ค้นหาสินค้า

รองเท้า

ขายรองเท้าราคาถูก มีให้เลือกหลายร้าน

รองเท้า

รองเท้าแฟชั่น
รองเท้าแฟชั่น กาญจนบุรี

ราคา 1.00 บาท

รองเท้าปีนต้นไม้ ขาเหล็กปีนต้นไม้ สเปอร์ Steel Tre
รองเท้าปีนต้นไม้ ขาเหล็กปีนต้นไม้ สเปอร์ Steel Tre ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

ราคา 2,910.00 บาท /คู่

รองเท้าบู๊ต สีดำสูง
รองเท้าบู๊ต สีดำสูง บางบอน กรุงเทพมหานคร

ราคา 1,280.00 บาท /โหล

ฮอนกฮูกตาโต
ฮอนกฮูกตาโต วังทองหลาง กรุงเทพมหานคร

ราคา 600.00 บาท

รองเท้ากันฝน 3 ไซส์ แถมนาฬิกากันยุง 1 ชิ้น
รองเท้ากันฝน 3 ไซส์ แถมนาฬิกากันยุง 1 ชิ้น หนองแขม กรุงเทพมหานคร

ราคา 150.00 บาท

แผ่นเสริมรองเท้า เพื่อสุขภาพ
แผ่นเสริมรองเท้า เพื่อสุขภาพ เมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่

ราคา 490.00 บาท

LRRP FIT  สเปรย์กำจัดกลิ่นเท้าและรองเท้า
LRRP FIT สเปรย์กำจัดกลิ่นเท้าและรองเท้า กระนวน ขอนแก่น

ราคา 100.00 บาท /ขวด

รองเท้าแตะหนังแท้ (หนังวัว)
รองเท้าแตะหนังแท้ (หนังวัว) เมืองราชบุรี ราชบุรี

ราคา 400.00 บาท /คู่

รองเท้าฮาพหนังขัด
รองเท้าฮาพหนังขัด ไทรน้อย นนทบุรี

จังหวัดที่ขายรองเท้า

กรุงเทพมหานคร (5 ร้าน)

กาญจนบุรี (1 ร้าน)

ขอนแก่น (2 ร้าน)

เชียงใหม่ (2 ร้าน)

นนทบุรี (1 ร้าน)

ราชบุรี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด รองเท้า ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะของรองเท้านารีเมืองกาญจน์ (3501)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Paphiopedilum parishii (Rchb. f.) Stein  
ตระกูล:    ORCHIDACEAE 
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นสั้นและแตกกอ ใบ รูปเข็มขัด ไม่มีลาย รูปทรง กว้าง 3.5-4 ซม. ยาว 30-40 ซม.
    ใบ    ค่อนข้างหนา รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 3-4 ซม. ยาวประมาณ 25-40 ซม. ปลายใบหยักมนไม่เท่ากัน ใบด้านบนสีเขียวกว่าด้างล่าง เรียงตัวสลับค่อนข้างห่างกลางออก และมักจะโค้งลงช่วงกลางใบ
    ดอก    ออกดอกเป็นช่อ 4-8 ดอกต่อช่อ ก้านดอกยาวสีเขียวมีขนนุ่ม กลีบสีขาว โคนสีเขียวอ่อน กลีบดอกยาวบิดเป็นเกลียวสีเขียวอมเหลือง ปลายสีน้ำตาลแดง มีจุดสีม่วงแดงที่กลางกลีบ กระเป๋าสีเขียวอมน้ำตาลแดงเรื่อ ขนาดดอก 10-12 ซม.
    ราก    เป็นแบบกึ่งอากาศ ( semi-epiphytic)   
ฤดูกาลออกดอก:     มิถุนายน – กรกฎาคม  
การใช้ประโยชน์:    ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:    ไทย อินเดีย ลาว เมียนม่าร์  และ จีนตอนใต้
แหล่งที่พบ:    เป็นกล้วยไม้ที่อิงอาศัยต้นไม้ในป่าดิบชื้นทางภาคตะวันตก ที่ระดับน้ำทะเล 1,000 – 1,300  เมตร พบมาก แถวกาญจนบุรี และกำแพงเพชร


ลักษณะรองเท้านารีอินทนนท์ (3502)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Paphiopedilum villosum (Lindl.) Stein
ตระกูล:    ORCHIDACEAE
ชื่อพื้นเมือง:    เอื้องแมงภู่ เอื้องไข่ไก่
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    พุ่มต้นกว้างประมาณ 25-30 ซม
    ใบ    ใบค่อนข้างบางและอ่อน รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2-2.5 ซม. ยาวประมาณ 25-28 ซม. ปลายใบหยักแหลมตื้น ใบด้านบนผิวสีเขียวเรียบ ด้านลางมีจุดปะเล็กๆ ใบกลางออกเป็นแนวรัศมี
    ดอก    ออกดอกเดี่ยว ก้านดอกสีเขียวปะจุดสีม่วง มีขนสั้น กลีบดอกบนสีน้ำตาลแดงมีจุดสีเข้มเป็นทางยาวปะตลอดกลีบบน ปลายกลีบสีขาว กลีบล่างและกระเป๋าสีน้ำตาลแดง โคนกลีบมีขนยาวสีน้ำตาล ขนาดดอก 7-9 ซม.   มีเกสรตัวผู้ต่างจากชนิดอื่นคือ เกสรตัวผู้จับตัวรวมเป็นก้อนแข็งค่อนข้างใส มีสีเหลืองไม่เป็นยางเหนียว
    ราก    เป็นแบบกึ่งดิน ( semi-terrestrial)   
ฤดูกาลออกดอก:    พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
การใช้ประโยชน์:    ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:    ไทย ลาว เมียร์ม่า และอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งที่พบ:    พบในทำเลที่เป็นป่าดิบภูเขา ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่หนา โดยขึ้นอยู่สูงประมาณ 1200-1500 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยพบขึ้นอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ที่มีลักษณะเปลือกหนา มีการผุพังของเปลือกไม้ง่าย ปกคลุมด้วย มอส เฟิร์น ตะไคร่น้ำ อุ้มความชื้นได้ดี โดยหยั่งรากไปตามเปลือกไม้ ตามดอยสูงทางภาคเหนือ
ความสำคัญ:    ค้นพบโดย: Mr.Thomas Lobb ในปี 1853 ในประเทศไทย


