ค้นหาสินค้า

สักทอง

จำหน่ายต้นสักทอง กล้าและกิ่งพันธุ์สักทอง สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ต้นสักทอง

ต้นสักทอง ต้นสัก
ต้นสักทอง ต้นสัก พระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา

ราคา 35.00 บาท /ต้น

ต้นสักทอง
ต้นสักทอง องครักษ์ นครนายก

ราคา 200.00 บาท /ต้น

ต้นสักทอง
ต้นสักทอง บางกรวย นนทบุรี

ราคา 50.00 บาท /ต้น

ต้นสักทอง
ต้นสักทอง องครักษ์ นครนายก

ราคา 350.00 บาท /ต้น

ต้นสักทอง
ต้นสักทอง ศรีมหาโพธิ ปราจีนบุรี

ราคา 35.00 บาท /1ต้น

สัก 2"นิ้ว
สัก 2"นิ้ว บ้านนา นครนายก

ราคา 400.00 บาท /ต้น

สัก
สัก กันทรวิชัย มหาสารคาม

จังหวัดที่ขายต้นสักทอง

นครนายก (3 ร้าน)

นนทบุรี (1 ร้าน)

ปราจีนบุรี (1 ร้าน)

พระนครศรีอยุธยา (1 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นสักทอง ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์สักทอง

ขายเมล็ดพันธุ์ต้นสักทอง 1  แพค 140 บาท 1 แพคมี 100 เมล็ด
ขายเมล็ดพันธุ์ต้นสักทอง 1 แพค 140 บาท 1 แพคมี 100 เมล็ด พนมสารคาม ฉะเชิงเทรา

ราคา 140.00 บาท /แพค

เมล็ดสักทอง
เมล็ดสักทอง เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช

ราคา 2.00 บาท /เมล็ด

จำหน่ายเมล็ดสักทอง เมล็ดละ 1.50 บาท ค่ะ
จำหน่ายเมล็ดสักทอง เมล็ดละ 1.50 บาท ค่ะ กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 2.00 บาท

เมล็ดสักทอง
เมล็ดสักทอง งาว ลำปาง

ราคา 150.00 บาท /กิโลกรัม

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์สักทอง

ฉะเชิงเทรา (1 ร้าน)

นครศรีธรรมราช (1 ร้าน)

แพร่ (1 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ลำปาง (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์สักทอง ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าสักทอง

ต้นกล้าสักทอง ไม้เศรษฐกิจ
ต้นกล้าสักทอง ไม้เศรษฐกิจ ปทุมธานี

ราคา 30.00 บาท /ต้น

ต้นสักทอง
ต้นสักทอง เมืองลำพูน ลำพูน

ราคา 15.00 บาท

สักทองต้นละ 20 บาท ค่ะ
สักทองต้นละ 20 บาท ค่ะ กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 20.00 บาท

จังหวัดที่ขายต้นกล้าสักทอง

ปทุมธานี (1 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ลำพูน (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าสักทอง ทั้งหมดในเว็บ

ความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้สักทอง

ต้นสักทองเป็นไม้มงคล มีความเชื่อว่าหากปลูกต้นสักทองไว้ภายในบ้านจะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้ปลูกและผู้ที่อาศัยอยู่ภายในบ้านนั้นด้วย อีกทั้งคำว่า “ สัก ” ยังเป็นคำพ้องเสียงของคำว่า “ ศักดิ์ ” หมายถึง การมีศักดิ์ศรี มีเกียรติ ซึ่งหมายความรวมถึงการมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ได้เลื่อนยศเลื่อนขั้น นอกจากนั้น คำว่า “สัก” หรือ “สักกะ” ยังหมายถึง พระอินทร์ผู้ซึ่งมีอำนวจบารมียิ่งใหญ่ที่อยู่บนสรวงสวรรค์ นิยมปลูกต้นสักทองเอาไว้ทางทิศเหนือของบ้านเพื่อเป็นการเพิ่มพลังให้กับต้นสักทอง และช่วยเสริมสิริมงคลให้กับคนในบ้าน

