ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปรงเขาชะเมา (3705)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cycas chamaoensis K.D. Hill
ชื่อสามัญ: Cycad
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ลำต้นสูงได้กว่า 10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 12-25 เซนติเมตรหรือมากกว่า เปลือกเกือบเกลี้ยงสีเทาอ่อน
ใบ ใบประกอบแบบขนนกแผ่ออกจำนวนมากสีเขียวหรือเขียวอมเทา ก้านใบยาว 30-60เซนติเมตร ขอบมีหนามสั้นๆ แผ่นใบยาว 1.5-2.5 เมตร มีใบย่อยด้านละ 85-155 ใบเรียงชิดกันเป็นระเบียบ
ดอก ดอกมีโคนเพศผู้รูปร่างและโคนเพศเมียกลมแป้น
เมล็ด เมล็ดรูปไข่แบนขนาด 3x4 เซนติเมตร เปลือกเมล็ดสีเหลือง คล้ายกับ C.pactinata แต่โคนเพศผู้แคบและยาวกว่า มีหนามที่ใบสร้างอับไมโครสปอร์น้อยกว่า
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็้ด
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย (เขาชะเมา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง)
แหล่งที่พบ: ที่เปิดโล่งตามเนินเขาหินทรายที่ความสูง 400-600 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
ชื่อสามัญ: Cycad
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ลำต้นสูงได้กว่า 10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 12-25 เซนติเมตรหรือมากกว่า เปลือกเกือบเกลี้ยงสีเทาอ่อน
ใบ ใบประกอบแบบขนนกแผ่ออกจำนวนมากสีเขียวหรือเขียวอมเทา ก้านใบยาว 30-60เซนติเมตร ขอบมีหนามสั้นๆ แผ่นใบยาว 1.5-2.5 เมตร มีใบย่อยด้านละ 85-155 ใบเรียงชิดกันเป็นระเบียบ
ดอก ดอกมีโคนเพศผู้รูปร่างและโคนเพศเมียกลมแป้น
เมล็ด เมล็ดรูปไข่แบนขนาด 3x4 เซนติเมตร เปลือกเมล็ดสีเหลือง คล้ายกับ C.pactinata แต่โคนเพศผู้แคบและยาวกว่า มีหนามที่ใบสร้างอับไมโครสปอร์น้อยกว่า
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็้ด
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย (เขาชะเมา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง)
แหล่งที่พบ: ที่เปิดโล่งตามเนินเขาหินทรายที่ความสูง 400-600 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล