ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกุ่มบก ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ข้อเสีย สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crateva adansonii DC.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Sacred barnar, Caper tree, Sacred garlic pear, Temple plant
ชื่ออื่นๆ : ผักก่าม, กุ่ม, ผักกุ่ม
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ แตกกิ่งก้านโปร่ง กิ่งก้านมักคดงอ เปลือกต้นหนาสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบหรือมีรอยแตกตามขวาง
ใบ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมมีติ่งสั้น โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนานุ่ม ผิวใบมัน แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน
ดอก : ออกเป็นช่อกระจุก ตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล : สด รูปทรงกลมหรือรูปไข่ ผิวมีจุดสีน้ำตาลอมแดง เปลือกแข็ง ผลอ่อนมีสีเขียว พอสุกมีสีน้ำตาลแดง
เมล็ด : รูปเกือกม้าหรือรูปไต ผิวเรียบ
การขยายพันธุ์ของต้นกุ่มบก
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ
การดูแลต้นกุ่มบก
ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด ขอบแดดจัด
ข้อเสียของต้นกุ่มบก
อย่าปลูกใกล้ตัวบ้านเรือนอาคารมาก เพราะกิ่งเขาเปราะ ฉีกขาดหักง่ายเวลาโดนลมแรงๆ
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกุ่มบก
- ใบ บำรุงหัวใจ ขับลม ใช้ทารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ช่วยขับเหงื่อ ขับพยาธิ บรรเทอาการปวดศรีษะ และโรคบิด
- แก่น ใช้รักษาริดสีดวงทวาร บำรุงเลือด แก้โรคนิ่ว
- ราก บำรุงธาตุ ใช้ขับหนอง
- ใบและเปลือก ราก ใช้ทำยาทาถูนวด
- เปลือกต้น ใช้เป็นยาระงับประสาทและยาบำรุง บำรุงหัวใจ แก้ไข้ตัวร้อน แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการสะอึก ขับลมในลำไส้ ช่วยในการย่อยอาหาร เป็นยาระบาย แก้อาการปวดท้อง รักษาโรคนิ่ว ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับน้ำเหลืองแก้อาการบวม แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดพิษของงู
- กระพี้ ช่วยทำให้ขี้หูแห้งออกมา
- ดอก แก้เจ็บตาเจ็บคอ
ความเชื่อของต้นกุ่มบก
เป็นไม้ประจำบ้านจะช่วยทำให้ครอบครัวมีฐานะมั่นคง เป็นกลุ่มเป็นก้อน นิยมปลูกไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน
ประโยชน์ของต้นกุ่มบก
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกอ่อน นำมาดอกกับน้ำเกลือ รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก