ค้นหาสินค้า

ผักพฤกษ์

จำหน่ายต้นผักพฤกษ์ กล้าและกิ่งพันธุ์ผักพฤกษ์ สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

เมล็ดพันธุ์ผักพฤกษ์

พกฤษ์
พกฤษ์ เมืองระยอง ระยอง

ราคา 1.00 บาท

เมล็ดต้นผักพฤกษ์ ต้นซึก มะรุมป่า
เมล็ดต้นผักพฤกษ์ ต้นซึก มะรุมป่า แก่งคอย สระบุรี

ราคา 1.00 บาท /เมล็ด

เมล็ดซึก,ต้นซึก,ต้นอีซึก
เมล็ดซึก,ต้นซึก,ต้นอีซึก สายไหม กรุงเทพมหานคร

ราคา 50.00 บาท

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์ผักพฤกษ์

กรุงเทพมหานคร (1 ร้าน)

ระยอง (1 ร้าน)

สระบุรี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์ผักพฤกษ์ ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะทางพฤกษศาตร์ของดาหลา (3571)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith
ชื่อวงศ์:  Zingiberales
ชื่อสามัญ:  Torch  Ginger
ชื่อพื้นเมือง:  กาหลา, กะลา
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้านี้จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม
    ใบ  มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ
    ดอก  ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับ ขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ ขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบ ประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจริงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอกจะ พัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ
ฤดูกาลออกดอก:  ออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม
การดูแลรักษา:  เจริญเติบโตได้ดีในที่มีแสงแดดรำไรหรือที่ร่มไม้ยืนต้น ถ้าหากโดนแดดจัดเกินไปสีของกลีบประดับจะจางลง และทำให้ใบไหม้  สามารถปลูกได้ทุกฤดู ฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดคือ ฤดูฝน
การขยายพันธุ์:  แยกหน่อ แยกเง้า ปักชำหน่อแก่
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    บริโภค
    -    ไม้ตัดดอก
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ดอก
การปรุงอาหาร:  นำกลีบดอกไปยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดก็ได้  หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมในข้าวยำ หรือปรุงแบบยำ ใส่เนื้อหมูนึ่งสุกหั่นบางๆ และใส่แตงกวาจะช่วยให้มีรสหวาน
สรรพคุณทางยา:  ดอกดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ


ลักษณะพฤกษศาตร์ของทองอุไร (3576)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Tecoma stans (L.) Kunth
ชื่อวงศ์:  Bignoniaceae
ชื่อสามัญ:  Yellow elder, Yellow bells, Trumpet vine
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มชนาดกลาง  ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมถึงรูปไข่ ทรงพุ่มโปร่ง  ลำต้นตั้งตรง
    ใบ  ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น กว้าง 14-16 เซนติเมตร  ยาว 20-23 เซนติเมตร ใบย่อย 5-11 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอกหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร  ยาว 5-6 เซนติเมตร  ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ  ขอบใบจักฟันซี่  แผ่นใบบาง ผิวใบด้านบนสีเขียวสด  ก้านใบยาว  9-12 เซนติเมตร
    ดอก  สีเหลืองสด ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 7-11 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกันปลายแยก 5 แฉก ปลายแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายเเยกเป็น 5 แฉก คล้ายรูปแตร ดอกร่วงง่าย
    ฝัก/ผล  ผลแห้งแตก  เป็นฝักกลม  เรียวเล็ก  ยาว 12-14 เซนติเมตร
    เมล็ด  เมล็ดแบนบาง  สีน้ำตาลอ่อนมีปีก
ฤดูกาลออกดอก:  กรกฎาคม-กันยายน
การปลูก:  ปลูกประดับสวน
การดูแลรักษา:  ดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกากลางและใต้ หมู่เกาะอินดีสตะวันตก
แหล่งที่พบ:  พบได้ทั่วทุกภาค


ลักษณะพฤกษศาตร์ของนมแมว (3580)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Rauwenhoffia siamensis Scheff.
ชื่อวงศ์:  ANNONAEAE
ชื่อสามัญ:  Rauwenhoffia siamensis
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดไม่สูงนัก สูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้น กิ่ง และก้านมีสีคล้ำ
    ใบ  ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก  โคนใบมน ปลายใบแหลมยาวประมาณ 3 นิ้ว ใบด้านบนสาก มีขนตามเส้นกลางใบ
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยว เหมือนดอกลำดวน แต่เล็กกว่ากลีบบางกว่าไม่งุ้มโค้งมากเท่าดอกลำดวน สีขาวออกเหลืองนวล มี 6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกแข็งและสั้น เมื่อบานเต็มที่มีขนาดประมาณ 0.5 นิ้ว
    ฝัก/ผล  ออกเป็นพวง  เมื่อสุกสีเหลืองอมส้ม รับประทานได้
ฤดูกาลออกดอก:  มีดอกเกือบตลอดปี
การปลูก:  นิยมปลูกประดับและตัดแต่งให้เป็นทรงพุ่มสวยงาม
การดูแลรักษา:  ชอบดินที่มีความชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดี
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกกลิ่นหอมแรงในเวลาเย็นถึงค่ำ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    ดอก กลั่นทำน้ำหอม
    -    บริโภค
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศไทย
แหล่งที่พบ:  ชายป่าชื้นทางภาคใต้ และภาคกลางของประเทศไทย
สรรพคุณทางยา:
    -    ดอก มีน้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่น
    -    เนื้อไม้และราก ต้มรับประทานแก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ
    -    ราก เป็นยาแก้โรคผอมแห้งของสตรีเนื่องจากคลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้


ลักษณะพฤกษศาตร์ของกล้วยพัด (3661)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Ravenala madagascariensis  Sonn.
ชื่อวงศ์:   Strelitziaceae
ชื่อสามัญ:  Traveller s - tree
ชื่อพื้นเมือง:  กล้วยฝรั่ง กล้วยลังกา กล้วยศาสนา
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้ต้นขนาดกลาง   ลำต้นตั้งตรงสีน้ำตาลไม่แตกกิ่งก้าน ลำต้นเป็นข้อสั้นๆ ลักษณะคล้ายปาล์ม กิ่งก้านแผ่คล้ายพัดกว้างประมาณ 3 เมตร
    ใบ  ใบคล้ายกล้วยแต่มีขนาดใหญ่หนา และมีก้านยาวกว่า ใบเรียงตรงข้ามซ้อนชิดกัน  2  ข้างที่ปลายยอดลำต้นแผ่ออกเป็นรูปคล้ายพัด ใบรูปขอบขนาน กว้าง  0.6-1 เมตร  ยาว 1.5-3 เมตร  ปลายใบมนโคนใบตัดหรือเบี้ยว  ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 2-3 เมตร โคนก้านขยายออกเป็นกาบหุ้มลำต้น ระหว่างกาบมีน้ำขังอยู่
    ดอก  สีเหลือง ออกเป็นช่อกระจุกด้านเดียวตามซอกใบระหว่างใบที่ 1-4 นับจากใบล่าง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1 เมตร  มีกาบขนาดใหญ่ 10-12 กาบ  สีขาว แต่ละกาบยาว 50 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก ไม่มีก้านดอก มีใบประดับยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ปลายเเหลม
    ฝัก/ผล  ผลแห้งแตกกลางพู ทรงกระบอก ยาว 7-10 เซนติเมตร เปลืองเเข็งมาก กินไม่ได้
    เมล็ด  เมล็ดกลม เมื่อแก่เป็นสีน้ำเงินเข้ม
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกเมื่อต้นสมบูรณ์เต็มที่
การปลูก:  ปลูกประดับสวนเพื่อเป็นจุดเด่นหรือเรียงแถว เวลาปลูกควรเผื่อพื้นที่สำหรับใบที่แผ่กาง
การดูแลรักษา:  ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีลมแรงจะทำให้ใบแตกไม่สวย ขึ้นได้ในดินทั่วไป  ชอบแดดเต็มวัน
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศมาดากัสการ์


ลักษณะพฤกษศาตร์ของปริกน้ำค้าง (3701)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Asparagus densiflorus (Kunth) Jessop. Sprengeri Group
ชื่อวงศ์:  Asparagaceae
ชื่อสามัญ:  Asparagus fern
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้คลุมดิน ลำต้นสั้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ใบดูละเอียด  กิ่งก้านตั้งตรงหรือโค้งห้อยลง
    ใบ  ใบจริงเปลี่ยนเป็นหนามเล็กๆ ส่วนที่คล้ายใบ (phyllocade) เป็นส่วนของลำต้นลักษณะเป็นรูปแถบถึงรูปเข็มสั้น  กว้าง 1-2 มิลลิเมตร  ยาว 5-15 มิลลิเมตร ปลายแหลมค่อนข้างแข็ง สีเขียวสดเป็นมัน ออกข้อละ 3 อัน
    ดอก  สีขาวอมชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ขนาด 2-5 มิลลิเมตร
    ฝัก/ผล  ผลสดแบบมีเนื้อ สีแดงสด ขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเมล็ดเดียว
การปลูก:  ปลูกลงกระถาง
การดูแลรักษา:  ชอบดินระบายน้ำดี  ชอบแสงรำไร
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ


ราชพฤกษ์เป็นไม้มงคล (3910)

คนไทยเราเชื่อกันมาแต่โบราณว่า ราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนำโชคชัยมาสู่ตัวเรา ปลูกไว้จะน้อมนำแต่ความสุขความเจริญมาสู่ชีวิตและครอบครัว จิตใจของเจ้าของจะสูงขึ้น อำนาตแห่งความดีจะน้อมนำชีวิตสู่ความสำเร็จในที่สุด นอกจากนั้นราชพฤกษ์ยังเป็นต้นไม้ประจำชาติไทยอีกด้วย

เพื่อให้ฤทธิ์มงคล ควรปลูกราชพฤกษ์ในวันเสาร์ และควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ หากให้ผู้ใหญ่ที่มีความน่าเคารพมาปลูกจะเป็นมงคลยิ่งขึ้น