ลักษณะพฤกษศาสตร์หิรัญญิการ์ (3473)
ชื่อวงศ์: Apocynaceae
ชื่อสามัญ: Nepal Trumpet, Easter Lily Vine
ชื่อพื้นเมือง:
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นไม้เถาใหญ่เนื้อแข็ง ทุกส่วนของลำต้นหรือเถาจะมียางสีขาว ส่วนยอดหรือส่วนอื่นๆ ที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนสีน้ำตาลอมแดงขึ้นปกคลุม หิรัญญิการ์มักเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่นและสามารถเลื้อยไปได้ไกลประมาณ 15 ซม. แตกกิ่งก้านสาขาแผ่เป็นพุ่มแน่นเฉพาะส่วนยอดหรือ บริเวณที่ได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่
ใบ เป็น ไม้ใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้นลักษณะใบหยาบยาวหนา รูปใบมี ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ขอบใบเรียบ เกลี้ยง ไม่มีจัก ใบด้านบนเป็นมัน
ดอก มีขนาดใหญ่ สีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่งดอกมีลักษณะคล้ายถ้วย ตอนปลายของดอกจะบานกว้างมี 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ติดอยู่กับเนื้อบริเวณ โคนกลีบ มีลักษณะเป็นเส้นยาว แยกออกจากกัน คือจะมีเกสรติดอยู่กลีบละ 1 อัน หนึ่งดอกมีเกสร ตัวผู้อยู่ 5 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็กซ่อนอยู่ข้างในดอก ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกตั้ง แต่ 6-15 ดอก ดอกจะผลัดกันบานครั้งละประมาณ 4 ดอก
ฝัก/ผล ออกเป็นฝักคู่ยาว เมื่อแก่จะแตกออก
เมล็ด เม็ดภายในจะมีภู่ยาว เมื่อผลแก่จะแตกออก ลมจะพัดเอาเมล็ดไปตกตามที่ต่างๆเพื่อขยายพันธุ์
ฤดูกาลออกดอก: ออกดอกตลอดปี โดยเฉพาะ เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอก
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับรั้วประดับซุ้ม
ถิ่นกำเนิด: อยู่ในประเทศเนปาล
แหล่งที่พบ: ตามชายป่าดงดิบหรือในป่าเบญจพรรณเกือบทุกภาคทั่วประเทศไทย