ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นลำแพน ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sonneratia ovata Backer
ชื่อภาษาอังกฤษ : Mangrove apple
ชื่ออื่นๆ : ลำแพนทะเล, บูแม
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีเนื้อไม้ ผิวสีน้ำตาลปนเทา กิ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยม เปราะ ทรงพุ่มระย้า มีรากพิเศษ เป็นรากหายใจคล้ายรูปทรงกระบอก ผิวขรุขระ
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กว้างหรือรูปเกือบกลม ปลายกลม โคนกลม ขอบเรียบ ใบหนาคล้ายแผ่นหนังเกลี้ยงเป็นมัน ใบอ่อนมีสีเขียวอมแดง ใบแก่แผ่นใบสีเขียว ก้านใบสีแดง
ดอก : เป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกอ่อนตูมคล้ายดอกบัว ดอกสีขาว ออกดอกตลอดปี
ผล : ผลสดมีเนื้อ ทรงกลมแบน ผิวมันวาว ฐานรูปถ้วย หุ้มผลประมาณหนึ่งในสามส่วน ปลายกลีบเลี้ยงพับงอกลับ ผลอ่อนสีเขียว พอแก่เต็มที่สีเขียวอมเหลือง ผลรสเปรั้ยว ออกผลตลอดปี
เมล็ด : รูปเกือกม้า
การขยายพันธุ์ของต้นลำแพน
เพาะเมล็ด ปักชำ
การดูแลต้นลำแพน
ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำมาก ชอบแดดมาก
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นลำแพน
ผล แก้ปวด บวม เคล็ดขัดยอก ขับพยาธิ ขับเสมหะ แก้ท้องผูก ห้ามเลือด
ประโยชน์ของต้นลำแพน
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
- ผลดิบและผลสุก รับประทานได้