ค้นหาสินค้า

พุทรา

จำหน่ายต้นพุทรา กล้าและกิ่งพันธุ์พุทรา สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ต้นพุทรา

ต้นพุทราแดงอินเดีย ทาบกิ่งขนาด 70 cm
ต้นพุทราแดงอินเดีย ทาบกิ่งขนาด 70 cm คลองหลวง ปทุมธานี

ราคา 200.00 บาท /ต้น

(2ต้น) ต้น พุทราแดงอินเดีย ต้นพุทราแดงอินเดีย / ha
(2ต้น) ต้น พุทราแดงอินเดีย ต้นพุทราแดงอินเดีย / ha เมืองมหาสารคาม มหาสารคาม

ราคา 359.00 บาท /ต้น

พุทราป่า(กอ) *ราคาที่ระบุเป็นเพียงราคาเริ่มต้น
พุทราป่า(กอ) *ราคาที่ระบุเป็นเพียงราคาเริ่มต้น ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี

ราคา 4,500.00 บาท /กอ

จังหวัดที่ขายต้นพุทรา

ปทุมธานี (1 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

สุพรรณบุรี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นพุทรา ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าพุทรา

พุทราจัมโบ้ 3รส
พุทราจัมโบ้ 3รส กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 120.00 บาท

พุทราจัมโบ้
พุทราจัมโบ้ เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 150.00 บาท

ต้น พุทราหัวกระสุน  พุทราแสงจันทร์ แอปริคอท น้ำผึ้
ต้น พุทราหัวกระสุน พุทราแสงจันทร์ แอปริคอท น้ำผึ้ เมืองมหาสารคาม มหาสารคาม

ราคา 199.00 บาท /ต้น

พุทราสามรส
พุทราสามรส หนองหาน อุดรธานี

ราคา 40.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นกล้าพุทรา

ปราจีนบุรี (1 ร้าน)

มหาสารคาม (2 ร้าน)

อุดรธานี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าพุทรา ทั้งหมดในเว็บ

กิ่งพันธุ์พุทรา

#พุทราสามรส กิ่งทาบ
#พุทราสามรส กิ่งทาบ กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 130.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายกิ่งพันธุ์พุทรา

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด กิ่งพันธุ์พุทรา ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์พุทรา

ขายเมล็ดพร้อมเพาะพุทธสามรส
ขายเมล็ดพร้อมเพาะพุทธสามรส เมืองระยอง ระยอง

ราคา 1.00 บาท

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์พุทรา

ระยอง (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์พุทรา ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นพุทรา ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ziziphus jujuba Mill.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Chinese date, Jujube, Red date

ชื่ออื่นๆ : พุทราจีน, มะตัน, มะท้อง, มั่งถั่ง, หมากขอ

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นมีร่องเล็กๆ ตามยาว ทรงพุ่มรูปร่ม ต้นอ่อนสีน้ำตาลแกมส้ม ต้นแก่สีน้ำตาลเข้ม

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ถึงรูปรี ปลายใบมน โคนใบเฉียงเบี้ยว ขอบใบหยักถี่ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบมีขนสีน้ำตาลหรือสีขาว ก้านใบยาว ยอดอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย หูใบเปลี่ยนเป็นหนามยาว 2 อัน

ดอก : ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกสีเขียวอ่อนถึงเหลือง กลิ่นค่อนข้างเหม็น

ผล : ทรงกลม หรือรูปขอบขนาน ผิวเรียบสีเขียวอมเหลือง สุกแล้วมีสีน้ำตาลแดงเหี่ยวย่น

เมล็ด : เดี่ยวรูปขอบขนาน

พุทรา

การขยายพันธุ์ของต้นพุทรา

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นพุทรา

- เปลือกลำต้น แก้ท้องเสีย ท้องร่วง แก้อาเจียน

- ใบ แก้อาการเป็นหวัดคัดจมูก

- ผลดิบ รักษาอาการไข้

ประโยชน์ของต้นพุทรา

- ผลสุก รับประทานได้ รสหวานอมเปรี้ยว

- ผล นำมาใช้ในการแปรรูป


การขยายพันธุ์พุทราไต้หวัน (3598)

