ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นมหาหงส์ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hedychium coronarium J. Konig
ชื่อภาษาอังกฤษ : Butterfly lilly, Garland flower, White ginger, Ginger lily,
ชื่ออื่นๆ : กระทายเหิน, หางหงส์, ตาห่าน, เหินแก้ว, เหินคำ
ลำต้น : เป็นไม้หัวล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน สีเหลืองอ่อนอมน้ำตาล มีกลิ่นหอมอ่อน กาบใบพ้นดินซ้อนแน่น กลม สีเขียว เป็นเหมือนลำต้น
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ก้านใบสั้น ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ผิวใบด้านล่างมีขนนุ่ม แผ่นใบมักงอตัวลงด้านหลัง ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบสีเขียวสด
ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นหอม ดอกสีขาว หรือขาวแกมเหลือง ดอกจะทยอยบานจากด้านล่างขึ้นด้านบน ออกดอกตลอดปี
ผล : รูปทรงกระบอก สีส้มแดง แตกออกได้เป็น 3 พู
เมล็ด : รูปไข่เกลี้ยง สีน้ำตาลแดง
การขยายพันธุ์ของต้นมหาหงส์
แยกเหง้า เพาะเมล็ด เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การดูแลต้นมหาหงส์
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการความชื้นสูง ชอบแดดรำไร ทนทานต่อโรคและแมลง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นมหาหงส์
หัว เป็นยาแก้กษัย บำรุงกำลัง บำรุงไต แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ทาแผลฟกช้ำบวม
ความเชื่อของต้นมหาหงส์
เป็นไม้มงคลทางเมตตามหานิยม ปลูกไว้จะทำให้เป็นที่เมตตาของผู้คน และผู้เลี้ยงจะได้รับโชคลาภอยู่เสมอ
ประโยชน์ของต้นมหาหงส์
- นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ
- เหง้าสด สกัดน้ำมันหอมระเหยใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ โคโลน โลชั่น ครีมอาบน้ำ
- เหง้าสด นำมาใช้ฆ่าแมลงได้
- หน่ออ่อน นำมาลวกรับประทานกับน้ำพริก
- นิยมใช้ดอกมหาหงส์บูชาพระ