ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นขนุน ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lam.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Jackfruit
ชื่ออื่นๆ : ขะนู, นากอ, โนน/บักมี่, มะหนุน
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น เรือนยอดรูปไข่ ทรงพุ่มแน่นทึบ เปลือกเรียบสีน้ำตาล ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปกลมแกมรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสากมือ
ดอก : ออกเป็นช่อ เป็นดอกแบบแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ดอกเพศเมียออกตามกิ่งใหญ่และลำต้น
ผล : ทรงกลมหรือรี สีเขียวอมเหลืองขนาดใหญ่ มีหนามสั้นๆ เป็นตุ่มขรุขระ ภายในผลของขนุนจะมีซังขนุนหุ้มยวงสีเหลือง
เมล็ด : อยู่ในยวง กลมรี มีเนื้อหนา
การขยายพันธุ์ของต้นขนุน
เพาะเมล็ดและเสียบยอด
การดูแลต้นขนุน
ปลูกได้ในดินทุกประเภท ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน ทนแล้ง ทนดินเค็ม เจริญเติบโตช้า
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นขนุน
- แก่น บำรุงโลหิต สมานลำไส้ สมานแผล แก้กามโรค
- เนื้อหุ้มเมล็ด ช่วยบำรุงกำลัง ยาระบายอ่อนๆ
- เมล็ด ช่วยบำรุงร่างกาย แก้อาการปวดท้อง
- ผลสุก แก้อาการกระหายน้ำ ช่วยบำรุงกำลัง ยาระบายอ่อนๆ
- ใบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ระงับประสาท แก้โรคลมชัก แก้อาการท้องเสีย ขับพยาธิ แก้โรคผิวหนังต่างๆ รักษาแผลมีหนองเรื้อรัง
- ราก บำรุงโลหิต แก้อาการท้องเสีย แก้โรคผิวหนังต่างๆ
- ไส้ในขนุน แก้อาการตกเลือดในทวาร
- ยาง รักษาแผลมีหนองเรื้อนรัง ทาแผลบวมอักเสบ แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
ความเชื่อของต้นขนุน
นิยมปลูกไว้หลังบ้าน ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพราะเชื่อว่าจะทำให้มีคนช่วยเหลือสนับสนุนตลอดเวลา
ประโยชน์ของต้นขนุน
- ขนุนอ่อนนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานเป็นผัก
- เนื้อขนุนสุกนำมารับประทานเป็นผลไม้และทำเป็นขนมได้หลายชนิด แก้อาการเมาสุรา
- เมล็ดและยวง นำมารับประทานเป็นอาหาร
- เนื้อไม้ นำมาทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องดนตรี
- ส่าแห้ง ทำเป็นชุดจุดไฟ
- แก่น นำมาใช้ทำสีย้อมผ้า ให้สีน้ำตาลแก่
- เนื้อหุ้มเมล็ดสุก ใช้หมักทำเหล้า