ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นผักบุ้งทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea pes-caprae (L.) R. Br.
ชื่อภาษาอังกฤษ : beach morning-glory, goat's foot creeper
ชื่ออื่นๆ : ผักบุ้งเล, ผักบุ้งขน, ผักบุ้งต้น
ลำต้น : เป็นไม้เลื้อยล้มลุก ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้น หรือ เถากลมเป็นสีเขียวปนแดง ผิวเกลี้ยงลื่น ตามข้อจะมีรากฝอย ภายในกลวง ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบกลมกว้าง โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึก ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบมันเป็นสีเขียว หลังใบ และท้องใบเรียบ ก้านใบยาวมีสีแดง
ดอก : ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกสีชมพูอมม่วง ดอกบานตอนเช้า บ่ายๆ จะหุบเหี่ยว
ผล : เป็นผลแห้งแตกได้ รูปมนรี ผิวผลเรียบ
เมล็ด : กลม สีดำ มีขนหนาแน่นอยู่รอบๆ เมล็ด
การขยายพันธุ์ของต้นผักบุ้งทะเล
เพาะเมล็ด ปักชำ
การดูแลต้นผักบุ้งทะเล
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ชอบแดดจัด ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นผักบุ้งทะเล
- ใบ แก้โรคไขข้ออักเสบ แก้อาการจุกเสียด
- ทั้งต้น เป็นยาสมาน เจริญอาหาร ต้มอาบแก้อาการผื่นคันตามผิวหนัง แก้พิษแมงกะพรุน
- เมล็ด แก้ตะคริว แก้ปวดท้อง เป็นยาระบาย
- ราก ขับปัสสาวะ แก้โรคเท้าช้าง แก้ปวดฟัน แก้ผด แก้ผื่นคันที่มีน้ำเหลือง