ค้นหาสินค้า

คิ้วนาง

ขายต้นคิ้วนาง ราคาถูก การปลูกคิ้วนาง วิธีดูแล และการขยายพันธุ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะคิ้วนาง ดอกและสรรพคุณ

ต้นคิ้วนาง

บอลไซส์  อลพิน หรือคิ้วนาง
บอลไซส์ อลพิน หรือคิ้วนาง ปทุมธานี

ราคา 4,500.00 บาท /ต้น

คิ้วนาง หรืออรพิม
คิ้วนาง หรืออรพิม วัฒนา กรุงเทพมหานคร

ราคา 50.00 บาท

จังหวัดที่ขายต้นคิ้วนาง

กรุงเทพมหานคร (1 ร้าน)

ปทุมธานี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นคิ้วนาง ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์คิ้วนาง

เมล็ดอรพิมหรือคิ้วนาง
เมล็ดอรพิมหรือคิ้วนาง คอนสวรรค์ ชัยภูมิ

ราคา 5.00 บาท /เมล็ด

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์คิ้วนาง

ชัยภูมิ (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์คิ้วนาง ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นคิ้วนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia winitii Craib

ชื่ออื่นๆ : อรพิม

ลำต้นของต้นคิ้วนาง : เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ ทรงพุ่มแน่น มีมือเกาะพันเป็นเส้นยาว ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดงที่กิ่งก้าน หูใบขนาดเล็กร่วงง่าย เปลือกเถาเรียบเป็นสีน้ำตาล ยอดอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล

ดอกของต้นคิ้วนาง : ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดง ดอกสีเหลืองครีม ดอกมีกลิ่นหอม

ผลของต้นคิ้วนาง : แบบฝักถั่ว สีน้ำตาล แบนเกลี้ยง

ใบของต้นคิ้วนาง : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ รูปร่างค่อนข้างกลมโคนใบรูปหัวใจ ปลายหยักเป็น 2 แฉกเข้ามาถึงที่โคนใบ ปลายของแต่ละแฉกมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ปกคลุมด้วยขนสั้นประปรายที่ผิวใบด้านล่าง เส้นใบสีขาว ใบอ่อนสีชมพู เมื่อแก่สีเขียว

เมล็ดของต้นคิ้วนาง : แบนเกลี้ยง

คิ้วนาง

การขยายพันธุ์ของต้นคิ้วนาง

โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

การดูแลต้นคิ้วนาง

ปลูกได้ในดินร่วนซุยระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน ไม่ชอบน้ำขัง การเจริญเติบโตปานกลาง

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นคิ้วนาง

เปลือก แก้ท้องเสีย

ประโยชน์ของต้นคิ้วนาง

- ปลูกประดับทำซุ้มไม้เลื้อย

- เปลือกไม้ ใช้เคี้ยวกับหมาก

- เส้นใยจากเปลือกไม้ ใช้ทำเชือก


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของคิ้วนาง (3434)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Bauhinia winitii Craib.
ชื่อวงศ์:    LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ:    -
ชื่อพื้นเมือง:    อรพิม
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    เป็นไม้เถามีมือเกาะกิ่งอ่อน มีขนสีน้ำตาล
    ใบ    ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ รูปร่างค่อนข้างกลมโคนใบรูปหัวใจ ปลายหยักเป็น 2 แฉกเข้ามาถึงที่โคนใบ เกิดช่องว่างเป็นระยะห่างระหว่างสองแฉก 0.8-1.6 ซม. ปลายของแต่ละแฉกมน ขอบใบเรียบ เส้นใบมี 4 คู่ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ปกคลุมด้วยขนสั้นประปรายที่ผิวใบด้านล่าง
    ดอก    ช่อแบบช่อกระจะ ดอกย่อยมีก้านเรียงสลับบนแกนกลางลดหลั่นตามลำดับจากบนลงล่าง ดอกย่อยประกอบด้วย วงกลีบเลี้ยงจำนวน 5 กลีบ แยกกัน ปลายของแต่ละแฉกแหลม ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดง กลีบดอกจำนวน 5 กลีบ แยกกัน แบ่งเป็นกลีบกลาง  สีเหลืองครีมรูปไข่กลับ กลีบคู่ข้างและกลีบคู่ล่าง ขนาดเท่ากัน เกสรเพศเมียจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ
    ฝัก/ผล    แบบฝักถั่ว สีแดง แบนเกลี้ยง มี 2-4 เมล็ด เมื่อแก่เต็มที่ฝักแตก
    เมล็ด    สีขาวแบน ๖-๑๐ เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:    สิงหาคม-มกราคม
การขยายพันธุ์:    การเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอก
การใช้ประโยชน์:    ไม้ประดับและสมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:    ไทย
แหล่งที่พบ:    ขึ้นตามป่าผลัดใบ และป่าโปร่งบนภูเขาหินปูนในภาคกลาง และภาคตะวันออก