ค้นหาสินค้า

เห็ด

ขายเห็ดราคาถูก มีให้เลือกหลายร้าน

เห็ด

เห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือ สารภี เชียงใหม่

ราคา 550.00 บาท /กิโลกรัม

เชื้อเห็ดฟาง
เชื้อเห็ดฟาง เมืองนครสวรรค์ นครสวรรค์

ราคา 15.00 บาท

เห็ดทรัฟเฟิ้ล แห้ง
เห็ดทรัฟเฟิ้ล แห้ง เมืองปทุมธานี ปทุมธานี

ราคา 2,000.00 บาท

เห็ดโคนญี่ปุ่น
เห็ดโคนญี่ปุ่น บุรีรัมย์

ราคา 200.00 บาท

ขายดอกเห็ด,ก้อนเชื้อเห็ด
ขายดอกเห็ด,ก้อนเชื้อเห็ด คง นครราชสีมา

ราคา 7.00 บาท

ก้อนเห็ดนางฟ้าภูฐาน
ก้อนเห็ดนางฟ้าภูฐาน สมุทรปราการ

ราคา 7.00 บาท /ก้อน

เห็ดภูฐาน
เห็ดภูฐาน ชัยบาดาล ลพบุรี

ราคา 6.00 บาท

ชุดเห็ดนางฟ้ามินิ
ชุดเห็ดนางฟ้ามินิ โชคชัย นครราชสีมา

ราคา 890.00 บาท /ชุด

เห็ดนางรมฮังการี
เห็ดนางรมฮังการี สันทราย เชียงใหม่

ก้อนเห็ดนางรม
ก้อนเห็ดนางรม ขุขันธ์ ศรีสะเกษ

ขายก้อนเชื้อเห็ดทุกชนิด
ขายก้อนเชื้อเห็ดทุกชนิด บางกรวย นนทบุรี

เห็ดหูหนูดำ
เห็ดหูหนูดำ วัดโบสถ์ พิษณุโลก

ราคา 300.00 บาท /กิโลกรัม

ก้อนเชื้อเห็ดฟาง
ก้อนเชื้อเห็ดฟาง ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี

ราคา 15.00 บาท

เห็ดถังเช่า
เห็ดถังเช่า บางปลาม้า สุพรรณบุรี

เห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือ สวนหลวง กรุงเทพมหานคร

ราคา 180.00 บาท

เห็ดหอมแห้ง
เห็ดหอมแห้ง สารภี เชียงใหม่

ราคา 220.00 บาท

เห็ดโคนญี่ปุ่น (เห็ดยานางิ)
เห็ดโคนญี่ปุ่น (เห็ดยานางิ) บ้านโป่ง ราชบุรี

ราคา 140.00 บาท /กิโลกรัม

เห็ดเสม็ด
เห็ดเสม็ด ตากใบ นราธิวาส

ราคา 50.00 บาท /1กล่อง

เห็ดนางฟ้าภูฐาน ส่งฟรี 8 kgs โคราช
เห็ดนางฟ้าภูฐาน ส่งฟรี 8 kgs โคราช เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา

ราคา 70.00 บาท

เห็ดกระถินพิมาน  Phellinus Linteus
เห็ดกระถินพิมาน Phellinus Linteus กำแพงเพชร

ราคา 500.00 บาท

เห็ดหอมแห้ง
เห็ดหอมแห้ง สมุทรสาคร

ราคา 500.00 บาท

บ้านเห็ด ขนาดเล็ก
บ้านเห็ด ขนาดเล็ก บางพลี สมุทรปราการ

ราคา 1,499.00 บาท

ดอกเห็ดถังเช่า
ดอกเห็ดถังเช่า หนองจอก กรุงเทพมหานคร

ราคา 35,000.00 บาท

ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า
ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า หล่มสัก เพชรบูรณ์

ราคา 8.00 บาท

เห็ดนางฟ้าตากแห้ง
เห็ดนางฟ้าตากแห้ง แม่อาย เชียงใหม่

ราคา 500.00 บาท

ก้อนเห็ดภูฐาน อุปกรณ์ ดอกเห็ด ราคากันเอง
ก้อนเห็ดภูฐาน อุปกรณ์ ดอกเห็ด ราคากันเอง องครักษ์ นครนายก

ราคา 8.00 บาท /กิโลกรัม

เห็ดมิ้วกี้
เห็ดมิ้วกี้ เมืองราชบุรี ราชบุรี

เห็ดฏูฏาน
เห็ดฏูฏาน ยานนาวา กรุงเทพมหานคร

ราคา 12.00 บาท

จังหวัดที่ขายเห็ด

กระบี่ (1 ร้าน)

กรุงเทพมหานคร (11 ร้าน)

กำแพงเพชร (1 ร้าน)

จันทบุรี (1 ร้าน)

ชลบุรี (4 ร้าน)

ชุมพร (1 ร้าน)

เชียงราย (1 ร้าน)

เชียงใหม่ (6 ร้าน)

ตรัง (1 ร้าน)

นครนายก (2 ร้าน)

นครปฐม (2 ร้าน)

นครพนม (1 ร้าน)

นครราชสีมา (3 ร้าน)

นครสวรรค์ (1 ร้าน)

นนทบุรี (2 ร้าน)

นราธิวาส (1 ร้าน)

บุรีรัมย์ (2 ร้าน)

ปทุมธานี (3 ร้าน)

ประจวบคีรีขันธ์ (1 ร้าน)

พระนครศรีอยุธยา (1 ร้าน)

พิษณุโลก (1 ร้าน)

เพชรบูรณ์ (1 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ระยอง (2 ร้าน)

ราชบุรี (2 ร้าน)

ลพบุรี (1 ร้าน)

ลำปาง (2 ร้าน)

ศรีสะเกษ (2 ร้าน)

สมุทรปราการ (2 ร้าน)

สมุทรสาคร (1 ร้าน)

สุพรรณบุรี (2 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เห็ด ทั้งหมดในเว็บ

ประโยชน์ของเห็ดหูหนู (3648)

- ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ทำให้หัวใจแข็งแรง ไม่เกิดอาการหลอดเลือดตีบตัน

- ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ที่ตึงเครียดให้คลายตัว

- ทำให้เกิดความกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า เพราะเห็ดหูหนูช่วย ชะล้างและบำรุง เสริมสร้างโลหิต

- ช่วยบำรุงสายตา บำรุงตับ บำรุงผิว ให้เปล่งปลั่งสดใส

เอื้อเฟื้อข้อมูล โดย www.dailynews.co.th

การเพาะเห็ดในโอ่ง (3723)

วัสดุและอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดในโอ่ง

   

โอ่ง มังกร (โอ่งแตก หรือโอ่งร้าว) จำนวน 1 ใบ ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าหรือเห็ดถุงชนิดอื่นๆ จำนวน 20 ก้อน ซาแรนหรือกระสอบป่าน สำหรับปิดปากโอ่ง จำนวน 1 ผืน ไม้ไผ่ตีเป็นตะแกรง ขนาดความกว้างxยาว ให้พอดีกับขนาดโอ่งที่เตรียมไว้ กรอบไม้ทำฐานรองพื้นโอ่ง (ด้านนอก) ทรายหยาบ รองพื้นโอ่ง และเชือกฟาง เป็นต้น

   

 

   

ขั้นตอนการเพาะ

   

1. นำไม้ที่เตรียมไว้สำหรับทำฐานรองโอ่งด้านนอก มาตีล้อมกรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยให้มีพื้นที่ว่างระหว่างกรอบไม้เพียงพอต่อการวางพื้นที่ผิวของโอ่งที่จะ วางในแนวนอน ไม่ให้โอ่งกลิ้ง

   

