ค้นหาสินค้า

อินทนิล

จำหน่ายต้นอินทนิล กล้าและกิ่งพันธุ์อินทนิล สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ต้นอินทนิล

ต้นอินทนิล
ต้นอินทนิล บ้านนา นครนายก

ราคา 600.00 บาท /ต้น

ต้นอินทนิล
ต้นอินทนิล องครักษ์ นครนายก

ราคา 35.00 บาท /ต้น

ต้นอินทนิลน้ำ
ต้นอินทนิลน้ำ บางกรวย นนทบุรี

ราคา 85.00 บาท /ต้น

ต้นอินทนิล
ต้นอินทนิล สามโคก ปทุมธานี

ราคา 600.00 บาท /ต้น

ต้นอินทนิลน้ำ หน้า 2 สูง 3.5 เมตร
ต้นอินทนิลน้ำ หน้า 2 สูง 3.5 เมตร ปทุมธานี

ราคา 1,600.00 บาท /ต้น

ต้นอินทนิล หน้า6" สูง 5-6 ม.
ต้นอินทนิล หน้า6" สูง 5-6 ม. แก่งคอย สระบุรี

ราคา 3,000.00 บาท /ต้น

อินทนิล 3 นิ้ว
อินทนิล 3 นิ้ว เมืองนครนายก นครนายก

ราคา 350.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นอินทนิล

นครนายก (3 ร้าน)

นนทบุรี (1 ร้าน)

ปทุมธานี (2 ร้าน)

สระบุรี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นอินทนิล ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์อินทนิล

ขายเมล็ดอินทนิลม่วง
ขายเมล็ดอินทนิลม่วง เมืองระยอง ระยอง

ราคา 50.00 บาท /ชอง

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์อินทนิล

ระยอง (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์อินทนิล ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าอินทนิล

อินทนิล
อินทนิล กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 40.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นกล้าอินทนิล

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าอินทนิล ทั้งหมดในเว็บ

ความเชื่อเกี่ยวกับต้นอินทนิลไม้มงคล

คนโบราณเชื่อว่าหากปลูกเอาไว้ในบริเวณบ้าน จะนำพาเอาความเป็นสิริมงคลให้กับทุกคนในครอบครัว ชีวิตก้าวหน้า ไม่ตกต่ำ ยิ่งใครทำธุรกิจ ค้าขายจะมีกิจการรุ่งเรือง เงินทองไหลเข้ากระเป๋าแบบไม่ขาดมือ และช่วยคุ้มครองศัตรูหรือภัยอันตรายทั้งปวง ทิศที่นิยมปลูกคือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ถ้าคนปลูกเป็นคนเกิดวันเสาร์ หรือปลูกโดยผู้ใหญ่ที่ได้รับความเคารพยำเกรงจากคนอื่นก็จะช่วยเสริมความเป็นมงคลให้มากขึ้นไปอีก

อินทนิล

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของอินทนิลน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ของอินทนิลน้ำ : Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.

ชื่อภาษาอังกฤษของอินทนิลน้ำ : Pride of India, Queen’s crape myrtle, Queen's Flower

ชื่ออื่นๆ : อินทนิล ตะแบกดำ (กรุงเทพมหานคร) บางอบะซา (นราธิวาส)

ลำต้นของอินทนิลน้ำ : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เรือนยอดกลมแผ่กว้างคลุมต่ำ เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ ไม่แตกเป็นร่องหรือเป็นรอยแผลเป็น มีรอยด่างเป็นดวงสีขาว เปลือกในสีส้ม หรือน้ำตาลอ่อน ตอนต้นเล็กคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะเปลาตรง โคนต้นไม่ค่อยพบพูพอน

ใบของอินทนิลน้ำ : เป็นใบเดี่ยว รูปรี หรือรูปขอบขนาน โคนใบมนหรือกลม ขอบใบเรียบห่อยกขึ้น ปลายใบแหลมเป็นติ่ง แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว สีเขียวสด เรียบเป็นมัน ใบอ่อนสีเขียวอมน้ำตาล มีขนละเอียดรูปดาว

ดอกของอินทนิลน้ำ : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกชูตั้งขึ้นเหนือเรือนยอด ดอกสีม่วงสด ม่วงปนชมพู หรือขาว กลีบดอกบางยับย่น ส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง

ผลของอินทนิลน้ำ : แห้งแก่แล้วแตกกลางพู รูปไข่ เปลือกแข็ง ผิวเกลี้ยง มีกลีบเลี้ยงติดตรงจุกผล เมื่อสุกสีน้ำตาล

