ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นรสสุคนธ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetracera loureiri (Finet & Gagnep.) Pierre ex Craib
ชื่อภาษาอังกฤษ : Dillenia
ชื่ออื่นๆ : รสสุคนธ์ขาว, มะตาดเครือ, สุคนธรส, เสาวรส
ลำต้น : เป็นไม้เลื้อย ไม่ผลัดใบ ลำต้นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านมาก
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปรีถึงรูปขอบขนาน ปลายใบกลมถึงมน โคนใบมนถึงแหลม ผิวใบเรียบหรือมีขนสากเล็กน้อย แผ่นใบสีเขียว ขอบใบจักฟันเลื่อย
ดอก : ออกเป็นช่อที่ซอกใบปละปลายยอด ดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี
ผล : เป็นผลเดี่ยว รูปไข่เบี้ยว มีจะงอยที่ส่วนปลาย
เมล็ด : รูปไข่ สีดำ มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงสด
การขยายพันธุ์ของต้นรสสุคนธ์
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง
การดูแลต้นรสสุคนธ์
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นรสสุคนธ์
- ลำต้น, ราก แก้ฝี แก้บวม
- ใบ แก้สะอึก
- ดอก บำรุงหัวใจ แก้ลม
ประโยชน์ของต้นรสสุคนธ์
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- เถา ใช้ทำเชือก
- ใบแก่ รูดคาวปลาไหล