2. นำโอ่งมาวางในแนวนอน บนฐานกรอบไม้ที่เตรียมไว้ในบริเวณที่มีร่มเงา และอากาศถ่ายเทสะดวก

   

3. นำทรายหยาบมาเทรองพื้นโอ่งที่วางไว้ในแนวนอน กะให้มีความหนาประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อกักเก็บความชื้น

   

4. นำตะแกรงไม้ไผ่ที่เตรียมไว้มาวางด้านในโอ่ง โดยให้มีพื้นที่ว่างด้านบนมากกว่าพื้นที่ว่างด้านล่าง

   

5. นำก้อนเชื้อเห็ดมาเปิดดอก ด้วยวิธีการเปิดจุกก้อนเชื้อด้านบน บังคับให้ดอกออกเป็นกระจุกด้านบน ก่อนวางเรียงก้อนเชื้อเห็ดจนเต็ม (แล้วปิดปากโอ่งด้วยกระสอบป่านหรือซาแรน แล้วใช้เชือกผูกยึดกระสอบ (ด้านบน) กับขอบปากโอ่งให้แน่น โดยปล่อยชายกระสอบให้สามารถเปิดขึ้นลงได้

   

6. รดน้ำบนก้อนเชื้อเห็ด เช้า-กลางวัน-เย็น ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไป ควรเพิ่มความชื้นโดยใช้กระบอกฉีดน้ำ พ่นน้ำให้เป็นฝอยๆ ในโอ่ง เพื่อเป็นการให้ความชื้นแก่ก้อนเห็ด แล้วปิดปากโอ่งไว้ หลังเพาะประมาณ 1 สัปดาห์ จะเริ่มมองเห็นตุ่มสีขาวเล็กๆ เกิดขึ้นบนก้อนเชื้อเห็ด ในช่วงนี้ต้องระวังเรื่องการรดน้ำ อย่าให้ดอกเห็ดโดนน้ำเป็นอันขาด มิฉะนั้น ดอกจะฝ่อและเน่าเสียหาย แต่ยังคงต้องพ่นน้ำให้ความชื้นอยู่ทุกวัน

   

7. หลังจากสังเกตเห็นตุ่มดอกเห็ด ประมาณ 7-10 วัน ตุ่มเห็ดจะพัฒนาเป็นดอกเห็ดที่สามารถเก็บมารับประทานได้จนกว่าดอกเห็ดจะหมด รุ่น ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 1-3 เดือน

   

ควรระมัดระวังเรื่องความชื้น ในช่วงวันที่ 1-3 อย่าให้อุณหภูมิภายในโอ่งร้อน หรือขาดความชื้น ถ้าร้อนเกินไปให้เปิดปากกระสอบป่านเพื่อระบายอากาศออกจากโอ่ง

   

น้ำที่ ใช้สำหรับการรดก้อนเชื้อเห็ดจะต้องเป็นน้ำที่จืด มีค่า pH เป็นกลาง ไม่มีคลอรีนเจือปน เรื่องน้ำที่ใช้รดก้อนเห็ดนั้นสำคัญมาก ถ้าน้ำกร่อยหรือเค็มจะส่งผลให้เห็ดไม่ออกดอก น้ำที่ดีที่สุดคือ น้ำฝน หรือจะใช้น้ำประปาที่ผ่านการขจัดคลอรีนออกแล้วก็ได้ผลดีเช่นกัน (การรองน้ำประปาตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน จะช่วยขจัดคลอรีนออกไปได้)

   

เห็ด ที่จะนำมาใช้ในการเพาะแต่ละชนิดนั้น จะมีความต้องการและลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน เช่น เห็ดประเภทนางรม หูหนู และเป๋าฮื้อ จะต้องการสภาพอากาศที่ร้อนชื้นจนถึงสภาพอากาศตามปกติ ส่วนเห็ดนางฟ้า เห็ดหอม จะต้องการอากาศที่ค่อนข้างเย็นในการเจริญเติบโต การเพาะเลี้ยงเห็ดชนิดใดๆ ควรจะมีการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดชนิดนั้นๆ ด้วย

