ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นชะคราม ชื่อวิทยาศาสตร์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suaeda maritima (L.) Dumort.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Seablite
ชื่ออื่นๆ : ชักคราม, ส่าคราม
ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเดี่ยว ทรงพุ่มแผ่กระจาย ลำต้นอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่จะมีสีน้ำตาลอมแดงเรื่อ
ใบ : เป็นใบเดี่ยว อวบน้ำ รูปแถบหรือรูปขอบขนาน แผ่นใบยาว ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียว เมื่อแก่ใบจะมีสีแดง ใบมีรสเค็ม
ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายยอดและตามซอกใบ ดอกสีเขียวอ่อน หรือเขียวอมม่วง ออกดอกตลอดปี
ผล : กลมรี ขนาดเล็ก ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวอมน้ำตาล ผลแก่สีน้ำตาล
เมล็ด : กลมแบน สีน้ำตาล เป็นมันวาว
การดูแลต้นชะคราม
ทนทานต่อความเค็ม เจริญเติบโตได้ดีบริเวณน้ำกร่อย และป่าชายเลน
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นชะคราม
- ใบ ใช้เป็นยาแก้ท้องผูก
- ราก เป็นยาบำรุงกระดูก แก้พิษฝีภายใน แก้น้ำเหลืองเสีย แก้โรคผิวหนัง
ประโยชน์ของต้นชะคราม
-ใบ นิยมนำใบอ่อนมารับประทาน
- ลำต้นและใบ นำมาสกัดเป็นยาสระผมแก้ผมร่วง
- ใช้เป็นดัชนีชี้วัดความเค็มของดิน โดยชะครามที่ขึ้นในดินเค็ม ใบออกสีม่วงแดง ส่วนต้นที่ขึ้นในดินจืด ใบจะออกสีน้ำเงิน