ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นแก่นตะวัน ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus tuberosus L.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Jerusalem artichoke, Sunchoke, Sunroot
ชื่ออื่นๆ : ทานตะวันหัว, แห้วบัวตอง, มันทานตะวัน
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบมีรูปหอก ฐานใบรูปสอบแคบ ปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบเรียบ เนื้อใบบาง ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบทั้งด้านบน และด้านล่างมีขนสั้นแข็งปกคลุม
ลำต้น : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเหนือดินลักษณะกลม เปลือกลำต้นมีสีม่วงเข้ม มีขนยาวแข็ง ลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว เป็นลำต้นสะสมอาหาร หัวมีลักษณะแบ่งเป็นแง่งยาว และเป็นตะปุ่มตะป่ำเป็นแนวยาว ตามความยาวของหัว เปลือกบาง มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาวกรอบ
ดอก : ออกเป็นช่อ ดอกมีสีเหลือง ทรงกลมแบน ดอกคล้ายกับดอกทานตะวันหรือบัวตองแต่เล็กกว่า
ผล : ลักษณะมีรูปลิ่มคล้ายเมล็ดดาวเรือง ปลายเรียวยาว เปลือกผลมีสัน 4 สัน สีน้ำตาลอ่อน มีลายสีน้ำตาล และมีขนสั้นแน่นปกคลุม
การขยายพันธุ์ของต้นแก่นตะวัน
ด้วยหัว
ประโยชน์ของต้นแก่นตะวัน
- หัว นำมาบริโภคเพื่อใช้รับประทานเป็นผัก หรือนำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน
- นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย
- ช่วยลดกลิ่นปากจากเชื้อแบคทีเรีย
- ปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อการท่องเที่ยว
- ลำต้น นำไปหมักเป็นเอทานอล
- หัว ใช้เป็นอาหารเสริมในสัตว์
- ลำต้นและใบใช้เป็นอาหารสัตว์