ค้นหาสินค้า

ข้าว

ขายข้าวราคาถูก มีให้เลือกหลายร้าน

ผู้ให้การสนันสนุน

น้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่สกัดเย็น

เมล็ดพันธุ์ข้าว

เมล็ดพันธุ์ผัก พื้นเมือง พื้นบ้าน
เมล็ดพันธุ์ผัก พื้นเมือง พื้นบ้าน ลอง แพร่

ราคา 50.00 บาท /ถุง

พันธ์ุข้าวหอมสยาม
พันธ์ุข้าวหอมสยาม เมืองเชียงราย เชียงราย

ราคา 28.00 บาท /กิโลกรัม

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์ข้าว

เชียงราย (1 ร้าน)

แพร่ (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์ข้าว ทั้งหมดในเว็บ

ข้อเสีย(โทษ)ของข้าวไรซ์เบอร์รี่

- ข้าวไรซ์เบอร์รี่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้ง เมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น แม้ว่าข้าวไรซ์เบอร์รี่จะมีน้ำตาลน้อยและใยอาหารสูงกว่าข้าวขาว แต่ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อสุขภาพที่ดี

- ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีสารเทนนิน มีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร หากกินเข้าไปมาก ๆ จะทำให้รู้สึกท้องอืด หรือท้องผูก แต่สามารถป้องกันพิษของแทนนินได้ ด้วยการทำให้สุกก่อนรับประทาน

- มีไฟเบอร์สูงมาก ผู้สูงอายุจึงควรรับประทานแต่น้อย เพื่อระบบการทำงานของลำไส้ที่ดี

- เนื่องจากเป็นข้าวไม่ขัดสี จึงทำให้ย่อยยาก

- ราคาแพง หากเทียบกับข้าวกล้องประเภทอื่น

ข้าว

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของข้าวไรซ์เบอรี่ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ วิธีการดูแล สรรพคุณทางอาหาร

ชื่อวิทยาศาสตร์ของข้าวไรซ์เบอรี่ : Oryza sativa

ชื่อภาษาอังกฤษของข้าวไรซ์เบอรี่ : Riceberry

ลำต้นของข้าวไรซ์เบอรี่ : เป็นพืชล้มลุก มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกกอได้ดี ลำต้นมีลักษณะกลมเล็กๆ มีข้อและปล้องกลวง ช่วงโคนต้นมีข้อและปล้องสั้นกว่า และยาวขึ้นเรื่อยๆ มีเปลือกหนา มีขนหยาบๆปกคลุม ต้นมีสีเขียวม่วง

ใบของข้าวไรซ์เบอรี่ : เป็นใบเดี่ยว ลักษณะยาวรี ขอบใบเรียบ มีเส้นกลางใบตามยาวเห็นชัด ก้านใบออกหุ้มรอบๆลำต้น มีขนเล็กๆปกคลุม ผิวใบสากมือ มีสีเขียว

ดอกของข้าวไรซ์เบอรี่ : ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีขาว

ผลของข้าวไรซ์เบอรี่ : เป็นเมล็ด มีลักษณะทรงรี เรียวยาวเล็กๆ มีเปลือกแข็งแห้งหุ้มเมล็ด เมล็ดอ่อนมีสีเขียว เปลือกเมล็ดมีสีม่วง ข้างในมีเมล็ดแข็งมาก มีสีม่วงเข้ม ผิวมันวาว เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดจะร่วนและสวย มีกลิ่นหอม

ข้าว

การขยายพันธุ์ของข้าวไรซ์เบอรี่

ด้วยเมล็ด

การดูแลต้นข้าวไรซ์เบอรี่

ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินร่วนปนทราย เจริญเติบโตได้ในน้ำขังและในที่แห้งไม่มีน้ำขัง ชอบแดดจัด

สรรพคุณทางอาหารของข้าวไรซ์เบอรี่

มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สูง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ และช่วยบำรุงร่างกาย


ประโยชน์ของข้าวไรซ์เบอร์รี่

ข้าวไรซ์เบอร์รี่คือข้าวอะไร

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวที่เกิดจากการผสมพันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิลและข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยมีสีเป็นสีม่วงเข้ม ไม่ไวแสง และมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากมีสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระที่สูง โดยในรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ประกอบไปด้วยแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ในระดับความเข้มข้น 15.7 มก./100กรัม และค่า ORAC ถึง 400 มีโปรตีนและวิตามินบี1 สูงกว่าข้าวหอมมะลิ