   

เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย มติชนบท เทคโนโลยีชาวบ้าน


การเพาะเห็ดเศรษฐกิจ (3848)

การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกมีขั้นตอนการเพาะ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.การเลี้ยงเชื้อในอาหารวุ้น Pda
   
 2.การเลี้ยงเชื้อในเมล็ดข้าวฟาง
   
 3.การทำก้อน

การเพาะเห็ด

1.การเลี้ยงเชื้อในอาหารวุ้น Pda

สูตรอาหาร PDA
   
     
1.มันฝรั่ง (Potato) 200 กรัม
   
 2.น้ำตาลเชิงเดียว (Dextros) 20 กรัม
   
 3.วุ้น (Agar) 20 กรัม
   
 4.น้ำสะอาด 1,000 cc

วิธีการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ
- นำมันฝรั่งปอกเปลือกล้างน้ำหั่นเป็นชิ้นขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร นำไปต้มกับน้ำ (1,000 cc)
   
       - กองเอาแต่น้ำแล้วนำมาผสมกับวุ้นและน้ำตาลเชิงเดียว
   
       - บรรจุใส่ขวดประมาณ 1/4 ของขวด ปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษ
   
       - นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน 15-17 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว         นาน 25-30 นาที
   
       - เมื่อเย็นแล้วนำขวดมาเอียง 45-70 อาศาเซลเซียส
   
       - เลี้ยงเชื้อเห็ดในตู้เลี้ยงเชื้อ

2.การเลี้ยงเชื้อในเมล็ดข้าวฟาง

การเตรียมเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง
   
       1.แช่เมล็ดข้าวฟ่างในน้ำประมาณ 10-12 ชั่วโมง                
2.ต้มหรือนึ่งให้สุก                                                                                   
3.ผึ่งให้แห้ง                                                                                                  
4.บรรจุใส่ขวดแบนประมาณ 1/2 ของขวด ปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษ
5.นำไปนึ่งให้เย็นแล้วนำไปเลี้ยงเชื้อเห็ด   

6.เลี้ยงเชื้อเห็ดจากเส้นใยที่เจริญในอาหาร PDA


การเพาะเห็ดนับเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย เปลือกมันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม เปลือกถั่วเขียวหรือแม้กระทั่งวัสดุที่มีในธรรมชาติ และในท้องถิ่น เช่น หญ้าชนิดต่างๆ เปลือกผลไม้ เพื่อใช้ให้เป็นวัสดุเพาะให้เหมาะสมกับท้องถิ่น ที่สำคัญ คือ ให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำและจะเป็นการเพิ่มผลตอบเทนให้สูงขึ้น
   
     

3.การทำก้อนเชื้อเห็ด

การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก
สูตรอาหารก้อนเชื้อ    

         
        -  ขี้เลื่อย 100 กก.                  
- รำละเอียด 5 กก.                
- ดีเกลือ 0.2 กก              
   
         - ปูนขาว 1 กก.                       
- น้ำสะอาด 70-75%

ขั้นตอนสำหรับทำก้อนเชื้อหลังเตรียมวัสดุ
ขี้เลื่อยที่ใช้ควรเป็นขี้เลื่อยกลางเก่ากลางใหม่จะดีที่สุด หากเป็นขี้เลื่อยใหม่ควรกองทิ้งไว้ ประมาณ 1 สัปดาห์
   
         - หลังจากเตรียมสูตรอาหารได้แล้วให้นำส่วนผสมทั้งหมดไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน วิธีตรวจความชื้นว่าเหมาะสมหรือไม่  ให้ใช้มือบีบแล้วแบมือออกดูว่าก้อนขี้เลื่อยยังเป็นก้อนอยู่ หากระหว่างบีบมีน้ำไหลออกมาแสดงว่าแฉะเกินไปหรือ  ถ้าแบมือแล้วก้อนขี้เลื่อยแตกออก แสดงว่าแห้งเกินไป
   
