ลักษณะพฤกษศาสตร์ของพวงประดิษฐ์ (3454)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Congea tomentosa Roxb.
ชื่อวงศ์: VERBENACEAE
ชื่อสามัญ: Lavender Wreath, Shower Orchid
ชื่อพื้นเมือง: กาไบ้ดง (เย้า) ค้างเบี้ย (นครพนม) เครือออน (ภาคเหนือ) งวงชุม (เลย) จั่งบั่ง ออนแดง(เชียงใหม่) ท้องปลิง (จันทบุรี) พญาโจร (กรุงเทพ) พลูหีบ ล้วงสุ่มขาว ล้วงสุ่มตัวผู้ (นครราชสีมา)สะแกบ (อุตรดิตถ์) สังขยา (พิษณุโลก สงขลา)
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ไม้เถาขนาดใหญ่ มีขนนุ่ม เลื้อยพันหลักขึ้นเป็นพุ่มปลายกิ่งทอดย้อยลง
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่แกมรูปรี ปลายแหลมเป็นติ่งสั้น โคนมน เนื้อใบสาก
ดอก สีชมพูอมม่วง สีม่วงอ่อน หรือ สีขาวเงินยวง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ประกอบด้วยช่อย่อยเป็นกระจุก 5-7 ดอก มีใบประดับรองรับ 3 ใบ รูปไข่กลับแกมขอบขนาน โคนเชื่อมกัน กลีบเลี้ยง 5 แฉก คงอยู่เมื่อเป็นผลกลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ขนาดไม่เท่ากัน ส่วนบน 2 กลีบ ส่วนล่าง 3 กลีบ เกสรตัวผู้ 4 อัน
ฝัก/ผล ขนาดเล็ก รูปไข่กลับ มีใบประดับติดที่ขั้ว
เมล็ด มี 1 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก: ธันวาคม-เมษายน
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด และปักชำกิ่ง
การใช้ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้ประดับ และสมุนไพร
ถิ่นกำเนิด: ถิ่นกำเนิด เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
แหล่งที่พบ: ทุกภาคของไทย พบตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง
ชื่อวงศ์: VERBENACEAE
ชื่อสามัญ: Lavender Wreath, Shower Orchid
ชื่อพื้นเมือง: กาไบ้ดง (เย้า) ค้างเบี้ย (นครพนม) เครือออน (ภาคเหนือ) งวงชุม (เลย) จั่งบั่ง ออนแดง(เชียงใหม่) ท้องปลิง (จันทบุรี) พญาโจร (กรุงเทพ) พลูหีบ ล้วงสุ่มขาว ล้วงสุ่มตัวผู้ (นครราชสีมา)สะแกบ (อุตรดิตถ์) สังขยา (พิษณุโลก สงขลา)
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ไม้เถาขนาดใหญ่ มีขนนุ่ม เลื้อยพันหลักขึ้นเป็นพุ่มปลายกิ่งทอดย้อยลง
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่แกมรูปรี ปลายแหลมเป็นติ่งสั้น โคนมน เนื้อใบสาก
ดอก สีชมพูอมม่วง สีม่วงอ่อน หรือ สีขาวเงินยวง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ประกอบด้วยช่อย่อยเป็นกระจุก 5-7 ดอก มีใบประดับรองรับ 3 ใบ รูปไข่กลับแกมขอบขนาน โคนเชื่อมกัน กลีบเลี้ยง 5 แฉก คงอยู่เมื่อเป็นผลกลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ขนาดไม่เท่ากัน ส่วนบน 2 กลีบ ส่วนล่าง 3 กลีบ เกสรตัวผู้ 4 อัน
ฝัก/ผล ขนาดเล็ก รูปไข่กลับ มีใบประดับติดที่ขั้ว
เมล็ด มี 1 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก: ธันวาคม-เมษายน
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด และปักชำกิ่ง
การใช้ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้ประดับ และสมุนไพร
ถิ่นกำเนิด: ถิ่นกำเนิด เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
แหล่งที่พบ: ทุกภาคของไทย พบตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง