ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นพริกไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper nigrum L.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Pepper
ชื่ออื่นๆ : พริกขี้นก, พริกไทยดำ, พริกไทยขาว, พริกไทยล่อน, พริกน้อย
ลำต้น : เป็นไม้เลื้อย เปลือกลำต้นเมื่ออ่อนจะมีสีเขียว และเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ลำต้นมีข้อและปล้องมองเห็นได้ชัดเจน ต้นเพศผู้และต้นเพศเมียจะอยู่ต่างต้นกัน
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ลักษณะคล้ายใบพลู เนื้อใบแข็ง ผิวใบเรียบเป็นมัน ท้องใบจะเป็นสีเขียวออกเทา และมีเส้นใบนูน ส่วนหลังใบจะเป็นสีเขียวเข้ม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกขณะอ่อนจะมีสีเหลืองอมเขียว เมื่อแก่จะมีสีเขียวและปลายช่อดอกจะห้อยลงดิน
ผล : รูปทรงกลม เรียงบิดตัวกันอย่างหนาแน่นอยู่กับแกนของช่อ ผลอ่อนจะมีสีเขียวอ่อนและจะเข้มขึ้นตามอายุของผล ผิวของผลจะมีลักษณะเป็นมันเงาและเปลี่ยนเป็นสีเขียวปนเหลือง ผลแก่สุกเต็มที่จะมีสีส้มหรือสีฃแดง เมื่อผลแห้งจะเป็นสีดำ
เมล็ด : แข็ง รูปร่างค่อนข้างกลม มีสีขาวนวล มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัวและมีรสเผ็ด
การขยายพันธุ์ของต้นพริกไทย
เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง
การดูแลต้นพริกไทย
ปลูกได้ในดินทั่วไปที่มีการระบายน้ำดี ชอบน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำขัง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นพริกไทย
- ใบ แก้ลม จุกเสียด แน่น แก้ปวดมวนท้อง
- เถา แก้เสมหะในทรวงอก แก้อาการลงแดง รักษาอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง
- ดอก แก้ตาแดง เนื่องจากความดันโลหิตสูง ช่วยระงับอาเจียน ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
- ผลหรือเมล็ด แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้ลมลั่นในท้อง บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย
- ราก ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร
ประโยชน์ของต้นพริกไทย
ผล ใช้ปรุงรสได้ทั้งอ่อนและแก่