-    
 บรรจุใส่ถุงพลาสติกที่ใช้เพาะเห็ด ซึ่งควรบรรจุให้หมดภายในวันเดียว ถุงก้อนเชื้อ ควรมีน้ำหนักขนาด 8 ขีด - 1กก. เมื่ออัดก้อนเชื้อแน่นดีแล้วใส่คอขวดพลาสติกอุดด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ  แล้วรัดยางวงให้แน่น
   
-    
 นำก้อนเชื้อที่ได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อทันทีใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
   
-    
 นำหัวเชื้อเห็ดที่เราต้องการจะเพาะที่เลี้ยงไว้ในเมล็ดข้าวฟ่าง ใช้ประมาณ 10- 20 เมล็ดต่อก้อน เขี่ยลงในก้อนเชื้อที่เย็นดีแล้ว รีบปิดปากถุงด้วยสำลี หรือกระดาษทันที วัสดุที่ใช้หัวเชื้อ  ควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ก่อนทุกครั้ง
   
-    
 นำก้อนเชื้อที่ถ่ายเชื้อเห็ดลงเรียบร้อยแล้วไปบ่มไว้ในโรงบ่อก้อนเชื้อต่อไป


การบ่มก้อนเชื้อ
หลังจากใส่เชี้อเห็ดลงในถุงก้อนเชื้อแล้วให้นำไปบ่มในโรงบ่มเชื้อหรือบริเวณที่มีอุณหภูมิ    
ประมาณ 29-32 องศาเซลเซียส เพื่อให้เส้นใยเจริญในก้อนเชื้อและต้องหมั่นตรวจดูโรงแมลง มด มอด แมลงสาบ ปลวกหรือไรต่างๆ หากพบให้รีบนำก้อนเชื้อออกไปกำจัดทันที
   
หรืออาจฉีดพ่นด้วยสารสกัดจากสมุนไพร เช่น ตระไคร้หอม รอบๆ โรงบ่ม เพื่อป้องกันไว้ก่อนได้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อก็ขึ้นอยู่กับเห็ดแต่ละชนิด อย่างเห็ดหอมก็จะใช้ระยะเวลา 4 เดือน

การปฏิบัติดูแลรักษา

เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดฮังการี เห็ดภูฐานและเห็ดนางนวล ใช้เวลาเจริญในระยะเส้นใยประมาณ 1-1.5 เดือน เมื่อเส้นใยเริ่มรวมตัวกัน ถอดสำลีแล้วนำก้อนเชื้อไปวางในโรงเรือนเพื่อให้เกิดดอก รักษาอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ การถ่ายเทอากาศตามที่เห็ดต้องการการให้ความชื้นภายในโรงเรือน ไม่ควรให้น้ำขังอยู่ภายในก้อนเชื้อ และไม่ควรให้น้ำถูกดอกเห็ดโดยตรง ถ้าจำเป็นควรให้เป็นละออง นอกจากนี้ต้องรักษาความสะอาดบริเวณที่ปฏิบัติงานและโรงเรือนเพาะเห็ด เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของเชื้อโรคและแมลง