ลักษณะของรองเท้านารีฝาหอย (3503)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Paphiopedilum bellatulum   (Rchb.f.) Stein  
ตระกูล:    ORCHIDACEAE 
ชื่อสามัญ:   Plover Orchid
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    พุ่มต้นกว้างประมาณ 20-25 ซม. สูงประมาณ 10 ซม.
    ใบ    ค่อนข้างหนา รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2-5 ซม. ยาวประมาณ 6-15 ซม. ปลายใบหยักมน ใบด้านบนเป็นลายสีเขียวสลับเขียวอ่อน ใต้ท้องใบมีจุดสีม่วงเข้มกระจายหนาแน่นทั่งใบ มักเจริญเติบโตเป็นกอใหญ่  แผ่นใบกว้างออกเป็นระนาบ
    ดอก    เป็นช่อตั้งตรง ออกดอกเดี่ยว ค่อนข้างกลม ก้านช่อดอกสั้น ขนาด 4-5 ซม. มีสีม่วงแดง กลีบดอกนอกกว้างมนกลมปลายกลีบคุ้มลงด้านหน้า กลีบในทั้งสองกว้างมนรูปไข่ คุ้มออกด้านหน้า กลีบนอกและกลีบในเกยกันทำให้แลดูลักษณะดอกกลมแน่น กลีบและกระเป๋าสีขาว มีจุดและแต้มสีม่วง-น้ำตาลขนาดใหญ่กระจายทั่วไป ดอกเดี่ยว 1-3 ดอก ต่อต้น ขนาดดอก 5.5-7 ซม.
    ราก    เป็นแบบกึ่งดิน ( semi-terrestrial)  
ฤดูกาลออกดอก:    กุมภาพันธ์ - กรกฏาคม   
การใช้ประโยชน์:    ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:    ไทย เมียนม่าร์ จีน และ ลาว
แหล่งที่พบ:    พบอยู่ตามภูเขาหินปูน โดยขึ้นอยู่สูง 700-1200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในป่าดิบภูเขา โดยขึ้นอยู่ตามรอยแตกของหินที่ปกคลุมไปด้วยมอส หรือตามบริเวณป่าไผ่ที่มีการทับถมของใบไผ่ และมีความชื้นสูง ได้ร่มเงาจากต้นไม้ โดยจะได้รับแสงที่ทะลุผ่านตามช่องของใบไม้ และจะได้รับแสงมากขึ้นเมื่อป่ามีการผลัดใบในหน้าหนาว ตามดอยสูงทางภาคเหนือ  
ความสำคัญ:    ค้นพบโดย: Messrs Low and Co. ในปี 1888
*กระเปาะมนกลมคล้ายฟองไข่นก Plover   (ซึ่งเป็นที่มาของรองเท้านารีฝาหอยที่เรียกว่า “Plover Orchid”)

ลักษณะของรองเท้านารีเหลืองปราจีน (3512)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Paphiopedilum concolor (Lindl.) Pfitzer  
ตระกูล:    ORCHIDACEAE  
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    มีลักษณะเป็นพุ่มต้นกว้างประมาณ 20-25 ซม. สูงประมาณ 10-20 ซม.
    ใบ    ใบค่อนข้างหนา รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2.5-3 ซม. ยาวประมาณ 10-15 ซม. ปลายใบหยักมนไม่เท่ากัน ใบด้านบนสีเขียวสลับสีเขียวอ่อนอมขาวด้านล่างมีรายประสีม่วงกระจาย แผ่นใบกลางออกในแนวระนาบ
    ดอก    ออกเป็นช่อตั้งตรง ก้านช่อดอกยาว 5-7 ซม. สีเขียวอ่อน มีขนนุ่ม กลีบและกระเป๋าสีเหลือง มีจุดสีม่วงกระจาย ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 1-3 ดอก ต่อต้น ขนาดดอก 4-6 ซม. ผิวกลีบมีขนละเอียดนุ่ม
    ราก    เป็นแบบกึ่งดิน ( semi-terrestrial)  
ฤดูกาลออกดอก:    ออกดอกเกือบตลอดปี  
การใช้ประโยชน์:    ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:    ไทย จีนตอนใต้ เมียนม่าร์และอินโดจีน
แหล่งที่พบ:    พบตามซอกหินค่อนข้างร่ม พบเกือบทุกภาค เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายกว่าชนิดอื่นๆ