ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นตีนเป็ดน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ข้อเสีย ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cerbera odollam Gaertn.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Pong pong
ชื่ออื่นๆ : ตีนเป็ด, ตูม, ลั่วลา, ตีนเป็ดทะเล, สั่งลา
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ มีน้ำยางขาว ทรงพุ่มแน่น เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อน หรือ เทา
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับแกมใบหอก หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ เนื้อใบหนาคล้ายหนัง ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนาเรียบเกลี้ยง ผิวเป็นมัน
ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งแบบแยกแขนง ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล : เป็นผลสดแบบมีเนื้อรูปทรงกลม หรือ ค่อนข้างกลมรีเป็นสองพูตื้นๆ ผิวผลเรียบเนียนกว้างเป็นมัน มีจุดเล็กๆ สีขาวกระจายทั่ว ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม
เมล็ด : เป็นเมล็ดแข็ง รูปวงรีหรือกลม เมล็ดสามารถลอยน้ำได้
การขยายพันธุ์ของต้นตีนเป็ดน้ำ
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
การดูแลต้นตีนเป็ดน้ำ
ปลูกได้ดีในดินทั่วไป เจริญเติบโตเร็ว ต้องการน้ำปานกลาง ชอบความชื้นสูง และแดดเต็มวัน ทนดินเค็ม
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นตีนเป็ดน้ำ
- เปลือกต้น ขับนิ่ว แก้ไข้
- ใบ แก้ไข้หวัด ฆ่าพยาธิผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน
- แก่น แก้เกลื้อน
- กระพี้ แก้กลากเกลื้อน
- ยางและใบ ทำให้อาเจียน
- ดอก แก้ริดสีดวงทวาร
- ผล แก้ผมหงอก
- น้ำมันจากเมล็ด ทาแก้หวัด แก้หิด ใช้ใส่ผม
- เมล็ด ใช้เบื่อปลา
- ราก ใช้ขับเสมหะ
- ทั้งต้น แก้ไข้หวัด ทำให้อาเจียน ทำให้ถ่าย แก้อาเจียนเป็นโลหิต
ข้อเสียของต้นตีนเป็ดน้ำ
ยางจากต้น เป็นอันตรายจึงไม่ควรปลูกใกล้กับสนามเด็กเล่นหรือบริเวณที่มีเด็กอยู่
ประโยชน์ของต้นตีนเป็ดน้ำ
- ผล เมล็ด และน้ำมันจากเมล็ดใช้ทำเป็นยาใส่ผมแก้ผมหงอก รักษาขน
- น้ำมันจากเมล็ดใช้ใส่ผมเป็นยาแก้เหา
- เมล็ดใช้ทำเป็นไม้ประดับแห้ง
- เป็นไม้ให้ร่มเงาตามลานจอดรถหรือริมถนนได้ หรือจะใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามริมสระว่ายน้ำ ริมทะเล ฯลฯ