การเพาะเห็ดให้ประสบความสำเร็จ

ถ้าคนไม่มีประสบการณ์เพาะเห็ดเลย ควรเริ่มต้นจากการซื้อก้อนเชื้อสำเร็จที่หยอดเชื้อแล้วไปลองเลี้ยงดูก่อน ดูแลรดน้ำให้ออกดอก ถ้าทำตรงนี้จนมีความชำนาญแล้วเราก็อาจจะซื้อก้อนเชื้อสำเร็จมาเปิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมั่นใจว่าสามารถผลิตก้อนเชื้อเองได้ โดยจะต้องลงทุนเพิ่ม คือ อุปกรณ์หม้อนึ่งฆ่าเชื้อและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น วัสดุดิบ ขึ้เลื่อย เกษตรกรผู้ผลิตควรมองถึงคุณภาพเห็ดด้วย ถ้ามองแต่ว่าจะทำให้ได้วันละ 100-200 กก. ถ้าเราเห็นแต่ปริมาณเราจะไม่ได้ในเรื่องของราคาในช่วงที่อากาศเหมือนๆ กัน เห็ดตัวเดียวกันออกดอกเยอะๆ พร้อมๆ กัน ราคาก็จะถูกลงเหมือนสินค้าอื่น ในขณะที่เราเพาะเห็ดนางฟ้าอยู่เราก็อาจจะเพาะเห็ดหอม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดโคนญี่ปุ่นด้วย หรือเห็ดอย่างอื่นอีกหลายชนิดที่เราเพาะได้ บางช่วงเห็ดนางฟ้ามีราคาต่ำแต่เห็ดตัวอื่นยังราคาสูงอยู่ ในการเก็บดอก เราจะเก็บดอกที่ตูมไว้อีกนิดและไม่รดน้ำก่อนเก็บ 2 ชั่วโมง เราจะได้เห็ดที่มีคุณภาพและได้ราคาสูง อย่างเห็ดสินค้าตลาดจะไม่เกิน 2-3 วัน ถ้าเราเก็บดอกตูมเราจะยืดเวลาไปได้อีก
   
       โดยแช่ไว้ในห้องเย็นจะชะลอการขายได้


ที่มา : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเห็ดนางรม (3849)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus ostreatus (jacq.ex Fr.) Kumn.
ชื่อสามัญ : เห็ดนางรมขาว, เห็ดนางรม, Oyster Mushroom
ลักษณะดอก : เกิดเป็นกลุ่มจำ นวน 4-6 ดอก มีสีขาวหรือ สีเทา หมวกดอกคล้ายหอยนางรม ก้านดอกชูขึ้น ก้านสั้น ครับดอกเป็นแผ่นบางๆ ดอกค่อนข้างใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-8เซนติเมตร นํ้าหนักดี เกิดดอกง่าย
พันธุ์ : พันธุ์ดอกสีขาว และพันธุ์ดอกสีเทา
ระยะบ่มเชื้อ : เส้นใยเจริญเต็มอาหารผสมขี้เลื่อย (1,000 กรัม) ในเวลา 30-40 วัน อุณหภูมิ 30-35 0 ซ.
ระยะออกดอก : เห็ดออกดอกเก็บได้นาน 2-3 เดือน อุณหภูมิ 20-30 0 ซ. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 เปอร์เซ็นต์ เห็ดต้องการแสงสว่างอย่างน้อย 15 นาที / วัน
ผลผลิตเฉลี่ย : 200-300 กรัม/ถุง ผลผลิตจะสูง เนื้อดอกจะแน่นมีนํ้าหนักดี เมื่อเพาะในช่วงอากาศเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-26 0 ซ.
ปัญหาในการเพาะ : เห็ดออกดอกช้าหลังจากเปิดถุงแล้ว แต่สามารถแก้ไขได้โดย หลังจากที่เส้นใยเดินเต็มถุงแล้ว ควรปล่อยให้เส้นใยรัดตัวให้แน่นประมาณ 8-10 วัน จากนั้นจึงเปิดถุง

ที่มา : http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/herb_gar/mushroom4.pdf