เมล็ดของอินทนิลน้ำ : สีน้ำตาลอมเหลือง แบน มีปีกเป็นครีบบางๆ ทางด้านบน

อินทนิล

การขยายพันธุ์ของต้นอินทนิลน้ำ

โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นอินทนิลน้ำ

- แก่น: แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ

- เปลือก: แก้ไข แก้ท้องเสีย

- ใบ: ต้มหรือชงแก้เบาหวาน ขับปัสสาวะ

- เมล็ด: แก้เบาหวาน นอนไม่หลับ

- ราก แก้แผลในปากและคอ

ประโยชน์ของต้นอินทนิลน้ำ

- ใบ ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสด

- เนื้อไม้ นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและเครื่องมือการเกษตรต่าง ๆ

- ปลูกประดับอาคารสถานที่ สวนสาธารณะ และทางเดินริมถนน


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นอินทนิลบก ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์

ดอกของต้นอินทนิลบก : ออกเป็นช่อยาวที่ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งขึ้น ไม่เหนือเรือนยอด ดอกตูมเป็นรูปลูกข่าง ส่วนบนมีรอยปุ๋มตามยาว ดอกสีม่วงอมชมพูและจะจางซีดลงเป็นสีขาวอมชมพูกลีบดอกบางและย่น เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะทิ้งใบหมดเหลือเพียงดอกอย่างเดียว

ผลของต้นอินทนิลบก : เป็นผลแห้งรูปไข่หรือรูปรี เปลือกแข็ง เกลี้ยง ผลแก่จะแตก

เมล็ดของต้นอินทนิลบก : มีขนาดเล็ก สีน้ำตาล สีปีกบางโค้งทางด้านบนหนึ่งปีก

ใบของต้นอินทนิลบก : เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือแหลมเล็กน้อย โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน แผ่นใบสีเขียวสดเป็นมัน ก้านใบยาว

ลำต้นของต้นอินทนิลบก : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกระบอก ไม่แผ่เป็นพุ่มกว้าง ปลายกิ่งชูขึ้น เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา ลำต้นเป็นปุ่มปม แตกเป็นร่องตื้นๆ หลุดร่อนเป็นสะเก็ดเล็กๆ โคนต้นเป็นพูพอน

ชื่ออื่นๆ : กากะเลา (อุบลราชธานี), กาเสลา กาเสา (ตะวันออกเฉียงเหนือ), จ้อล่อ จะล่อ จะล่อหูกวาง (ภาคเหนือ)

ชื่อภาษาอังกฤษของต้นอินทนิลบก : Intanin bok

ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นอินทนิลบก : Lagerstroemia macrocarpa Wall. ex Kurz

อินทนิล

การขยายพันธุ์ของต้นอินทนิลบก

โดยการเพาะเมล็ด และกิ่งตอน

การดูแลต้นอินทนิลบก

ปลูกได้ในดินทั่วไป ต้องการน้ำปานกลางถึงสูง ชอบแดดเต็มวัน ทนแล้งได้ดี

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นอินทนิลบก

- แก่น รสขม ต้มดื่มแกโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคเบาหวาน

- เปลือก รสฝาดขม แก้ไข้ แก้ท้องเสีย

- ใบ รสจืดขมฝาดเย็น ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะเป็นยาลดความดัน

- เมล็ด รสขม แก้โรคเบาหวาน แก้นอนไม่หลับ

- ราก รสขม แก้แผลในปาก ในคอ เป็นยาสมานท้อง

ประโยชน์ของต้นอินทนิลบก

- ปลูกเป็นไม้ประดับสวน หรือริมถนน ให้ร่มเงา

- เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้าง ทำเสา กระดานพื้น เครื่องเรือน และเครื่องมือทางการเกษตร

