ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นโพธิ์ทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thespesia populnea (L.) Sol. ex Corr?a
ชื่อภาษาอังกฤษ : Cock Tree, Portia Tree, Rosewood of Seychelles, Tulip Tree
ชื่ออื่นๆ : บากู, ปอกะหมัดไพร,ปอมัดไซ
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่มกลม หนาทึบ แผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาและแตกเป็นร่องตามยาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบหยักฟันเลื่อย ใต้ใบมีขนนุ่มสีน้ำตาล แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง หูใบที่มีลักษณะเป็นรูปใบหอก
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง กลางดอกสีแดงเข้ม ดอกมีกลิ่นหอม
ผล : เป็นผลเดี่ยว รูปทรงกลม ก้านผลยาวห้อยลง ภายในมีเมือกสีเหลือง เมื่อแก่จะแห้งและแตกออกเป็น 4 พู เปลือกมีขนละเอียด หนาแน่น
เมล็ด : เล็กยาวคล้ายเส้นใยไหม สีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ของต้นโพธิ์ทะเล
เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
การดูแลต้นโพธิ์ทะเล
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน ทนดินเค็ม
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นโพธิ์ทะเล
- ใบ ใช้ทำผงยาใส่แผลเรื้อรัง และใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ
- ดอก ใช้ต้มกับน้ำนมหยอดหูรักษาอาการเจ็บหู
- เปลือก เป็นยาทำให้อาเจียน
- เมือกที่ได้จากการนำเปลือกสด เอามาแช่น้ำ ใช้ รักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร
- ราก ใช้รักษาอาการไข้ เป็นยาระบาย และขับปัสสาวะ
ความเชื่อของต้นโพธิ์ทะเล
เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดสมุทรปราการ
ประโยชน์ของต้นโพธิ์ทะเล
- นิยมปลูกเป็นแนวบังลมตามริมทะเล
- เนื้อไม้ ใช้ทำเครื่องเรือน ด้ามเครื่องมือ เครื่องดนตรี
- เปลือก ใช้ตอกหมันเรือ ทำเชือก และสายเบ็ด
- ดอก ผล และใบอ่อนสามารถนำมารับประทานได้