ค้นหาสินค้า

พุทธรักษา

ขายต้นพุทธรักษา ดอกพุทธรักษาราคาถูก การปลูก วิธีดูแล และการขยายพันธุ์พุทธรักษา ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะและสรรพคุณ

ต้นพุทธรักษา

จังหวัดที่ขายต้นพุทธรักษา

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นพุทธรักษา ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าพุทธรักษา

#พุทธรักษา พันธุ์แคระ
#พุทธรักษา พันธุ์แคระ กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 50.00 บาท /หน่อ

จังหวัดที่ขายต้นกล้าพุทธรักษา

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าพุทธรักษา ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์พุทธรักษา

ว่านญาณรังษี (เมล็ด)  (Seed)
ว่านญาณรังษี (เมล็ด) (Seed) เมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่

ราคา 10.00 บาท /เมล็ด

เมล็ดพุทธรักษา F1 : Red Lisa
เมล็ดพุทธรักษา F1 : Red Lisa บางเขน กรุงเทพมหานคร

ราคา 60.00 บาท /ซอง (บรรจุ 5 เมล็ด)

พุทธรักษาสีขาว
พุทธรักษาสีขาว หนองแค สระบุรี

ราคา 20.00 บาท /10 เมล็ด

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์พุทธรักษา

กรุงเทพมหานคร (1 ร้าน)

เชียงใหม่ (1 ร้าน)

สระบุรี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์พุทธรักษา ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นพุทธรักษา ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canna indica L.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Canna Lily , India Short Plant, India Shoot, Bulsarana

ชื่ออื่นๆ : บัวละวง, พุทธสร

ลำต้น : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นแท้อยู่ใต้ดิน และมีลำต้นเหนือดิน หรือลำต้นเทียมที่ประกอบด้วยก้านใบ รวมกันคล้ายต้นกล้วย ทุกส่วนมีนวลสีขาวปกคลุม

ใบ : เป็นใบเดี่ยว แผ่นคล้ายใบพาย หรือรูปหอก ปลายใบเรียวแหลมหรือแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีสีเขียวสด สีแดง สีเขียวขลิบแดง หรือสีม่วงเข้ม เส้นใบเรียงขนานกัน เหมือนใบกล้วย ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น

ดอก : ออกเป็นช่อตรงยอดของลำต้น ชูตั้ง ก้านช่อดอกยาว ช่อดอกมีรูปคล้ายทรงกระบอก ดอกมีหลายลักษณะ หลายขนาด ดอกมีสีสรรหลากหลาย ออกดอกตลอดปี

ผล : เป็นผลแห้ง ทรงกลม มี 3 พู ผิวผลขรุขระ เปลือกนอกผลสีเขียวมีหนามตื้นๆ เป็นพู ผลแก่จะมีสีดำ

เมล็ด : เมล็ดสีขาว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล มัน ขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา

พุทธรักษา

การขยายพันธุ์ของต้นพุทธรักษา

การแยกหน่อ และเพาะเมล็ด

การดูแลต้นพุทธรักษา

ปลูกได้ในดินเหนียว ต้องการน้ำมาก ชอบแดดเต็มวัน เจริญเติบโตเร็ว

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นพุทธรักษา

- หัว บำรุงปอด แก้อาเจียน หรือไอเป็นเลือด

- ดอก ใช้ห้ามเลือด รักษาแผลที่มีหนอง ยาขับพิษร้อน ขับน้ำชื้นในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิต

- เมล็ด แก้ปวดศีรษะ

- เหง้า แก้โรคตับอักเสบ (โรคดีซ่าน), บิดเรื้อรัง, อาเจียนเป็นเลือด, ประจำเดือนมาไม่หยุด, ตกขาว, ประจำเดือนไม่ปกติ และแผลบวมอักเสบ

- ใบ เป็นยาช่วยแก้อาเจียน ช่วยแก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย

ความเชื่อของต้นพุทธรักษา

- คนไทยโบราณเชื่อกันว่า หากปลูกต้นพุทธรักษาไว้เป็นต้นไม้ประจำบ้าน จะมีพระเจ้าช่วยปกป้องคุ้มครองบ้านและผู้อยู่อาศัยไม่ให้มีเหตุร้าย ทำให้มีแต่ความสงบสุข และควรปลูกต้นไม้ชนิดนี้วันพุธ ในบริเวณทางทิศตะวันตกของบ้าน

