ค้นหาสินค้า

สิบสองปันนา

ขายต้นสิบสองปันนาราคาถูก ประดับบ้าน ต้นไม้ทำรั้ว และบังแดดให้ร่มเงา สิบสองปันนาต้นเล็กต้นใหญ่ ปลูกในกระถาง วิธีดูแล

ต้นสิบสองปันนา

ปาล์มสิบสองปันนา
ปาล์มสิบสองปันนา องครักษ์ นครนายก

ราคา 2,500.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นสิบสองปันนา

นครนายก (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นสิบสองปันนา ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นสิบสองปันนา ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phoenix roebelenii

ชื่อภาษาอังกฤษ : dwarf date palm, Pigmy Date

ชื่ออื่นๆ : เป้งดอย

ลำต้น : เป็นปาล์มลำต้นเดี่ยว ส่วนยอดของลำต้นมีกาบใบแตกออกมา มีขนาดลำต้นเล็ก ลำต้นแข็ง ทรงกระบอก โคนต้นมีรากค้ำจุนจำนวนมาก

ใบ : เป็นรูปขนนกแผ่โค้งออกรอบต้น ปลายแหลมแข็ง โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียว ใต้ใบสีเทาอมเขียว มีนวล บริเวณเส้นใบมีหนามแหลม

ดอก : ออกเป็นช่อ ออกระหว่างกาบใบ ช่อดอกตั้งตรง ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ช่อดอกเพศผู้มีกาบรูปเรือรองรับ ช่อดอกเพศเมียแผ่กว้างคล้ายไม้กวาด

ผล : รูปรี ผลสีเขียว เมื่อสุกแล้วมีสีม่วงดำ แบบเมล็ดเดียว คล้ายอินทผลัมขนาดเล็ก เนื้อในบาง

สิบสองปันนา

การขยายพันธุ์ของต้นสิบสองปันนา

เพาะเมล็ด

การดูแลต้นสิบสองปันนา

ปลูกได้ในดินร่วนซุย ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน เจริญเติบโตช้า

ประโยชน์ของต้นสิบสองปันนา

- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

- ดูดสารพิษในอากาศภายในอาคารได้ดีเยี่ยมโดยเฉพาะสารไซรีน


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มสิบสองปันนา (3715)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Phoenix roebelenii O Brain ex C. Robelen
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปาล์มในสกุลอินทผลัม  ต้นเดี่ยว ไม่มีหน่อ ลูกผสม  สูงประมาณ 2 เมตร  ตอนยอดมีกาบ
    ใบ  ติดคลุมลำต้น ใบรูปขนนก ทางใบโค้งลง  ตอนโคนใบเป็นหนามแหลม  สีเขียวอ่อนใบสีเขียวแก่ เป็นมัน ใต้ใบสีเขียวอ่อนปนเทาคล้ายมีผงแป้งคลุมอยู่
    ดอก  ดอกไม่สมบูรณ์เพศ แยกเพศอยู่คนละต้น ช่อดอกต้นเพศเมียออกระหว่างโคนทางใบ ช่อดอกยาวประมาณ 1 เมตร ปลายช่อแตกแขนงคล้ายไม้กวาด  ส่วนดอกต้นเพศผู้มีช่อดอกสั้น  ดอกเล็กๆ   สีเหลืองอ่อน ต่อไปก็ร่วงหล่นไปหมด
    ฝัก/ผล  กลมรี  เล็กๆ  ขนาดเมล็ดถั่วแดง  ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สุกสีม่วงดำ
    เมล็ด  กลมรี มีร่องตรงกลาง เมล็ดคล้ายเมล็ดกาแฟ มีสีแดงปนดำผลอ่อนหรือเมล็ดอ่อนมีสีขาว ขนาดยาว 1.2 เซนติเมตร
การดูแลรักษา:  ชอบแดดตลอดวัน  ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด  และแยกหน่อ
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  แถบอินโดจีนและทางภาคเหนือของไทย
แหล่งที่พบ:  ตามป่าดิบชั้นและเป็นพันธุ์ไม้ที่มาจากพม่าและอินเดีย


