ลักษณะของเอื้องม่อนไข่ (3496)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium thyrsiflorum Rchb. F.
ชื่อพ้อง: Dendrobium clavatum Roxb.
ตระกูล: ORCHIDACEAE
ชื่อพื้นเมือง: เอื้องม่อนไข่เหลือง, เอื้องม่อนไข่
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วย เป็นแท่งสี่เหลี่ยม สีเขียวเข้มมีผิวเป็นร่องตื้นๆ สูงประมาณ 30 – 60 เซนติเมตร แตกหน่อเจริญเติบโตทางด้านข้าง
ใบ หนา รูปรีแกมรูปไข่ ออกเรียงสลับ 2 – 3 ใบ เวลาออกดอกจะไม่ทิ้งใบ ใกล้ปลายลำ ใบยาวประมาณ 12-18 ซม.
ดอก ออกดอกเป็นช่อแน่นใกล้ยอด ช่อดอกห้อยเป็นพวง 10 – 20 ดอกขึ้นไป โคนกลีบปากกระดกม้วนขึ้น ปลายแหลม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว กลีบปากเกือบกลมสีส้ม ดอกกว้าง 2.5– 3 เซนติเมตร ภายในปากมีขนหนาแน่น ริมสันปากไม่มีขน ดอกบานเกือบพร้อมกันทั้งช่อ และบานนานประมาณ ๑ สัปดาห์
ราก เป็นแบบรากกึ่งอากาศ (semi-epiphytic)
ฤดูกาลออกดอก: มกราคม ถึง เมษายน ของทุกปี
การปลูก: นิยมปลูกลงในกระถางกล้วยไม้ กระเช้าไม้ ใช้วัสดุปลูกกาบมะพร้าวแห้ง ถ่านไม้ หรือเกาะติดแก่นไม้ บำรุงปุ๋ยกล้วยไม้ฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง
การดูแลรักษา: ควรให้อยู่ในที่โล่งลมพัดผ่านได้ดี กลางแจ้ง หรือใช้ซาแลนพรางแสงประมาณ 30-40 %
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด: ไทย เมียนม่าร์ เนปาล และจีน
แหล่งที่พบ: ป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไปทาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อพ้อง: Dendrobium clavatum Roxb.
ตระกูล: ORCHIDACEAE
ชื่อพื้นเมือง: เอื้องม่อนไข่เหลือง, เอื้องม่อนไข่
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วย เป็นแท่งสี่เหลี่ยม สีเขียวเข้มมีผิวเป็นร่องตื้นๆ สูงประมาณ 30 – 60 เซนติเมตร แตกหน่อเจริญเติบโตทางด้านข้าง
ใบ หนา รูปรีแกมรูปไข่ ออกเรียงสลับ 2 – 3 ใบ เวลาออกดอกจะไม่ทิ้งใบ ใกล้ปลายลำ ใบยาวประมาณ 12-18 ซม.
ดอก ออกดอกเป็นช่อแน่นใกล้ยอด ช่อดอกห้อยเป็นพวง 10 – 20 ดอกขึ้นไป โคนกลีบปากกระดกม้วนขึ้น ปลายแหลม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว กลีบปากเกือบกลมสีส้ม ดอกกว้าง 2.5– 3 เซนติเมตร ภายในปากมีขนหนาแน่น ริมสันปากไม่มีขน ดอกบานเกือบพร้อมกันทั้งช่อ และบานนานประมาณ ๑ สัปดาห์
ราก เป็นแบบรากกึ่งอากาศ (semi-epiphytic)
ฤดูกาลออกดอก: มกราคม ถึง เมษายน ของทุกปี
การปลูก: นิยมปลูกลงในกระถางกล้วยไม้ กระเช้าไม้ ใช้วัสดุปลูกกาบมะพร้าวแห้ง ถ่านไม้ หรือเกาะติดแก่นไม้ บำรุงปุ๋ยกล้วยไม้ฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง
การดูแลรักษา: ควรให้อยู่ในที่โล่งลมพัดผ่านได้ดี กลางแจ้ง หรือใช้ซาแลนพรางแสงประมาณ 30-40 %
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด: ไทย เมียนม่าร์ เนปาล และจีน
แหล่งที่พบ: ป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไปทาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