- เป็นดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ

ประโยชน์ของต้นพุทธรักษา

นิยมปลูกริมน้ำหรือพื้นที่ที่ชื้นแฉะ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของพุทธรักษา (3619)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Canna spp. and hybrid
ชื่อวงศ์:  Cannaceae
ชื่อสามัญ:  Indian shot, Canna
ชื่อพื้นเมือง:  พุทธศร  ดอกบัวละวง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อน อวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้นมีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้นโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร
    ใบ  ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัดโคนใบมีก้านใบซึ่งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตรยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร
    ดอก  สีแดง แสด เหลือง ชมพู ขาว ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ทยอยบานทีละ 1-3 ดอก ช่อดอกยาว 15- 20 เซนติเมตร  ช่อละ 8-10 ดอก กลีบเลี้ยง 3 กลีบ ขนาดเล็กสีเขียวอ่อน กลีบดอก 3 กลีบ   ดอกบานเต็มที่กว้าง 8-9  เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้ซึ่งเปลี่ยนรูปร่างไปเหมือนกลีบดอกมีขนาดใหญ่
    ฝัก/ผล  ผลแห้งแตก ทรงกลม
    เมล็ด  เมล็ดทรงกลม ขนาด 2-6 เซนติเมตร ผิวขรุขระ จำนวนหลายเมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก:  ปลูกในแปลงปลูก และปลูกในกระถาง
การดูแลรักษา:  ชอบแสงรำไร หรือแสงแดดจัดกลางแจ้ง ชอบดินเหนียวชุ่มชื้นและมีอินทรียวัตถุสูง หรือที่ระดับน้ำ 10-20 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด แยกหน่อ แยกเหง้า
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
สรรพคุณทางยา:
    -    ดอก ตำพอกห้ามเลือด รักษาแผลหนอง
    -    ใบ แก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย แก้อาเจียน


พุทธรักษาเป็นไม้มงคล (3620)

ความมงคล:
พุทธรักษานั้น เป็นไม้ล้มลุก ที่มีชื่อเป็นสิริมงคลมาก ดังนั้นตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว ชายไทยจึงนิยมปลูกพุทธรักษาเอาไว้ในบ้าน ชื่อของพรรณไม้ชนิดนี้นั้น มีความหมายที่ดีมาก เพราะหมายความถึง การมีพระพุทธเจ้าคอยคุ้มครองรักษาให้อยู่เย็นเป็นสุข ดังนั้น จึงเกิดความเชื่อที่ว่า หากครอบครัวใดปลูกต้นพุทธรักษาเอาไว้แล้วล่ะก็ ครอบครัวนั้นจะมีแต่ความสุขความสงบโดยที่ไม่มีเรื่องราวร้ายๆ เข้ามากล้ำกราย ให้สมาชิกในบ้านได้รับความเดือดร้อนได้เลย  ต้นพุทธรักษานั้น จะช่วยปกป้องคุ้มครอง มิให้มีภยันอันตรายให้กับสมาชิกทุกคนภายในบ้าน รวมทั้งคอยปกป้องดูแลบ้านเรือน ให้ร่มเย็นปลอดภัย โดยที่ไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ ขึ้น

ตำแหน่งที่ปลูก:
การปลูกต้นพุทธรักษานั้น สมาชิกภายในบ้านสามารถปลูกได้หมด หรืออาจจะช่วยกันปลูกคนละไม้คนละมือก็ได้เช่นกัน และยังจะช่วยให้สัมพันธภาพในครอบครัวแน่นแฟ้นขึ้นด้วย ควรปลูกต้นพุทธรักษาเอาไว้ทางทิศตะวันตก ต้นพุทธรักษา จะได้คอยปกป้องคุ้มครองครอบครัวให้แคล้วคลาดจากเรื่องร้าย วันพุธเป็นวันที่เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้ชนิดนี้มากที่สุด เพราะคนโบราณเชื่อว่า หากต้องการปลูกต้นไม้ เพื่อยึดเอามงคล จากความสวยงามของดอกไม้ ก็ควรจะปลุกวันพุธ เพื่อที่ต้นไม้นั้น จะได้ออกดอกบานสะพรั่งอยู่เสมอ และเป็นสิริมงคลเสริมส่งดวงชะตาให้รุ่งโรจน์


พุทธรักษามีกี่สายพันธุ์ (3621)

1. Canna x generalis L.H. Bailey เป็นกลุ่มของลูกผสม มักจะปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากดอก ต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตร โดยลำต้นเกิดจากเหง้า หรือแง่ง ใบออกสลับ มีความยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร ดอกออกตลอดปี ดอกมีสีแดง เหลือง หรือดอกสีเหลืองมีจุดสีแดงนิยมการขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้า พืชชนิดนี้ชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ชื้น และที่มีแสงแดดมักจะปลูกเป็นแนวรั้ว หรือปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ในเขตร้อน ในเขตอบอุ่นจะปลูกในโรงเรือนกระจกหรือเพื่อการอนุรักษ์

2. Canna indica Linnaeus หรือ Indian shot เป็นพืชพื้นเมืองเขตร้อนของอเมริกา ไม่ใช่อินเดีย พืชชนิดนี้จะให้ดอกสีแดงหรือสีเหลือง ชอบขึ้นอยู่ในที่ชื้นแฉะ ลำต้นสูง 1.5 เมตร โดยลำต้นเกิดจากเหง้า หรือแง่ง ใบออกสลับ มีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร ดอกมีสีแดงหรือเหลือง ดอกออกตลอดปี ผลมีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือการแบ่งเหง้า พืชชนิดนี้ชอบที่ชื้น และดินมีความอุดมสมบูรณ์ มักใช้เป็นพืชแนวรั้วแบ่งเขตเพื่อเป็นการเพิ่มสีสันแนวรั้ว การขยายพันธุ์ ทำได้ทั้งการเพาะเมล็ดและแยกหน่อปลูก