ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นพีพวนน้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Uvaria rufa Bl.
ชื่ออื่นๆ : ติงตัง, ตีนตั่งเครือ, นมแมวป่า, นมวัว, บุหงาใหญ่, พีพวน, สีม่วน
ลำต้น : เป็นไม้เถา เกาะเลื้อยส่วนของใบที่เปลี่ยนเป็นมือพันกิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ถ้าแก่ผิวจะเกลี้ยงและไม่มีขน เปลือกลำต้นเป็นสีม่วงอมเทา เนื้อไม้แข็ง
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมรี โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนมีขนสาก ด้านล่างมีขนนุ่ม ก้านใบยาว
ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีแดงสดถึงสีแดงเข้ม ออกดอกตลอดปี ดอกมีกลิ่นหอม
ผล : รูปรีแกมรูปไข่ ปกคลุมด้วยขนหนาแน่น ผิวผลย่น ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลสุกสีแดงสด เนื้อข้างในผลเป็นสีขาว
เมล็ด : รูปรี ปลายมน โคนเว้า ขอบเรียบ ผิวเมล็ดเกลี้ยงเป็นสีน้ำตาลมัน
การขยายพันธุ์ของต้นพีพวนน้อย
เพาะเมล็ด
การดูแลต้นพีพวนน้อย
ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดเต็มวัน
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นพีพวนน้อย
- ผล แก้ผดผื่นคัน รักษาโรคหืด
- เนื้อไม้ แก้ไข้
- ราก แก้ไข้ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ บำรุงน้ำนม เป็นยากระตุ้นการคลอด
ประโยชน์ของต้นพีพวนน้อย
- ผลรับประทานได้ มีรสหวานอมเปรี้ยว
- นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ
- กิ่ง ใช้เป็นวัตถุดิบในการเตรียมสีย้อมฝ้ายหรือไหม
- ผล นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