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเห็ดนางฟ้า (3850)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus sajor-caju (Fr.) Sing
ชื่อสามัญ : เห็ดนางฟ้า, Phoenix Oyster Mushroom
ลักษณะดอก : ดอกเห็ดเกิดเป็นกลุ่มจำ นวน 2-4 ดอก หรือดอกเหี่ยว หมวกดอกมีเนื้อแน่นสีนํ้าตาลดำ อมเทา ก้านดอกสั้นมีวงแหวนล้อมรอบ ครีบดอกสีขาวดอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง2-8 เซนติเมตร
พันธุ์ : พันธุ์เบอร์ 1 และเบอร์ 2 ดอกสีนํ้าตาลดำ อมเทา
ระยะบ่มเชื้อ : เส้นใยเจริญเต็มอาหารผสมขี้เลื่อย ( 1,000 กรัม ) ในเวลา 30-40 วัน ที่อุณหภูมิ 30-33  องศาเซลเซียส
ระยะออกดอก : เห็ดออกดอกเก็บไว้นาน 2-3 เดือน ที่อุณหภูมิ 20-30  องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์ 75- 85เปอร์เซ็นต์
ผลผลิตเฉลี่ย : 250-300 กรัม/ถุง
ปัญหาในการเพาะ : ก้อนเชื้อมักจะเสีย เนื่องจากมีเชื้อราอื่นปนเปื้อน การแก้ไขสามารถทำ ได้โดย ไม่ควรใส่อาหารเสริมในก้อนเชื้อมากเกินไป นึ่งฆ่าเชื้อในก้อนขี้เลื่อยที่อุณหภูมิประมาณ 90-100 0 ซ. นาน 2 ชั่วโมง และทำ ความสะอาดโรงเรือนอยู่เสมอหลังจากเสร็จสิ้นการเปิดดอกในแต่ละรุ่นประมาณ 90-100 0 ซ. นาน 2 ชั่วโมง และทำ ความสะอาดโรงเรือนอยู่เสมอหลังจากเสร็จสิ้นการเปิดดอกในแต่ละรุ่น

ที่มา : http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/herb_gar/mushroom4.pdf

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเห็ดเป๋าฮื้อ (3851)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus cystidiosus O.K. Miller
ชื่อสามัญ : เห็ดเป๋าฮื้อ, Abalone Mushroom
ลักษณะดอก : ดอกเห็ดมีสีนํ้าตาลหรือสีขาวนวล คล้ายหอยโข่งทะเล ดอกหนา ผิวดอกมีสีคลํ้า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-12 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น นํ้าหนักดี การออกดอกแต่ละรุ่นพร้อมกันสมํ่าเสมอ
ระยะบ่มเชื้อ : เส้นใยเต็มอาหารผสมขี้เลื่อย (1,000 กรัม) ในเวลา 40-50 วัน ที่อุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส
ระยะออกดอก : เห็ดเริ่มออกดอกหลังจากเส้นใยเจริญเต็มอาหารผสมขี้เลื่อยแล้ว 10-15 วัน และเห็ดจะออกดอกแต่ละร่นห่างกัน 20 วัน
ที่อุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส ความชื้อสัมพัทธ์ 80-85 เปอร์เซ็นต์ต้องการแสงสว่างมาก
ผลผลิตเฉลี่ย : 170-180 กรัม/เก็บ 2 ครั้ง/อาหารผสมขี้เลื่อย 800 กรัม
ปัญหาในการเพาะ : มักจะเกิดเมือกสีนํ้าตาลรบกวนการเกิดดอกบนก้อนเชื้อและมีกลิ่นเหม็น สามารถแก้ไขโดย ขูดเมือกดังกล่าวทิ้ง

ที่มา : http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/herb_gar/mushroom4.pdf

