ค้นหาสินค้า

หัวดาหลา

ขายหัวดาหลา ราคาถูก แหล่งรวม หัวดาหลา ขายปลีก ขายส่ง หาซื้อได้ที่ NanaGarden.com

หัวดาหลา

ดาหลาชมพูอ่อน ขายหน่อพันธุ์
ดาหลาชมพูอ่อน ขายหน่อพันธุ์ เมืองระยอง ระยอง

ราคา 80.00 บาท /1หน่อ

ดาหลา มีหัวขายนะคะ
ดาหลา มีหัวขายนะคะ กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 120.00 บาท

จังหวัดที่ขายหัวดาหลา

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ระยอง (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด หัวดาหลา ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะทางพฤกษศาตร์ของดาหลา (3571)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith
ชื่อวงศ์:  Zingiberales
ชื่อสามัญ:  Torch  Ginger
ชื่อพื้นเมือง:  กาหลา, กะลา
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้านี้จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม
    ใบ  มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ
    ดอก  ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับ ขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ ขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบ ประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจริงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอกจะ พัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ
ฤดูกาลออกดอก:  ออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม
การดูแลรักษา:  เจริญเติบโตได้ดีในที่มีแสงแดดรำไรหรือที่ร่มไม้ยืนต้น ถ้าหากโดนแดดจัดเกินไปสีของกลีบประดับจะจางลง และทำให้ใบไหม้  สามารถปลูกได้ทุกฤดู ฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดคือ ฤดูฝน
การขยายพันธุ์:  แยกหน่อ แยกเง้า ปักชำหน่อแก่
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    บริโภค
    -    ไม้ตัดดอก
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ดอก
การปรุงอาหาร:  นำกลีบดอกไปยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดก็ได้  หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมในข้าวยำ หรือปรุงแบบยำ ใส่เนื้อหมูนึ่งสุกหั่นบางๆ และใส่แตงกวาจะช่วยให้มีรสหวาน
สรรพคุณทางยา:  ดอกดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ


ตำนานที่เกี่ยวข้องกับดอกดาหลา (3572)

  ว่ากันว่ากันว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรักต่างศาสนา เล่ากันว่าเป็นตำนานของคู่รักต่างศาสนา ระหว่างชายไทยกับสาวงาม มาเลเซีย (อิสลาม)ทั้งสองพบกัน ตอนที่หนุ่มไทยข้ามไปทำงานยัง ประเทศมาเลเซีย และเกิดความรักกับสาวมาเลเซีย แต่ด้วยความที่ต่างกัน ทางศาสนา พ่อแม่จึงมิให้คบหากัน ถึงแม้จะถูกกีดกันระหว่างพ่อแม่แต่นางก็มั่นในรักต่อชายไทย นางมิยอมเป็นของชายใดนอกจากชายที่นางรัก แต่แล้วมีเหตุให้ต้องพลัดพรากแยกจากกัน เมื่อชายไทยนั้นมีเหตุต้องกลับมายังประเทศของตน ก่อนจะจากกันก็สัญญากันไว้ว่าจะกลับมาหาสาวมาเลเซียที่บริเวณชายแดน
    เพราะคำมั่นสัญญา นางก็รอแม้ระยะเวลาจะนานแค่ใหนนางก็ยังรอชายคนรักที่ชายแดนมาเลเซีย รอการกลับมาของเขารอด้วยความหวังลิบหรี่ ก่อนที่นางจะตรอมใจตายนางก็ยังมารอเขาที่ชายแดนมาเลเซีย ระหว่างที่รอคอย เธอก็อธิฐานว่าหากเกิดอีกชาติให้เกิดมาเป็นดอกดาหลาที่ขึ้นอยู่ตามชายแดน มาเลเซีย เพื่อรอหนุ่มคนรักกลับมา


สูตรเครื่องดื่มจากดอกดาหลา (3573)

ส่วนประกอบ
     -  ดอกดาหลาสีชมพู
     -  น้ำเชื่อม ? ถ้วย
     -  น้ำเปล่า 3 ถ้วย

วิธีเตรียม
    ปั่นดอกดาหลาด้วยเครื่องปั่น คั้นน้ำออกมาจะได้ประมาณ ? ถ้วย เติมน้ำเปล่า 1 ถ้วย ยกขึ้นตั้งไฟ พอเดือดใส่น้ำเชื่อมคนพอเข้ากัน ผสมน้ำเปล่า ที่เหลือตั้งไว้ให้เย็น กรอกใส่ขวดเก็บไว้ในตู้เย็นได้หลายวัน


วิธีการขยายพันธุ์ดอกดาหลา (3574)

1. การแยกหน่อ
ควรแยกหน่อที่มีความเหมาะสมนำไปปลูกคือ สูงประมาณ 60-100 ซ.ม. ขึ้นไปและมีกิ่งอ่อนกึ่งแก่นประมาณ 4-5 ใบ ใช้มีตัดให้มีเหง้า และรากติดอยู่ด้วย ซึ่งหน่อชนิดนี้จะมีหน่อดอกอ่อน ๆ ติดมาด้วยประมาณ 3 หน่อ นำไปชำในถึงพลาสติก 1 เดือนเพื่อให้หน่อแข็งแรงก่อนปลูก

2. การแยกเหง้า
โดยการแยกเหง้าที่เกิดใหม่ที่โคนต้น แล้วนำไปชำในแปลงเพาะชำ วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะเริ่มให้ดอก

3. การปักชำหน่อแก่
โดยนำไปชำในแปลงเพาะชำให้แตกหน่อใหม่แข็งแรง แล้วจึงค่อยย้ายมาปลูกลงแปลง