ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นเชียงดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnema inodorum (Lour.) Decne.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Gymnema
ชื่ออื่นๆ : เชียงดา, เจียงดา, ผักเจียงดา, ผักเซียงดา, ผักกูด, ผักจินดา, ผักเซ่งดา, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักว้น, ผักฮ่อนไก่, ผักอีฮ่วน, เครือจันปา
ลำต้น : เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นเป็นสีเขียว ทุกส่วนที่อยู่เหนือดินมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปกลมรีปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีอ่อนกว่า ผิวใบเรียบไม่มีขน ก้านใบยาว
ดอก : ออกเป็นช่อแน่นกระจุกจากซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กกลม สีขาวอมเขียวอ่อน
ผล : ออกเป็นฝักคู่ รูปร่างคล้ายหอก เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลคล้ำ
เมล็ด : มีขนาดเล็ก และมีขนสำหรับช่วยกระจายพันธุ์
การขยายพันธุ์ของต้นเชียงดา
เพาะเมล็ด และปักชำ
การดูแลต้นเชียงดา
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดรำไรทนแล้ง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเชียงดา
- ราก ควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด
- ใบ ช่วยควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน รักษาไข้หวัด แก้ไอ รักษาอาการท้องผูก พอกฝี เริม งูสวัด
- ต้น แก้หูชั้นกลางอักเสบ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปอดอักเสบ แก้โรคบิด แก้ริดสีดวงทวาร เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ
- ผล แก้ไอ ขับเสมหะ
- หัว แก้พิษอักเสบ แก้เริม
ประโยชน์ของต้นเชียงดา
ใบอ่อน ยอดและดอกของผักเชียงดามาลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือทำอาหาร