ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกระโดน ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ข้อเสีย สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Careya arborea Roxb.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Wild guava, Palana Oak
ชื่ออื่นๆ : กะนอล, ขุย, แซงจิแหน่, ปุย, ปุยกระโดน, ปุนขาว, ผ้าฮาด, พุย, เส่เจ๊อะบะ, หูกวาง
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เปลือกแตกเป็นลอน สีเทา แตกกิ่งก้านมาก
ใบ : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปไข่ ปลายมน โคนสอบเรียว ขอบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนา สีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีแดง เส้นกลางใบเป็นร่องตื้น
ดอก : ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกสีขาวอมเขียว
ผล : สดรูปไข่หรือกลม สีเขียว
เมล็ด : แบน สีน้ำตาลอ่อน ผิวเรียบ มีเยื่อหุ้ม
การขยายพันธุ์ของต้นกระโดน
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
การดูแลต้นกระโดน
ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแสงแดดจัด
ข้อเสียของต้นกระโดน
ต้นกระโดนเป็นไม้ผลัดใบและมีผลขนาดใหญ่ไม่ควรนำมาปลูกใกล้ลานจอดรถ
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกระโดน
- ใบ สมานแผล
- เปลือกต้น แก้พิษงู สมานแผล แก้เคล็ดขัดยอก แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้โรคกระเพาะ แก้น้ำกัดเท้า
- ดอก บำรุงร่างกาย แก้หวัด แก้ไอ บำรุงสตรีหลังคลอดบุตร
- ผล ช่วยย่อยอาหาร ปิดหัวฝี บำรุงสตรีหลังคลอดบุตร
- แก่น เป็นยาสำหรัยสตรีที่อยู่ไฟ
ประโยชน์ของต้นกระโดน
- ใบอ่อน ดอกอ่อน รับประทานได้เป็นผักสด ผักจิ้ม รสฝาดอมมัน ให้วิตามินเอ วิตามินบี 2 และวิตามินซีสูง
- ใบอ่อนเมื่อนำไปต้มแล้วนำไปใช้ห่อเกลือกินแบบเมี่ยงได้
- ปลูกประดับสวน ให้ร่มเงา
- เนื้อไม้ ใช้ทำโครงสร้างอาคารหรือเครื่องมือ และใช้เป็นหมอนรองรางรถไฟ
- เส้นใย ใช้ทำกระดาษสีน้ำตาล และทำเชือก
- เมล็ดและราก มีพิษใช้เบื่อปลา
- เปลือกต้น นำมาย้อมสีผ้าให้สีน้ำตาลแดง