ข้าว

ประโยชน์ของข้าวไรซ์เบอร์รี่

  1. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ลดคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือด
  2. ช่วยระบบขับถ่าย เนื่องจากมีกากใยอาหาร ที่เป็นประโยชน์ต่อระบบการขับถ่าย
  3. มีวิตามินอีและสังกะสี ช่วยสร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวเด้งเต่งตึง ลดริ้วรอย
  4. มีโฟเลตสูง เหมาะสำหรับคนตั้งครรภ์ ช่วยลดความเสี่ยงปากแหว่งเพดานโหว่ของลูกน้อย และป้องกันครรภ์เป็นพิษ มีส่วนช่วยสร้าง DNA (สารตั้งต้นการสร้างเซลล์ต่างๆ) ของลูกในครรภ์ได้ดี
  5. มีสารแอนโทไซยานิน ช่วยซ่อมแซมเซลล์ผิวหมองคล้ำ ป้องกันแดด
  6. มีสารช่วยบำรุงให้หัวใจแข็งแรง ช่วยฟื้นฟูเซลล์และกระตุ้นการผลิตเซลล์ใหม่ในร่างกาย ป้องกันการเป็นโรคโลหิตจาง ป้องกันมะเร็งบางชนิด และลดภาวะซึมเศร้า
  7. มีโอเมก้า 3 ที่ช่วยในการทำงานของระบบประสาท สมองและตับ
  8. ป้องกันโรคเหน็บชา
  9. ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม
  10. ลดความดันโลหิตสูง
  11. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง

ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ และ มะลินิลสุรินทร์ ข้าวทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ (3923)

มะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ เกิดจากความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว คณะเทคโนโลยี และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นข้าวเจ้าหอมต่างสี ซึ่งได้จากการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ข้าวเจ้าต่างสี พันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง 3 พันธุ์ คือ มะลิแดง เบอร์ 54 มะลิพื้นเมือง (ข้าวแดง) และมะลิดำ เบอร์ 53 จากแปลงแสดงพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ในปี พ.ศ. 2548 จนได้พันธุ์บริสุทธิ์ จำนวน 12 สายพันธุ์ ได้แก่ กลุ่มที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง จำนวน 5 พันธุ์ คือ มะลิโกเมนสุรินทร์ 1-5 และกลุ่มที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ จำนวน 7 พันธุ์ คือ มะลินิลสุรินทร์ 1-7    


   
ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ สามารถสนองต่อการเรียกหาของคนรักสุขภาพ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง อีกทั้งยังมีข้อดีทางด้านคุณภาพทางกายภาพ ทางเคมี และคุณภาพการหุงต้มรับประทานดี คือ เป็นข้าวเมล็ดเรียวยาว เปอร์เซ็นต์อะมิโลสต่ำ ข้าวสุกเหนียวนุ่ม และมีกลิ่นหอม จากการตรวจวิเคราะห์ในเมล็ดพบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูง ประกอบด้วย สารประกอบฟีโนลิก และแอนโทไซยานิน ที่มีผลทำให้ผิวหนังของเราไม่เหี่ยวแห้งเร็วก่อนวัยอันควร แถมยังช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งและยังออกฤทธิ์ในการขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตันในสมองและโรคอัมพาตอีกด้วย    


   
นอกจากนั้น ข้าวกลุ่มนี้ยังเหมาะสำหรับใช้ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ เพราะมีการใช้ปัจจัยการผลิตต่ำ จึงเป็นทางเลือกสำหรับชาวนาที่ทำนาแบบอินทรีย์ ผลผลิตภายใต้สภาพการปลูกแบบอินทรีย์ จะอยู่ที่ 224-458 กิโลกรัม/ไร่ ความสูง 158-185 เซนติเมตร ออกดอกระหว่าง วันที่ 20-29 ตุลาคม    


   
"มะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ ตอบสนองต่อปุ๋ยค่อนข้างต่ำ ผลผลิตจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการบำรุงดิน ไม่ว่าจะได้ผลผลิต 270 300 หรือ 400 กิโลกรัม/ไร่ มันก็กำไรอยู่แล้ว เพราะต้นทุนต่ำ"    


   
คุณรณชัย บอกกล่าวถึงคุณสมบัติของข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ ที่ได้จากการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ข้าวสายพันธุ์ดังกล่าวมีความต้องการปุ๋ยเคมีน้อย แต่ปัจจัยของผลผลิตของข้าวสายพันธุ์นี้ ขึ้นอยู่กับแร่ธาตุและอาหารในดิน ดังนั้น การดูแลรักษาและบำรุงดิน จึงจัดว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งไม่ว่าผลผลิตจะออกมาเท่าไหร่ ผู้ที่ทำนาแบบเกษตรอินทรีย์นั้น ก็มีกำไรเสมอ เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตข้าวที่ต่ำ    


