Rchb.f.
ตระกูล: ORCHIDACEAE
ชื่อพื้นเมือง: หวายเหลืองจันทบูรณ์, หวายเหลืองนกขมิ้น
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ลักษณะเป็นลำลูกกล้วย เป็นแท่ง ส่วนโคนเล็กและค่อยๆ โป่งทางด้านปลาย สูงประมาณ 50 – 75 ซม. ลำแก่มีสีเหลือง ลำตั้งตรง เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 - 1.5 ซม.
ใบ รูปหอก แผ่นใบค่อนข้างบางแต่เหนียวเรียงตัวสลับตลอดต้น บางครั้งทิ้งใบในช่วงมีดอก ใบยาว ประมาณ 10 ซม.กว้าง 2.5 ซม
ดอก ช่อดอกเกิดบนปลายลำลูกกล้วยที่ไม่มีใบ จำนวนดอก 3 - 4 ดอก/ช่อ ดอกโตประมาณ 4 – 5 ซม. กลีบดอกมีสีเหลืองเป็นมัน กลีบบิดเล็กน้อย ปากสีเข้ม โคนปากมีแต้มเล็กๆ สีน้ำตาลแดง อยู่บนปาก 2 แต้ม โคนปากมีขน มีอยู่ 2 พันธุ์ คือพันธุ์ดอกเหลืองล้วน และพันธุ์ที่มีแต้มสีม่วงแดง 2 แต้ม
ราก เป็นแบบรากกึ่งอากาศ (semi-epiphytic)
ฤดูกาลออกดอก: มกราคม-มีนาคม
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด: เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นของไทย
แหล่งที่พบ: พบตามป่าดิบ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้
ตระกูล: ORCHIDACEAE
ชื่อพื้นเมือง: หวายเหลืองจันทบูรณ์, หวายเหลืองนกขมิ้น
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ลักษณะเป็นลำลูกกล้วย เป็นแท่ง ส่วนโคนเล็กและค่อยๆ โป่งทางด้านปลาย สูงประมาณ 50 – 75 ซม. ลำแก่มีสีเหลือง ลำตั้งตรง เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 - 1.5 ซม.
ใบ รูปหอก แผ่นใบค่อนข้างบางแต่เหนียวเรียงตัวสลับตลอดต้น บางครั้งทิ้งใบในช่วงมีดอก ใบยาว ประมาณ 10 ซม.กว้าง 2.5 ซม
ดอก ช่อดอกเกิดบนปลายลำลูกกล้วยที่ไม่มีใบ จำนวนดอก 3 - 4 ดอก/ช่อ ดอกโตประมาณ 4 – 5 ซม. กลีบดอกมีสีเหลืองเป็นมัน กลีบบิดเล็กน้อย ปากสีเข้ม โคนปากมีแต้มเล็กๆ สีน้ำตาลแดง อยู่บนปาก 2 แต้ม โคนปากมีขน มีอยู่ 2 พันธุ์ คือพันธุ์ดอกเหลืองล้วน และพันธุ์ที่มีแต้มสีม่วงแดง 2 แต้ม
ราก เป็นแบบรากกึ่งอากาศ (semi-epiphytic)
ฤดูกาลออกดอก: มกราคม-มีนาคม
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด: เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นของไทย
แหล่งที่พบ: พบตามป่าดิบ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้