ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นเนียม ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร และประโยชน์ของต้นเนียมหอม
ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นเนียม
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strobilanthes nivea Bremek
- ชื่ออื่นๆ : อ้มหอม, อ้มเนียม, เนียมอ้ม, เนียมข้าวเม่า
- ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมถึงค่อนข้างกลมและเป็นข้อปล้อง
- ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับ มีขนสากทั่วไป ปลายใบหยักขอดเป็นติ่งสั้นหรือเว้าแหว่งเป็นริ้ว ใบหนา ก้านใบยาว ใบมีกลิ่นคล้ายใบเตย
- ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกสีม่วงอ่อนหรือสีขาว
- ผล : ผลกลมหรือลักษณะเหมือนรูปไข่กลับ ผิวของผลมีขน เมื่อแก่สีเหลือง
การขยายพันธุ์ของต้นเนียม
โดยการปักชำ
การดูแลต้นเนียม
ปลูกได้ในดินร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดรำไร ชอบความชื้นแต่ไม่แฉะ
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเนียม
- ใบสด แก้หวัด แก้ไข้ แก้ไอ บรรเทาอาการหอบหืด ขับลมในลำไส้
- ใบแห้ง ปรุงเป็นยานัตถุ์
- ราก ขับเหงื่อ พอกหัวฝีหรือสิว
- ดอก ดื่มแก้ไอ
ประโยชน์ของต้นเนียม
นิยมนำมาใช้ปรุงเป็นเครื่องหอม ประทินโฉม ประเภทน้ำอบ น้ำปรุง แป้งร่ำ ฯลฯ ต้นเนียมเวลาที่รดน้ำ หรือน้ำฝนมากระทบใบ หรือเวลาปลูกเยอะๆ แล้วใบกระทบกัน จะส่งกลิ่นหอมออกมา ดังนั้นถ้าเอาไปตกแต่งบริเวณน้ำตกเทียม หรือตามสวน จะให้ทั้งความสวยงามและความหอมสดชื่น จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับบ้านพัก หรือรีสอร์ทที่ต้องการให้มีความหอมเป็นเอกลักษณ์ดึงดูดผู้เข้าพัก