   
ที่มา:  หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน

DIY การเพาะต้นอ่อนข้าวสาลีไว้ทานเองที่บ้าน (4926)

ที่มา youtube.com, chefuality    
เรื่อง How to Grow Wheatgrass    
ลิงค์ https://www.youtube.com/watch?v=Mw57kmVdx5Q

ลักษณะเอื้องเข็มขาว (3485)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Vanda lilacina Teijsmann & Binnend.
ตระกูล:  ORCHIDACEAE
ชื่อพื้นเมือง:  เข็มขาว, กล้วยไม้หางปลา, แฝก
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น   ตั้งตรง ต้นขนาดกลาง สูง 10-15 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 5-6 มม.
    ใบ    หนาแข็ง ปลายใบโค้ง ใบยาวประมาณ 20 ซม. กว้างประมาณ 1.2 ซม. ปลายตัดและมีหยักแหลมตื้นๆ
    ดอก    เป็นช่อ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 15-30 ซม. แต่ละช่อมีประมาณ 10-20 ดอก กลีบดอกสีขาว เดือยดอกสั้น มีแต้มสีเหลือง สองแต้มภายในคอปาก แผ่นปากสีม่วงอ่อน ดอกโตประมาณ 2 ซม.
    ราก    เป็นแบบรากอากาศ (epiphytic)
ฤดูกาลออกดอก:    มกราคม-เมษายน
การใช้ประโยชน์:    ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:    ไทย และเมียนม่าร์
แหล่งที่พบ:    ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ เกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลางและใต้


ลักษณะของเข็มขาว (3530)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Ixora   finlaysoniana  Wall. ex. G. Don.
ชื่อวงศ์:  RUBIACEAE
ชื่อสามัญ:  Siamese  White  lxora
ชื่อพื้นเมือง:  เข็มขาว  เข็มพวงขาว
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง  เป็นพรรณไม้พุ่มแน่น   ลักษณะลำต้นคล้ายเข็มญี่ปุ่น  ลำต้นอาจสูงประมาณ  5 - 10  ฟุต
    ใบ  ใบเป็นใบเดี่ยว  ออกเป็นคู่เวียนสลับรอบๆ ลำต้นและกิ่ง  ลักษณะของใบเป็นรูปรีขอบขนาย  ขอบใบเรียบ  ปลายใบเรียวแหลม  ขนาดของใบกว้างประมาณ  1 - 1.5  นิ้ว  ยาว 3  นิ้วค่อนข้างหนาเขียวสด
    ดอก  ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่เป็นช่อสั้นแต่แน่นทึบ  ก้านดอกจะยาวกว่าดอกเข็มอื่น ๆ  ปลายดอกแยกออกเป็น 4 กลีบ  ปลายกลีบดอกมนโค้ง  ไม่แหลม  ช่อดอกจะออกต่าง ๆ กัน ดอกมีสีขาว
    ฝัก/ผล  เป็นเม็ดกลม อ่อนเป็นสีเขียว ห่ามเป็นสีแดงและแก่เป็นสีดำ
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี
การปลูก:  ลงกระถาง หรือลงดิน
การดูแลรักษา:  ชอบแดดจัดเต็มวัน จึงควรปลูกกลางแจ้งจะทำให้ออกดอกขนาดใหญ่
การขยายพันธุ์:  ด้วยการปักชำ  และเพาะเมล็ด
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก และรากก็มีกลิ่นหอมและรสหวาน
การใช้ประโยชน์:  
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกาใต้
สรรพคุณทางยา:
    -    ราก ต้มกินแก้โรคตา และกินเป็นยาเจริญอาหาร


ลักษณะของเข็มอินเดียขาว (3534)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Pentas lanceolata   ( Forssk. )  Deflers
ชื่อวงศ์:  RUBIACEAE
ชื่อสามัญ:  Egyptian, Star - Cluster
ชื่อพื้นเมือง:  เข็มอินเดีย
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก   เป็นไม้ในเขตร้อน
    ใบ  ใบเขียวเข็มสาก  ใบรูปไข่ค่อนข้างหนา  ลักษณะโค้งมน ปลายใบแหลมและมีก้านใบเด่นชัด
    ดอก  ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง   ดอกมีสีขาว   มีกลีบดอก  5  กลีบ  เรียงดอกอยู่ในช่ออัดแน่นคล้ายดอกเข็มขาว  
การปลูก:  ปลูกเป็นไม้กระถาง  และปลูกเป็นไม้ประดับร่วม  ไม้อื่นที่มีดอกสีสัน
ถิ่นกำเนิด:  เอเซีย


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของพรหมขาว (3609)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Mitrephora alba Ridl.
ชื่อพื้นเมือง:  นมชะนี
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-8 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีดำ กิ่งอ่อนสีน้ำตาลและมีขนอ่อนปกคลุม มีช่องอากาศสีขาวเป็นจุดๆ แตกกิ่งน้อย
    ใบ  รูปรี กว้าง 4.5-6 เซนติเมตร ยาว 10-14 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเป็นคลื่น เส้นกลางใบด้านบนค่อนข้างเรียบ ด้านล่างนูนเด่น เส้นแขนงใบมี 7-9 คู่ เห็นไม่ชัดเจนทั้งสองด้าน
    ดอก  ออกตรงข้ามใบ 1-3 ดอก ดอกสีขาวอมม่วง ดอกบานอยู่ได้ 1-2 วัน เมื่อดอกใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ก้านดอกยาว 1.5 เซนติเมตร มีใบประดับเล็กๆ 1 ใบ ติดอยู่ที่ก้านดอกค่อนมาทางขั้วดอก กลีบเลี้ยงรูปไข่ กว้างและยาว 3 มิลลิเมตร กลีบดอกเรียงเป็น 2ชั้น ชั้นนอกรูปร่างค่อนข้างกลม ขนาด 1.6 เซนติเมตร ปลายกลีบเรียวเป็นติ่งแหลมเล็กๆ ตามกลีบสีรอยย่นบางๆ กลีบชั้นในรูปช้อน โคนกลีบเรียวเล็ก ปลายกลีบแผ่กว้างประกบกันเป็นรูปกระเช้า
    ฝัก/ผล  ผลกลุ่ม ก้านช่อผลยาว 1.5 เซนติเมตร มี 5-9 ผล ก้านผลย่อยยาว 5 มิลลิเมตร  ผลกลม ขนาด 1 เซนติเมตร เมื่อแก่สีเหลือง
ฤดูกาลออกดอก:  เมษายน-สิงหาคม
การดูแลรักษา:  ปลูกในที่ร่มรำไร
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
แหล่งที่พบ:  ป่าดินชื้นทางภาคใต้ ที่ระดับความสูง 50-200 เมตร


ลักษณะของว่านเสน่ห์จันทน์ขาว (3765)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Alocasia lindenii
ชื่อวงศ์:  ARACEAE
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นว่านที่ลำต้นโผล่ขึ้นมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ประกอบไปด้วยกาบใบที่ห่อหุ้มลำต้นอยู่ มีลักษณะคล้ายกับต้นบอน ลำต้นเป็นสีน้ำตาล
    ใบ  เป็น รูปใบโพธิ์ พื้นใบสีเขียวและมีสีขาวประอยู่ทั่วใบ ปลายใบแหลมเรียว โคนใบเว้าเข้าหาก้านใบ และถ้าใบสมบูรณ์ดี เส้นกลางใบก็จะเป็นสีขาว ใบอ่อนแตกตรงส่วนยอดของลำต้น โดยจะมีก้านใบกลมตรงชูขึ้นมาและก้านใบก็จะมีขาวด้วย
    ดอก  ดอกสีขาวอมเขียวออกดอกเป็นกลุ่ม ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกจำปีตูม มีกลีบเดียวกลางดอกมีเกสรเป็นรูปแท่ง มีก้านดอกยาวสีขาว
การดูแลรักษา:  ควรปลูกในดินปนทรายหรือดินที่มีการระบายน้ำได้ดี อย่าให้ถูกแสงแดดจัดอาจทำให้ตายได้ ควรปลูกในที่มีแสงแดดรำไร
การขยายพันธุ์:  การแยกหน่อ 
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ความมงคล:  เป็น ว่านที่มีอำนาจในทางเสน่ห์ ปลูกขึ้นที่ไหนหรือบ้านใดสามารถเป็นเสน่ห์เรียกคนไปที่นั่นได้ ในสมัยโบราณเชื่อกันว่าเป็นว่านเชิงเสน่ห์ระหว่างชายและหญิง และถ้านำหัวว่านมาแกะเป็นรูปนางกวักก็จะเป็นเสน่ห์แก่ผู้ที่ทำอาชีพค้าขาย


ประโยชน์ของข้าวฮาง (3818)

