ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเถาไฟ (3442)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia integrifolia Roxb.
ชื่อวงศ์: LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ: -
ชื่อพื้นเมือง: กุกูกูด้อ กุกูกูบา(มาเลย์-ปัตตานี) ชงโคย่าน ย่านชงโค(ตรัง) ชิงโคย่าน(ภาคใต้) ตาโอะ (นราธิวาส) โยทะกา (กรุงเทพ) ปอลิง (สุราษฎร์ธานี) เล็บควายใหญ่ (ยะลา ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ไม้เถาขนาดใหญ่ มีมือเกาะ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล
ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปไข่ค่อนข้างกลม ปลายเว้าเป็น 2 แฉก แฉกแหลมหรือค่อนข้างกลม โคนเว้า รูปหัวใจ
ดอก สีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบบริเวณ ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 2-3 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ ขนาดต่างกันเล็กน้อย โคนสอบเรียวเป็นก้านสั้น เกสรตัวผู้ 5 อัน สมบูรณ์ 3 อัน
ฝัก/ผล เป็นฝักแบนยาวคล้ายบรรทัด เมื่อแก่แตกได้
เมล็ด กลมแบน มี 5-8 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก: เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์: การเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
ถิ่นกำเนิด: ภาคใต้ของไทย และแหลมมลายู
แหล่งที่พบ: ตามป่าดิบทางภาคใต้
ชื่อวงศ์: LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ: -
ชื่อพื้นเมือง: กุกูกูด้อ กุกูกูบา(มาเลย์-ปัตตานี) ชงโคย่าน ย่านชงโค(ตรัง) ชิงโคย่าน(ภาคใต้) ตาโอะ (นราธิวาส) โยทะกา (กรุงเทพ) ปอลิง (สุราษฎร์ธานี) เล็บควายใหญ่ (ยะลา ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ไม้เถาขนาดใหญ่ มีมือเกาะ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล
ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปไข่ค่อนข้างกลม ปลายเว้าเป็น 2 แฉก แฉกแหลมหรือค่อนข้างกลม โคนเว้า รูปหัวใจ
ดอก สีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบบริเวณ ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 2-3 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ ขนาดต่างกันเล็กน้อย โคนสอบเรียวเป็นก้านสั้น เกสรตัวผู้ 5 อัน สมบูรณ์ 3 อัน
ฝัก/ผล เป็นฝักแบนยาวคล้ายบรรทัด เมื่อแก่แตกได้
เมล็ด กลมแบน มี 5-8 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก: เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์: การเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
ถิ่นกำเนิด: ภาคใต้ของไทย และแหลมมลายู
แหล่งที่พบ: ตามป่าดิบทางภาคใต้