โดยปกติแล้วต้นพุทราจะสามารถออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี แต่จากการปฏิบัติจริงนั้นควรจะเลี้ยงผลให้แก่และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูหนาว น่าจะเหมาะสมที่สุด โดยให้ผลผลิตพุทรารุ่นแรกแก่ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนและไปเก็บเกี่ยวผลผลิต รุ่นสุดท้ายไม่ควรเกินกลางเดือนกุมภาพันธ์หรือเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ไม่แนะนำให้มีการเลี้ยงผลและให้ผลผลิตแก่ในช่วงฤดูฝน เพราะจะพบปัญหาเรื่องแมลงวันทองเจาะทำลาย และจะใช้สารฆ่าแมลงในปริมาณมาก อีกทั้งผลผลิตพุทราที่เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูฝนจะมีรสชาติไม่อร่อย

หัวใจสำคัญของการปลูกพุทราไต้หวันเกษตรกรจะต้องมีการตัดแต่งกิ่ง โดยตัดให้เหลือส่วนของต้นเหนือพื้นดินขึ้นมาอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และควรจะตัดแต่งในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี บำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีอย่างเต็มที่ เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์และแข็งแรง พร้อมต่อการให้ผลผลิตในฤดูกาลต่อไป การตัดแต่งแบบนี้จะช่วยลดการระบาดของแมลงวันทองได้เป็นอย่างดี

การขยายพันธุ์พุทราไต้หวัน

การทาบกิ่ง คือ การยกต้นตอพุทราป่าที่มีอายุ 8-9 เดือน (ขนาดเท่าไม้เสียบลูกชิ้นก็เริ่มนำมาใช้ได้) ขึ้นไปทาบบนต้นพุทราไต้หวันพันธุ์ดี เกษตรกรบางรายอาจจะใช้วิธีการนำไม้ค้ำต้นตอที่ขึ้นไปทาบหรืออาจใช้นั่งร้าน แขวนตุ้มต้นตอ การทาบกิ่งพุทราจะต้องใช้ฝีมือค่อนข้างประณีต เนื่องจากกิ่งพุทราพันธุ์ดีที่จะทาบจะมีขนาดเล็กและเหตุผลที่เลือกยอดพันธุ์ ที่มีขนาดเล็ก เพราะพุทราเจริญเติบโตเร็วมาก หากคัดเลือกยอดขนาดใหญ่ถึงแม้จะสะดวกต่อการทาบกิ่งก็จริง เมื่อถึงเวลาตัดกิ่งทาบลงมาจะได้พุทราที่มีขนาดของต้นใหญ่เกินไป ต้นตอจะรับน้ำหนักไม่ได้ วิธีการทาบกิ่งแบบยกต้นทาบนี้ใช้เวลานานประมาณ 1 เดือน แผลจึงจะเริ่มสนิทกันแน่น ก่อนตัดกิ่งทาบลงมาอนุบาลต่อจะต้องควั่นเตือนใต้กิ่งพุทราพันธุ์ดีก่อนที่จะ ตัด ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นนำไปพักฟื้นต้นไว้อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ ใต้ตาข่ายพรางแสงเมื่อเห็นว่าต้นพุทรามีความแข็งแรงดี ก็นำไปปลูกได้ สำหรับการขยายพันธุ์อีกวิธีหนึ่งคือ การขยายพันธุ์พุทราแบบต่อยอด เกษตรกรจะต้องคัดเลือกนำเอาต้นตอพุทราป่าที่มีอายุต้น ประมาณ 8-9 เดือน (ต้นตอที่มีขนาดใหญ่จะต่อยอดได้ง่าย) ถุงที่ใช้เพาะต้นตอไม่ควรใช้ถุงที่มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะเมื่อนำมาอบในถุงพลาสติคจะได้ประหยัดถุงสำหรับอบ สำหรับยอดพันธุ์ดีพุทราไต้หวันจะต้องคัดเลือกยอดจากกิ่งกระโดง ไม่ควรใช้ยอดที่เกิดจากกิ่งแขนงที่ห้อย เนื่องจากเมื่อต่อติดแล้วนำไปปลูกในแปลงพบว่า ต้นจะเจริญเติบโตได้ช้ามาก ในกรณีที่มีต้นพันธุ์พุทราไต้หวันน้อยให้นำยอดพันธุ์มาตัดเป็นท่อนๆ ได้ ให้มีตาอย่างน้อยสัก 2 ตา หลังจากต่อยอดเสร็จ นำไปอบในถุงพลาสติคขนาดใหญ่ ใช้เวลาอบนานประมาณ 30-45 วัน มีข้อแนะนำว่าอย่ารดน้ำต้นตอจนแฉะเกินไป จะเกิดความชื้นในถุงอบมากเกินไป ทำให้เกิดเชื้อราเข้าแผลเน่า ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การติดน้อย ควรให้ดินของต้นตอมีความชื้นหมาดๆ ก็เพียงพอ สถานที่อบควรพรางแสงด้วยตาข่ายพรางแสง 70% หลังจากอบได้เวลา ค่อยๆ เปิดปากถุงทีละน้อย ในช่วงตอนเย็นทิ้งไว้อย่างนั้น 2-3 วัน จึงนำมาอนุบาลในตาข่ายพรางแสงต่อ