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวฮางงอก

เนื่องจากอุดมด้วย คุณค่า วิตามินบี 1, บี 2 ไนอะซิน ธาตุเหล็ก แคลเซียม (GABA : Gamma Amino Butyric Acid) ช่วยลดความดันโลหิตและปริมาณคอเลสเตอรอล มีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนักและลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคอัลไซเมอร์ อีกทั้งมีธาตุแมงกานีสในปริมาณสูง ซึ่งจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ อันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง นอกจากนั้น ข้าวฮางงอกมีค่าการเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญที่มนุษย์จำ เป็นต้องใช้ในการควบคุมระบบประสาท รวมทั้งกล้ามเนื้อ นอกจากนั้น จากกรรมวิธีผลิตข้าวฮางงอกทำให้ได้ข้าวเต็มเมล็ดที่มีจมูกข้าวและรำข้าวซึ่ง เป็นส่วนที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ รวมกว่า 20 ชนิด อีกทั้งข้าวฮางมีเส้นใยอาหารปริมาณสูง ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย จุดเด่นของข้าวฮางงอกที่ผ่านกระบวนการต่างๆ แล้ว จะมีลักษณะพิเศษนิ่มอร่อยใกล้เคียงข้าวขาว

ประโยชน์ของสารกาบ้าจากข้าวฮางงอก

สาร กาบ้า(GABA) หรือ Gamma Amino Butyric Acid ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อ ประเภท (neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลางและเป็นสารสื่อประสาทประเภทสารยับยั้ง (inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ซึ่งช่วยทำให้สมองเกิดการผ่อนคลายและนอนหลับสบาย อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ anterior pituitary ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (high) ให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการกระชับและเกิดสารป้องกันไขมัน ที่ชื่อ lipotropic ในวงการแพทย์มีการนำสารกาบ้ามาใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น สารกาบ้ายังมีผลกระตุ้นฮอร์โมน ทำให้ระดับฮอร์โมนมีสม่ำเสมอ ช่วยชะลอความแก่ และขับเอ็นไซม์ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ควบคุมระดับน้ำตาลและพลาสมา คอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ให้เลือดไหลหมุนเวียนดีและลดความดันเลือดลง กระตุ้นการขับถ่ายน้ำดีสู่ลำไส้เพื่อสลายไขมัน ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้และช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย


การทำข้าวฮางงอก (3819)

1. นำข้าวเปลือกมาแช่น้ำสะอาด เป็นเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง

2. นำเมล็ดข้าวเปลือกที่ดูดน้ำจนอิ่มตัวมาบ่มในกระสอบ เป็นเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง เพื่อให้ข้าวงอก

3. นำข้าวเปลือกไปนึ่ง ประมาณ 40 นาที

4. พักไว้ประมาณ 20 นาที ราดน้ำให้เย็นอีกครั้ง

5. นำข้าวเปลือกนึ่งผึ่งลมให้แห้งพอประมาณ

6. นำข้าวเปลือกนึ่งไปสี โดยระวังอย่าให้จมูกข้าวหลุด แล้วผึ่งลมให้แห้งสนิท

คุณค่าทางอาหารของข้าวสังข์หยด (3820)

   ข้าวสังข์หยด มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ คือ มีกากใยอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ จึงมีประโยชน์ในการชะลอความแก่ นอกจากนี้มีโปรตีน ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัสสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์ในการบำรุงโลหิต บำรุงร่างกายให้แข็งแรงและป้องกันโรคความจำเสื่อม และยังมีสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ พวก oryzanol และมี Gamma Amino Butyric Acid (GABA) ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง จึงนับได้ว่า ข้าวพันธุ์สังข์หยด เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณค่าทางอาหารสูง

   คุณลักษณะของข้าวสารสังข์หยด เมล็ดเล็ก เรียว ท้ายงอน เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีแดงถึงแดงเข้ม เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดข้าวจะนุ่ม และจับตัวกันคล้ายข้าวเหนียว วิธีการหุง ให้ซาวข้าวเบาๆ โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุดเพียงครั้งเดียว เพื่อไม่ให้สูญเสียคุณค่าของข้าว เติมน้ำให้ท่วมข้าว สูง 1 ข้อนิ้ว เมื่อข้าวสุกทิ้งไว้ให้ข้าวระอุ ประมาณ 5-10 นาที หากต้องการให้ข้าวแข็งหรือนุ่มสามารถเติมหรือเพิ่มน้ำได้ตามความชอบ

คุณค่าทางโภชนาการของ

ข้าวสังข์หยด ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
- พลังงาน 364.2 กิโลแคลอรี
- โปรตีน 73 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 73.1 กรัม
- เส้นใย 4.81 กรัม
- แคลเซียม 13 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 317 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 1 0.32 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.01 มิลลิกรัม ไนอะซิน 6.4 มิลลิกรัม