ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกระเบา ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydnocarpus anthelminthicus Pierre ex Laness.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Chaulmoogra
ชื่ออื่นๆ : กระเบาน้ำ, กระเบาเบ้าแข็ง, แก้วกาหลง, กระตงดง, ดงกระเบา, หัวค่าง, กุลากาหลง, เบา
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง รูปทรงสูงโปร่ง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมสอบเรียว โคนใบสอบหรือมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบแข็งกรอบ ใบอ่อนเป็นสีชมพูแดง ใบแก่เป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเป็นมัน ส่วนท้องใบไม่เป็นมัน และมีสีอ่อนกว่า
ดอก : เป็นดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ดอกตัวผู้เป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ดอกสีชมพู มีกลิ่นหอม เรียกว่า “แก้วกาหลง” ดอกตัวเมียออกเป็นช่อตาซอกใบ
ผล : ทรงกลม ผิวเรียบเปลือกผลหนาแข็งเป็นสีน้ำตาล มีขนสั้นๆ คล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาลคลุมอยู่ ในเนื้อผลเป็นสีขาวอมเหลือง
เมล็ด : สีดำ รูปรี หรือ รูปไข่เบี้ยว ปลายมนทั้งสองข้าง
การขยายพันธุ์ของต้นกระเบา
เพาะเมล็ด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกระเบา
- น้ำมันในเมล็ด ใช้รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนัง และแก้อาการบวมตามข้อ
- ผล รักษามะเร็ง แก้โรคผิวหนังต่างๆ
- เมล็ด เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้โรคผิวหนังต่างๆ รักษาโรคผมร่วง
- รากและเนื้อไม้ แก้เสมหะเป็นพิษ ฆ่าพยาธิผิวหนัง รักษาบาดแผล
- ใบ แก้กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิบาดแผล
ประโยชน์ของต้นกระเบา
- ผลแก่สุก ใช้รับประทานเนื้อในเป็นอาหาร เนื้อนุ่ม มีรสหวาน คล้ายเผือกต้ม
- เนื้อไม้ ใช้ในงานก่อสร้าง ใช้ทำกระดานพื้นบ้าน
- เป็นไม้ประดับให้ร่มเงาได้ตลอดทั้งปี