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเห็ดภูฏาน (3852)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus sp.
ชื่อสามัญ : เห็ดภูฏาน , เห็ดนางรมภูฏาน , เห็ดนางฟ้าภูฏาน, Bhutan Oyster Mushroom
ลักษณะดอก : ดอกออกเป็นกลุ่มตั้งแต่ 3-5 ดอก หรือดอกเดี่ยว สีขาวนวลหรือสีนํ้าตาลเทา ในสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส ดอกเห็ดจะมีสีเทาดำ หรือดำ ดอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-8 เซนติเมตร นํ้าหนักดีพอสมควร ออกดอกง่าย
ระยะบ่มเชื้อ : เส้นใยเจริญเต็มอาหารผสมขี้เลื้อย (1,000 กรัม) ในเวลา 30-40 วัน ที่อุณหภูมิ 30-33 องศาเซลเซียส
ระยะออกดอก : เห็ดออกดอกเก็บได้นาน 2-3 เดือน ที่อุณหภูมิ 25-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 เปอร์เซ็นต์
ผลผลิตเฉลี่ย : 200-300 กรัม/ถุง
ปัญหาในการเพาะ : ก้อนเชื้อเสียเนื่องจากมีเชื้อราอื่นปะปน แก้ไขได้โดย นึ่งฆ่าเชื้อก้อนขี้เลื่อยก่อนใส่เชื้อที่อุณหภูมิ 90-100 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง และทำ ความสะอาดโรงเรือนบ่มเชื้อและโรงเรือนเปิดดอกอยู่เสมอหลังเพาะเห็ดแต่ละรุ่น

ที่มา : http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/herb_gar/mushroom4.pdf

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเห็ดหูหนู (3853)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Auricularia polytricha (Mont.) Sacc.
ชื่อสามัญ : เห็ดหูหน,ู Ear Mushroom, Wood Ear Mushroom
ลักษณะดอก : ดอกเห็ดมีสีนํ้าตาลเข้มหรือนํ้าตาลแดง เนื้อดอกหนานุ่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-10 เซนติเมตร มีขนยาว
ระยะบ่มเชื้อ : เส้นใยเจริญเต็มอาหารขี้เลื่อย (600 กรัม) ในเวลาประมาณ 35 วัน ที่อุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส
ระยะออกดอก : เห็ดออกดอกเก็บได้ 5-7 ครั้ง ในระยะเวลา 140 วัน ที่อุณหภูมิ 30 + 2 องศาเซลเซียส ต้องมีแสงสว่าง ความชื้นสัมพัทธ์ 95 + 5 เปอร์เซ็นต์
ผลเฉลี่ย : 190-200 กรัม/ถุง

ที่มา : http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/herb_gar/mushroom4.pdf

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเห็ดหูหนูดำ (3854)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Auricularia fuscosuccinea ( Mont.) Farlow
ชื่อสามัญ : เห็ดหูหนูดาํ , Ear Mushroom, Mu-er
ลักษณะดอก : ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นกลุ่ม มีสีดำ ขนาดดอกค่อนข้างเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-6 เซนติเมตร เนื้อดอกไม่หนา มีขนสั้น
ระยะบ่มเชื้อ : เส้นใยเจริญเต็มที่บนอาหารผสมขี้เลื่อย (600 กรัม) ในเวลา 45 วัน ที่อุณหภูมิ 30+2 องศาเซลเซียส เส้นใยบางส่วนเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีนํ้าตาล
ระยะออกดอก : เห็ดออกดอกเก็บได้ 3-4 ครั้ง ในระยะเวลา 125 วัน ที่อุณหภูมิ 30+2 องศาเซลเซียส ต้องมีแสงสว่าง ความชื้นสัมพัทธ์ 95+5 เปอร์เซ็นต์
ผลผลิตเฉลี่ย : 60-80 กรัม / ถุง

เห็ดหูหนูใช้เวลาในการเจริญในระยะเส้นใย ประมาณ 1.5 – 2 เดือน จากนั้นถอดสำลีและคอขวด มัดปากถุงปิดไว้ กรีดข้างถุงเป็นระยะ เพื่อให้เกิดดอก การให้ความชื้น สามารถให้นํ้าที่ก้อนเชื้อและดอกเห็ดได้ แต่ควรให้นํ้าเบาๆ มิฉะนั้นดอกเห็ดอาจชํ้าและเน่าเสียได้ง่าย โรงเรือนควรมีการถ่ายเทอากาศที่ดี เห็ดหูหนูเก็บเมื่อดอกเห็ดบานย้วยเต็มที่

ที่มา : http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/herb_gar/mushroom4.pdf