เทคนิคการเพาะเมล็ดพุทรา เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์

เมล็ด พุทรา ที่แนะนำให้มาใช้เพื่อทำต้นตอแนะนำให้ใช้เมล็ดพุทราจะดีที่สุด เมื่อเกษตรกรได้เมล็ดพุทรา ถ้าต้องการให้งอกเร็ว "เกษตรกรจะต้องทุบเอาเมล็ดข้างใน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเมล็ดกระถิน" เมื่อนำมาเพาะใส่ในถุงดำ จะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน เท่านั้น เมล็ดจะเริ่มงอก แต่ถ้าเพาะเมล็ดที่ไม่ได้ทุบจะใช้เวลานานนับเดือนกว่าเมล็ดจะงอกออกมา สำหรับอีกวิธีหนึ่งในการเพาะเมล็ดพุทราป่า โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน "เกษตรกรนำผลพุทราป่าที่สุกแล้วนำมาเป็นส่วนผสมของอาหารให้วัวหรือควายกิน เมื่อวัวและควายถ่ายมูลออกมา นำมูลที่มีเมล็ดพุทราติดมาไปหว่านในแปลงเพาะรดน้ำให้ชุ่มเมล็ดพุทราจะงอกออก มาภายใน 7 วัน" ต้นตอพุทราที่จะใช้ในการขยายพันธุ์จะต้องมีอายุ ประมาณ 8-9 เดือน

เทคนิคการฉีดพ่นสารเคมีในการปลูกพุทราไต้หวัน

สาร ปราบศัตรูพืชที่ใช้ในการฉีดพ่นให้กับพุทราไต้หวัน จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ถูกต้องและเหมาะสม จึงจะได้ผลผลิตที่ดี คุ้มต่อการลงทุน ถึงแม้พุทราจะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสารเคมี แต่ในช่วงออกดอกติดผลจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต การใช้สารเคมีจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ จะต้องฉีดพ่นสารเคมีให้ถูกต้อง หากเลือกใช้สารเคมีไม่ถูกจะมีผลทำให้พุทราได้รับผลกระทบเสียหายได้ เช่น ใบไหม้ ผลลาย ผิวดำ ผิวตกกระ เป็นขี้กลาก ผลเล็ก ผลบิดเบี้ยว และผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เป็นต้น

ข้อควรระวังในการใช้สารเคมี

1. สารเคมีที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย ฮอร์โมน และสารกำจัดศัตรูพืชที่ฉีดพ่นระยะพุทราออกดอกและติดผล ควรหลีกเลี่ยงยาที่เป็นน้ำสีดำหรือผสมน้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีดำ

2. หลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของน้ำมัน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยาร้อน"

3. สารเพิ่มประสิทธิภาพ หรือที่เรียกว่า "สารจับใบ" ควรลดอัตราการใช้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราที่แนะนำ

4. หลีกเลี่ยงสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผึ้งหรือแมลงที่มาช่วยผสมเกสรในช่วงออกดอก

5. ควรฉีดพ่นสารเคมีให้กับพุทราไต้หวันในตอนเช้า ในกรณีที่มีปุ๋ยทางใบและฮอร์โมนผสมด้วย ควรปรับหัวฉีดให้ฝอย แรงดันเหมาะสม หัวฉีดที่พ่นสารเคมีควรฉีดอยู่ห่างจากช่อดอก ประมาณ 1 เมตร ป้องกันการกระแทก ทำให้ดอกร่วง

