ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นผักคราดหัวแหวน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acmella oleracea (L.) R.K.Jansen
ชื่อภาษาอังกฤษ : Para cress , Tooth-ache Plant
ชื่ออื่นๆ : ผักเผ็ด, อึ้งฮวยเกี้ย, ผักตุ้มหู, ผักคราด
ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นทอดเลื้อยหรือลำต้นตั้งตรง ปลายยอดตั้ง ลำต้นกลมอวบน้ำสีเขียวปนสีม่วงแดง ลำต้นอ่อนมีขน
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปสามเหลี่ยม หรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนประปรายทั้งสองด้าน
ดอก : ออกเป็นช่อรูปกรวยคว่ำตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง
ผล : เป็นผลแห้ง รูปไข่ ปลายเว้าเป็นแอ่งเล็กน้อย สีดำ

การขยายพันธุ์ของต้นผักคราดหัวแหวน
เพาะเมล็ด ปักชำ
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นผักคราดหัวแหวน
- ทั้งต้น แก้ปวดท้องหลังคลอด แก้พิษปวดบวม แก้ริดสีดวง แก้เด็กตัวร้อน แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ แก้หอบไอ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรั้ง แก้หอดบวม แก้ไอกรน ไขข้ออักเสบ แก้ปวดบวม แก้ฝีในคอ แก้คออักเสบ
- ราก แก้ปวดฟัน แก้ปวดศีรษะ แก้คัน เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ แก้อาการอักเสบและเจ็บคอ
- ต้น แก้พิษตานซาง แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ฝีในคอ แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ แก้ริดสีดวง ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร
- ใบ แก้ปวดฟัน แก้ปวดศีรษะ รักษาแผล แก้ริดสีดวง แก้เด็กตัวร้อน แก้ท้องอืด แก้ตกเลือด แก้มึน แก้ตาฟาง แก้ฝีดาษ
- ดอก แก้ปวดฟัน แก้ปวดศีรษะ เป็นยาขับน้ำลาย แก้โรคในคอ แก้โรคลิ้นเป็นอัมพาต แก้โรคติดอ่างในเด็ก
- ผล แก้ร้อนใน
- เมล็ด เป็นยาขับน้ำลาย แก้ปากแห้ง
ประโยชน์ของต้นผักคราดหัวแหวน
ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริกลาบ ก้อย แกง