สักทอง

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นสักทอง

- ใบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้พิษโลหิต เป็นยาอมแก้เจ็บคอ ยาขับลม ขับปัสสาวะ รักษาประจำเดือนไมปกติ

- เนื้อไม้ เป็นยาบำรุงโลหิต แก้อาการอ่อนเพลีย แก้ไข้ ขับลม ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง แก้บวม แก้ลมในกระดูก

- เปลือกไม้ แก้อาการปวดศรีษะ เป็นยาฝาดสมาน บรรเทาอาการบวม

- เมล็ด รักษาโรคตา

- ดอก เป็นยาขับปัสสาวะ

สักทอง

การขยายพันธุ์ของต้นสักโดยใช้เหง้า

2. เมื่อกล้าอายุได้ 8-10 เดือน ให้ถอนต้นกล้าจากแปลง ใช้มีดตัดรากฝอยออกจนหมด พร้อมกับตัดปลายรากแก้วทิ้ง ส่วนบนของลำต้นตัดเหนือคอราก 1 นิ้ว ต้นกล้าที่ถูกตัดแต่ง ที่ได้เรียกว่า "เหง้าสัก"

3. ขุดหลุมลึก 20 เซนติเมตร วางเหง้าสักลงในหลุมให้ตั้งตรง กลบดินระดับ คอเหง้า หรือรอยต่อระหว่างรากกับต้น กลบดินอัดให้แน่นพอประมาณ ช่วงปลูกที่ดีที่สุดต้องปลูกในต้นฤดูฝน

1. นำเมล็ดสักที่แก่จัด เพาะลงในแปลง ขนาด 1*20 เมตร ยกระดับสูง 20-30 เซนติเมตร ย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 200 กิโลกรัม ต่อไร่ คลุกเคล้าลงในดิน ปลูกระยะ 25*60 เซนติเมตร วางเมล็ดลงในหลุม กลบดินตื้น ๆ รดน้ำพอชุ่มคลุมด้วยฟางข้าว หมั่นเก็บวัชพืชในแปลงให้สะอาด

4. ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 25 กรัม ต่อต้น ปีละ 2 ครั้ง ระยะ 1-2 ปีแรก ลิดกิ่งระโยงระยางที่ไม่ต้องการทิ้งไป ปีต่อไป ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราต้นละ 200 กรัม โรยรอบโคนต้นแล้วกลบดิน ครบ 15 ปี ตัดต้นสักไปใช้ประโยชน์ได้เลย

สักทอง

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นสักทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ความเชื่อ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์

ต้นสักทอง
ต้นสักทอง
ผลสักทอง
ผลสักทอง

  1. ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f.
  2. ชื่อภาษาอังกฤษ : Teak
  3. ชื่ออื่นๆ : สัก, เคาะเยียโอ, ปายี้, เป้อยี, เส่บายี้
  4. ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เรือนยอดรูปกลมหรือไข่ ค่อนข้างทึบ ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอนต่ำ เปลือกสีน้ำตาลอ่อนเรียบหรือล่อนออก กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเหลืองรูปดาว
  5. ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับกว้างหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบด้านบนสากด้านล่างมีขนอ่อนนุ่ม ใบสีเขียวเข้ม หลังใบสีอ่อนกว่า มีต่อมเล็ก ๆ สีแดง ขยี้ใบจะมีสีแดงเหมือนเลือด
  6. ดอก : ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามปลายกิ่งและซอกใบ ดอกสีขาว เวลามีดอกจะมีพิษทำให้คนในบริเวณนั้นเป็นไข้ได้แต่ไม่รุนแรงเรียกว่า “ไข้ดอกสัก”
  7. ผล : แห้งค่อนข้างกลม สีเขียวอ่อนแกมเหลือง ผลแก่จัดจะเป็นสีน้ำตาล
  8. เมล็ด : รูปทรงไข่ แข็ง มีขนคล้ายไหม