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของสิบสองปันนา (3745)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Phoenix roebelenii
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Dwarf  date  palm
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปาล์มในตระกูลอินทผาลัม  เชื่อกันว่าสิบสองปันนาต้นเดิมที่เป็นปาล์มนั้น  เป็นต้นอินทผาลัมที่ไม่มีหน่อ  สิบสองปันนาเป็นปาล์มที่มีลำต้นเดี่ยวโดดๆ  สูงประมาณ 1.8 เมตร
    ใบ  ใบเป็นใบแบบขนนก  ทางใบยาว 1 ฟุต  ถึง 1.5 ฟุต โค้งงอลงด้านล่าง  ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน  ส่วนใต้ใบจะมีสีเขียวอ่อนปนเทาคล้ายกันแป้งเคลื่อนที่อยู่
    ดอก  ช่อดอกต้นเพศเมียออกระหว่างโคนทางใบ ช่อดอกยาวประมาณ 1 เมตร ปลายช่อแตกแขนงคล้ายไม้กวาด  ส่วนดอกต้นเพศผู้มีช่อดอกสั้น  ดอกเล็กๆ   สีเหลืองอ่อน ต่อไปก็ร่วงหล่นไปหมด
    ฝัก/ผล  กลมรี  เล็กๆ  ขนาดเมล็ดถั่วแดง  ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สุกสีม่วงดำ
    เมล็ด  กลมรี มีร่องตรงกลาง เมล็ดคล้ายเมล็ดกาแฟ
การปลูก:  ปลูกเป็นไม้กระถางก็ได้ ปลูกลงสนามก็จัดเป็นกลุ่มหรือเป็นแถวเดี่ยว
การดูแลรักษา:  ต้องการแสงแดดตลอดวัน ชอบดินร่วนที่มีการระบายน้ำได้ดี
การขยายพันธุ์:  การเพาะเมล็ด  และแยกหน่อ
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  แถบอินโดจีนและทางภาคเหนือของไทย


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของสิบสองปันนา (3750)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Phoenix roebelenii
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Dwarf  date  palm
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปาล์มในตระกูลอินทผาลัม  เชื่อกันว่าสิบสองปันนาต้นเดิมที่เป็นปาล์มนั้น  เป็นต้นอินทผาลัมที่ไม่มีหน่อ  สิบสองปันนาเป็นปาล์มที่มีลำต้นเดี่ยวโดดๆ  สูงประมาณ 1.8 เมตร
    ใบ  ใบเป็นใบแบบขนนก  ทางใบยาว 1 ฟุต  ถึง 1.5 ฟุต โค้งงอลงด้านล่าง  ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน  ส่วนใต้ใบจะมีสีเขียวอ่อนปนเทาคล้ายกันแป้งเคลื่อนที่อยู่
    ดอก  ช่อดอกต้นเพศเมียออกระหว่างโคนทางใบ ช่อดอกยาวประมาณ 1 เมตร ปลายช่อแตกแขนงคล้ายไม้กวาด  ส่วนดอกต้นเพศผู้มีช่อดอกสั้น  ดอกเล็กๆ   สีเหลืองอ่อน ต่อไปก็ร่วงหล่นไปหมด
    ฝัก/ผล  กลมรี  เล็กๆ  ขนาดเมล็ดถั่วแดง  ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สุกสีม่วงดำ
    เมล็ด  กลมรี มีร่องตรงกลาง เมล็ดคล้ายเมล็ดกาแฟ
การปลูก:  ปลูกเป็นไม้กระถางก็ได้ ปลูกลงสนามก็จัดเป็นกลุ่มหรือเป็นแถวเดี่ยว
การดูแลรักษา:  ต้องการแสงแดดตลอดวัน ชอบดินร่วนที่มีการระบายน้ำได้ดี
การขยายพันธุ์:  การเพาะเมล็ด  และแยกหน่อ
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  แถบอินโดจีนและทางภาคเหนือของไทย