ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกระถินเทพา ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธํุ์ วิธีการดูแล ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นกระถินเทพา : Acacia mangium Willd.
ชื่อภาษาอังกฤษของต้นกระถินเทพา : Brown salwood, Mangium
ชื่ออื่นๆ ของต้นกระถินเทพา : กระถินซาบาห์
ลักษณะลำต้นของต้นกระถินเทพา : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมแผ่กว้าง ค่อนข้างแน่น ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึก ตามแนวยาวและเปลือกที่กั้นสลับร่องลึกแตกเป็นกาบหนา มีรูปร่างไม่แน่นอน
ลักษณะใบของต้นกระถินเทพา : เป็นใบเดี่ยว ใบรูปหอก ปลายเรียวมนโคนใบสอบ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยง หนาและเหนียว สีเขียวหม่น ลายเส้นเป็นแนวยาว
ลักษณะดอกของต้นกระถินเทพา : ออกเป็นช่อรูปทรงกระบอกแบบหางกระรอกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สีขาวครีม มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี
ลักษณะผลของต้นกระถินเทพา : เป็นฝัก ฝักอ่อนจะมีสีเขียวและเหยียดตรง เมื่อฝักแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม-ดำ ฝักบิดงอไปมา ขยุ้มเป็นกลุ่มก้อนแน่น ผลแห้งแตกสองตะเข็บ
ลักษณะเมล็ดของต้นกระถินเทพา : กลมแบนสีน้ำตาลดำเป็นมัน ยึดติดกับฝักด้วยรกสีเหลืองสด
การขยายพันธุ์ของต้นกระถินเทพา
เพาะเมล็ด เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปักชำ และการตอนกิ่ง
การดูแลต้นกระถินเทพา
เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิดแม้ดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ เป็นไม้โตเร็ว ทนต่อสภาพดินที่มีความเป็นกรด ดินเค็ม ได้ดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแสงแดดจัด
ประโยชน์ของต้นกระถินเทพา
- เนื้อไม้ นำมาทำไม้แปรรูป ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำฟืน แปรรูปทำไม้อัด
- เยื่อไม้ นำไปผลิตเป็นกระดาษ
- ใบ ใช้เป็นอาหารสัตว์
- ดอกและเกสร เป็นแหล่งอาหารของผึ้งได้เป็นอย่างดี
- นิยมใช้ปลูกให้ร่มเงา เป็นแนวฉากกำบัง ให้ความสวยงามตามที่สาธารณะต่างๆ และถนนหนทาง
- ใช้ปลูกปกคลุมพื้นที่เพื่อปรับปรุงดิน ป้องกันการกัดชะล้างผิวหน้าดิน และใช้ปกคลุมวัชพืช