ลักษณะพฤกษศาสตร์ของนมควายน้อย (3830)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Uvaria hahnii
ชื่อวงศ์: ANNONACEAE
ชื่อสามัญ: -
ชื่อพื้นเมือง: นมควาย,พีพวน,พีพวนน้อย
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ไม้เลื้อยเนื้อแข็งเลื้อยได้ไกล5-8 เมตร ลำต้นทอดยาวไปตามสุมทุมพุ่มไม้
ใบ เรียงสลับได้ระยะในระนาบเดียวกัน รูปรี หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ขอบใบเรียบ ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางกว่า
ดอก ออกเดี่ยวๆ ตรงข้ามใบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปไข่แกมรูปใบหอก กลีบดอกเรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 3 กลีบ รูปขอบขนาน โคนกลีบคอด กลีบดอกวงในขนาดเล็กกว่ากลีบวงนอกเล็กน้อย
ผล จำนวน 4-8 ออกบนช่อกลมแบบผลกลุ่ม ผลรูปไข่ มีขนนุ่ม สุกสีเหลือง
ฤดูกาลออกดอก: มีนาคม-พฤษภาคม
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอก
ถิ่นกำเนิด: พม่าและภูมิภาคอินโดจีน
แหล่งที่พบ: ภาคกลาง ภาตตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ บนที่โล่งตามชายป่าดิบแล้ง และป่าละเมาะที่ชุ่มชื้น
ชื่อวงศ์: ANNONACEAE
ชื่อสามัญ: -
ชื่อพื้นเมือง: นมควาย,พีพวน,พีพวนน้อย
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ไม้เลื้อยเนื้อแข็งเลื้อยได้ไกล5-8 เมตร ลำต้นทอดยาวไปตามสุมทุมพุ่มไม้
ใบ เรียงสลับได้ระยะในระนาบเดียวกัน รูปรี หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ขอบใบเรียบ ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางกว่า
ดอก ออกเดี่ยวๆ ตรงข้ามใบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปไข่แกมรูปใบหอก กลีบดอกเรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 3 กลีบ รูปขอบขนาน โคนกลีบคอด กลีบดอกวงในขนาดเล็กกว่ากลีบวงนอกเล็กน้อย
ผล จำนวน 4-8 ออกบนช่อกลมแบบผลกลุ่ม ผลรูปไข่ มีขนนุ่ม สุกสีเหลือง
ฤดูกาลออกดอก: มีนาคม-พฤษภาคม
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอก
ถิ่นกำเนิด: พม่าและภูมิภาคอินโดจีน
แหล่งที่พบ: ภาคกลาง ภาตตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ บนที่โล่งตามชายป่าดิบแล้ง และป่าละเมาะที่ชุ่มชื้น