ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นตะโก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros rhodocalyx Kurz
ชื่อภาษาอังกฤษ : Ebony
ชื่ออื่นๆ : โก, มะโก, นมงัว, มะถ่านไฟผี, ตะโกนา
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือรูปไข่ ทึบ ปลายกิ่งมักห้อยลู่ลง ลำต้นเปลาตรง เปลือกแตกเป็นร่อง มีสะเก็ดหนา สีดำ เนื้อไม้สีขาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือป้อม ปลายใบทู่หรือโค้งมน โคนใบสอบแคบหรือมน แผ่นใบค่อนข้างหนา หลังใบเกลี้ยง เป็นมัน แผ่นใบสีเขียวเข้ม ท้องใบอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ใบอ่อนสีเขียวอมน้ำตาล
ดอก : เป็นดอกแยกเพศต่างต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ดอกสีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อน ดอกมีกลิ่นหอม
ผล : ทรงกลม เป็นผลสดมีเนื้อ ผลอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ผลแก่เกลี้ยงและออกสีเหลืองส้ม
เมล็ด : เป็นรูปไข่แบน สีน้ำตาลเข้ม
การขยายพันธุ์ของต้นตะโก
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
การดูแลของต้นตะโก
ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดทั้งวัน ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นตะโก
- ราก แก้โรคเหน็บชา โรคทางเดินปัสสาวะ น้ำเหลืองเสีย แก้ปวดเมื่อย ช่วยเจริญอาหาร แก้ร้อนใน
- เปลือก บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง กระตุ้นร่างกายกระปรี้กระเปร่า
- ผล แก้ท้องร่วง ตกเลือด แก้บวม ขับพยาธิ แก้ฝี แผลเน่าเปื่อย
- เปลือกผล ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ
ประโยชน์ของต้นตะโก
- ผลสุกรับประทานได้ รสหวานอมฝาด
- ปลูกเป็นไม้ประดับ ทำไม้ดัด
- ผลอ่อนทำสีย้อมแห อวน และผ้า สีดำ
- เนื้อไม้ ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำด้ามอุปกรณ์