การขยายพันธุ์ของต้นสัก

โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ ติดตา และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

เมล็ดสักทอง
เมล็ดสักทอง
เหง้าสักทอง
เหง้าสักทอง

การดูแลต้นสักทอง

ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ที่น้ำไม่ท่วมขัง ชอบแดด

สักทอง

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นสักทอง

สักทอง

  1. ใบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้เจ็บคอ ขับลม แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
  2. เนื้อไม้ บำรุงโลหิต แก้อ่อนเพลีย ขับลม แก้บวม ขับปัสสาวะ
  3. เปลือกไม้ แก้ปวดศรีษะ ลดอาการบวม
  4. ดอก ขับปัสสาวะ
  5. เมล็ด รักษาโรคตา

ความเชื่อของต้นสักทอง

สักทองเป็นไม้มงคล เชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นสักทองไว้ จะทำให้มีศักดิ์ศรี เกียรติศักดิ์ ยศถาบรรดาศักดิ์ และควรปลูกในวันเสาร์ ทางทิศเหนือของบ้าน

สักทอง

ประโยชน์ของต้นสักทอง

เนื้อไม้มีลายสวยงาม แข็งแรงทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน และเครื่องเรือน เนื่องจาก ปลวก มอด ไม่ชอบทำลาย เพราะมีสารพวกเตคโตคริโนน

ประตูไม้สัก
ประตูไม้สัก
ศาลาไม้สัก
ศาลาไม้สัก
สักทอง

ความสำคัญของต้นสักทอง

เป็นพรรณไม้พระราชทานประจำจังหวัดอุตรดิตถ์


ลักษณะของอ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-10 และพันธุ์อู่ทอง 84-11 (3929)

อ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-10  
   
มีลักษณะเด่น คือ หากปลูกในเขตชลประทานจะให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 19.77 ตัน/ไร่  สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ซึ่งเป็นพันธุ์อ้อยมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 41 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 71 ทั้งยังให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.85 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 39 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 70  ขณะที่ให้ความหวานอยู่ที่ 14.42 ซีซีเอส   ถ้าปลูกในเขตที่มีน้ำเสริมจะให้ผลผลิตเฉลี่ย 15.28 ตันต่อไร่  สูงกว่าพันธุ์ K 84-200  ร้อยละ 11 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 19  และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.12 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 17 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 15 ส่วนความหวานอยู่ที่ 13.83 ซีซีเอส    นอกจากนั้นยังต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงปานกลาง  ทั้งนี้ ไม่ควรปลูกอ้อยอู่ทอง 84-10 ในเขตที่มีการระบาดของหนอนกออ้อย    


   
สำหรับอ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-11
   
ว่าเดิมชื่ออ้อยโคลน 02-2-226 ได้จากการผสมข้ามระหว่างอ้อยพันธุ์แม่ 93-2-085 กับพันธุ์พ่อ 92-2-065 ซึ่งอ้อยพันธุ์ใหม่นี้มีลักษณะเด่น   คือ ถ้าปลูกในพื้นที่เขตชลประทานจะให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 18.24 ตัน/ไร่   สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 30    
สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 58   ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.67 ตันซีซีเอส/ไร่  สูงกว่าพันธุ์  K 84-200 ร้อยละ 30  สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 59 และให้ความหวาน 14.66 ซีซีเอส     ถ้าในเขตที่มีน้ำเสริมให้ผลผลิตเฉลี่ย 13.25 ตัน/ไร่  สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 15   สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 31 ขณะที่ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.75 ตันซีซีเอส/ไร่  สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 18  สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 24 ส่วนความหวาน อยู่ที่ 13.21 ซีซีเอส   นอกจากนั้นยังสามารถต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดง  และโรคแส้ดำได้ปานกลางด้วย    


   
ข้อมูลจาก : จดหมายข่าว ผลิใบ ก้าวใหม่การวิจัยและพัฒนาการเกษตร
   
ที่มา : กรมวิชการเกษตร