- ใบ เป็นพืชอาหารของหนอนผีเสื้อกลางคืน


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของสร้อยอินทนิล (3465)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Thunbergia grandiflora (Roxb. ex Rottler) Roxb.
ชื่อวงศ์:    Acanthaceae
ชื่อสามัญ:    Clock vine, Bengal clock vine, Blue trumpet vine, Blue skyflower, Skyflower,Heavenly blue
ชื่อพื้นเมือง:    ช่ออินทนิล ช่องหูปากกา น้ำผึ้ง ปากกา ย่ำแย้
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    ไม้เถาเลื้อย เนื้อเเข็ง อายุหลายปี ใช้ยอดเลื้อยพันได้ไกล 15-20 เมตร
    ใบ    ใบเดี่ยว   เรียงตรงข้าม รูปหัวใจหรือเว้าตื้น 5-7 แฉก กว้าง 8-10 ซม.  ยาว 10-12 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบหยักฟันเลื่อย ผิวใบสาก
    ดอก    สีฟ้าอมม่วง  ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบ ช่อดอกห้อยลงยาว 0.8-1 เมตร ใบ-ประดับสีเขียวและมีสีแดงเรื่อ ดอกรูปแตร โคนกลีบเป็นหลอดสั้นสีเหลืองปลายแยก 5 แฉก รูปกลม โคนกลีบล่างอันกลางมีแต้มสีม่วงเข้ม ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-8 ซม.
    ฝัก/ผล    ผลแห้งแตก ทรงกลมปลายสอบแหลมเป็นจะงอย   
ฤดูกาลออกดอก:    ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์:    ปักกิ่ง ตอนกิ่ง  ทับเถาและหน่อ
การใช้ประโยชน์:    ปลูกในซุ้มโปร่งจะมองเห็นดอกห้อยลงมา ปลูกริมทะเลได้
ถิ่นกำเนิด:    ในอินเดียตอนเหนือ พม่า และไทย
แหล่งที่พบ:    ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของอินทนิลบก (3805)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Lagerstroemia macrocarpa
ชื่อวงศ์:  LYTHRACEAE
ชื่อสามัญ:  Inthanin bok
ชื่อพื้นเมือง:  กาเสลา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ),กากะเลา (อุบลราชธานี),จ้อ,ล่อ,จะล่อ,จะล่อหูกวาง (ภาคเหนือ),ปะหน่าฮอ,ซี,มุง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้ต้น ผลัดใบสูงประมาณ 5 – 12 เมตร เป็นไม้ทรงพุ่ม เปลือก ต้นสีน้ำตาล ผิวเปลือกต้นแตกเป็นร่องตื้นให้ใบดก เป็นไม้ที่ให้ร่มเงา
    ใบ  เป็น ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ ออกตรงข้ามกัน ขอบใบเรียบ ปลายแหลม โคนมน ผิวใบมัน และหนา สีเขียวเข้ม กว้าง 10 – 15 ซม. ยาว 20 – 27 ซม.
    ดอก  ออกดอกเป็น ช่อที่ปลายกิ่ง ดอกตูมเป็นก้อนกลมขนาด 1 ซ.ม. มีหลายสี เช่น ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน ชมพูอมม่วง ชมพูอ่อนเกือบขาว มีกลีบดอก 6 กลีบ รูปทรงดอกค่อนข้างกลม ขอบกลีบหยักย่น แผ่นกลีบบางและนิ่ม โคนกลีบเรียว เป็นก้าน เชื่อมกับกลีบรองที่เป็นรูปถ้วย กลีบรองปลายแฉก 6 แฉก สีน้ำตาลแดง เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 10 ซม.
    ฝัก/ผล  เป็นรูปกลม รี เปลือกแข็ง เมื่อผลแก่จะแตกออก มีเมล็ดด้านในจำนวนมาก
    เมล็ด  ใน 1 ผล มีประมาณ 6 เมล็ด เมล็ด ขนาดเล็กสีน้ำตาล มีปีกบางโค้งทางด้านบนหนึ่งปีก
ฤดูกาลออกดอก:  มีนาคม – พฤษภาคม
การปลูก:  เป็นไม้ประดับสวน หรือปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาตามริมถนน
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดจัด ดินร่วนซุย
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  เนื้อไม้ นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โดยมากใช้ทำกระดานพื้น ฝา กระเบื้อง มุงหลังคา ใช้ต่อเรือใบ เรือแจว เรือเดินทะเล ทำเกวียน เครื่องตบแต่งบ้าน ทำแจว พาย เปียโน หีบใส่ของ ถังไม้ กังหันน้ำ เครื่องมือการเกษตรต่าง ๆ เช่น ทำไถ ไม้นวดข้าว ครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ซี่ล้อ ทำไม้คาน ไม้กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำ ทำหีบศพอย่างดี
ถิ่นกำเนิด:  อินเดีย และประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
แหล่งที่พบ:  ขึ้นตามป่าผลัดใบ และป่าเบญจพรรณทั่วไป
สรรพคุณทางยา: 
•    เปลือก รสฝาดขม แก้ไข้ แก้ท้องเสีย
•    ใบ รสจืดขมฝาดเย็น ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ เป็นยาลดความดัน
•    เมล็ด รสขม แก้โรคเบาหวาน แก้นอนไม่หลับ
•    แก่น รสขม ต้มดื่มแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคเบาหวาน
•    ราก รสขม แก้แผลในปาก ในคอ เป็นยาสมานท้อง