6. ในช่วงฝนตกชุก โรคระบาดมาก ควรมีการฉีดพ่นตอนเย็น

สาร เคมีที่แนะนำให้ใช้ป้องกันและกำจัดแมลงในการปลูกพุทรา ในระยะออกดอกและติดผล ได้แก่ โปรวาโด, S-85 ฯลฯ สำหรับโรคสำคัญที่มักพบกับพุทรา ได้แก่ โรคแอนแทรกโนส ราดำ ฯลฯ ยาโรคพืชที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่ ฟลิ้นท์-แอนทราโคล (โดยเฉพาะในช่วงออกดอกติดผล และมีฝนตกมาอย่างต่อเนื่อง การฉีดพ่นสารฟลิ้นท์+แอนทราโคล จะช่วยทำให้การติดผลดีขึ้นมาก และดอกสะอาด) เมเจอร์เบน คาร์เบนดาซิม ฯลฯ ควรงดยาเชื้อราที่เป็นน้ำมัน

ปัญหา พุทราช่วงระยะออกดอกมักพบปัญหาไม่ติดผล ออกดอกแล้วร่วง อาจเป็นเพราะต้นยังไม่สมบูรณ์ ฝนตกชุก โรคระบาดรุนแรง หรือไม่มีแมลงผสมเกสร ทางชมรมเผยแพร่ฯ มีเคล็ดลับในการดูแลรักษาให้พุทราติดผลและผลผลิตมีคุณภาพ ดังต่อไปนี้

1. หลังตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยขี้วัวเก่า 10-20 กิโลกรัม (อายุ 1 ปี ขึ้นไป) และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

2. ช่วงบำรุงเลี้ยงต้นให้สมบูรณ์ 1-2 เดือนครึ่ง หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จ ใช้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูง สลับกับสูตรเสมอ เช่น 25-7-7, 16-16-16 ฯลฯ พร้อมกับฉีดพ่นปุ๋ยทางใบหรือฮอร์โมนพวกสาหร่าย เช่น แอ๊กกรีนผสมกับปุ๋ยน้ำ สูตร 18-6-6, 28-0-0, 12-12-12 ฯลฯ

3. ช่วงบำรุงดอก ปุ๋ยทางดิน ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24, 10-26-26 ฯลฯ ปุ๋ยทางใบฉีดพ่น สะสมและบำรุงดอก เช่น เฟอร์ติไจเซอร์ สูตร 10-52-17, 5-20-25 ไบโฟลานเหลือง ฯลฯ

4. ช่วงติดผล ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตรเสมอ เช่น 16-16-16, 19-19-19 ฯลฯ ทางใบฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ สูตร 12-12-12 +แคลเซียมโบรอนอี เพื่อให้ผลติดมากขึ้นและขยายขนาดผลให้โต

5. เมื่ออายุผลพุทรา 60 วัน ขึ้นไป ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตรที่มีตัวท้ายสูง เช่น สูตร 10-26-26, 13-13-21 ปุ๋ยทางใบใช้ปุ๋ยน้ำ สูตรเสมอ เช่น 12-12-12 ไฮโปส ก่อนเก็บเกี่ยว อายุ 3-4 เดือน ให้ฉีดพ่นโพแทสเซียมไนเตรต เพื่อเร่งความหวาน ปุ๋ยทางดินต้องใส่บ่อยครั้งขึ้นทุก 15 วัน เน้นปุ๋ยตัวท้ายสูงเพื่อเพิ่มความหวาน เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21, 0-0-60 ฯลฯ

เป็น ที่สังเกตว่า การปลูกพุทราไต้หวันในประเทศไทยขณะนี้จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักคือ พันธุ์ซื่อมี่ หรือพันธุ์นมสด มีพื้นที่ปลูกมากในเขตภาคหนือตอนบน สำหรับพันธุ์ซุปเปอร์จัมโบ้ที่มี คุณวารินทร์ ชิตะปัญญา เป็นผู้บุกเบิกการปลูกและมีปลูกกระจายในหลายพื้นที่ของภาคกลาง การปลูกพุทราไต้หวันให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องมีการจัดการสวนที่ถูกต้อง มีระบบการให้น้ำที่ดีและให้ปุ๋ยที่ถูกต้องถึงจะได้พุทราที่มีคุณภาพดี วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว โดยเก็บพุทราเข้าห้องเย็นที่ควบคุมอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อชะลอการขายเป็นเรื่องใหม่ที่เกษตรกรผู้ปลูกพุทราไต้หวันควรจะนำไป ปฏิบัติต่อได้

เอื้อเฟื้อข้อมูล เทคโนโลยีชาวบ้าน