การขยายพันธุ์พุทราไต้หวัน (3598)
โดยปกติแล้วต้นพุทราจะสามารถออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี แต่จากการปฏิบัติจริงนั้นควรจะเลี้ยงผลให้แก่และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูหนาว น่าจะเหมาะสมที่สุด โดยให้ผลผลิตพุทรารุ่นแรกแก่ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนและไปเก็บเกี่ยวผลผลิต รุ่นสุดท้ายไม่ควรเกินกลางเดือนกุมภาพันธ์หรือเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ไม่แนะนำให้มีการเลี้ยงผลและให้ผลผลิตแก่ในช่วงฤดูฝน เพราะจะพบปัญหาเรื่องแมลงวันทองเจาะทำลาย และจะใช้สารฆ่าแมลงในปริมาณมาก อีกทั้งผลผลิตพุทราที่เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูฝนจะมีรสชาติไม่อร่อย
หัวใจสำคัญของการปลูกพุทราไต้หวันเกษตรกรจะต้องมีการตัดแต่งกิ่ง โดยตัดให้เหลือส่วนของต้นเหนือพื้นดินขึ้นมาอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และควรจะตัดแต่งในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี บำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีอย่างเต็มที่ เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์และแข็งแรง พร้อมต่อการให้ผลผลิตในฤดูกาลต่อไป การตัดแต่งแบบนี้จะช่วยลดการระบาดของแมลงวันทองได้เป็นอย่างดี
การขยายพันธุ์พุทราไต้หวัน
การทาบกิ่ง คือ การยกต้นตอพุทราป่าที่มีอายุ 8-9 เดือน (ขนาดเท่าไม้เสียบลูกชิ้นก็เริ่มนำมาใช้ได้) ขึ้นไปทาบบนต้นพุทราไต้หวันพันธุ์ดี เกษตรกรบางรายอาจจะใช้วิธีการนำไม้ค้ำต้นตอที่ขึ้นไปทาบหรืออาจใช้นั่งร้าน แขวนตุ้มต้นตอ การทาบกิ่งพุทราจะต้องใช้ฝีมือค่อนข้างประณีต เนื่องจากกิ่งพุทราพันธุ์ดีที่จะทาบจะมีขนาดเล็กและเหตุผลที่เลือกยอดพันธุ์ ที่มีขนาดเล็ก เพราะพุทราเจริญเติบโตเร็วมาก หากคัดเลือกยอดขนาดใหญ่ถึงแม้จะสะดวกต่อการทาบกิ่งก็จริง เมื่อถึงเวลาตัดกิ่งทาบลงมาจะได้พุทราที่มีขนาดของต้นใหญ่เกินไป ต้นตอจะรับน้ำหนักไม่ได้ วิธีการทาบกิ่งแบบยกต้นทาบนี้ใช้เวลานานประมาณ 1 เดือน แผลจึงจะเริ่มสนิทกันแน่น ก่อนตัดกิ่งทาบลงมาอนุบาลต่อจะต้องควั่นเตือนใต้กิ่งพุทราพันธุ์ดีก่อนที่จะ ตัด ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นนำไปพักฟื้นต้นไว้อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ ใต้ตาข่ายพรางแสงเมื่อเห็นว่าต้นพุทรามีความแข็งแรงดี ก็นำไปปลูกได้ สำหรับการขยายพันธุ์อีกวิธีหนึ่งคือ การขยายพันธุ์พุทราแบบต่อยอด เกษตรกรจะต้องคัดเลือกนำเอาต้นตอพุทราป่าที่มีอายุต้น ประมาณ 8-9 เดือน (ต้นตอที่มีขนาดใหญ่จะต่อยอดได้ง่าย) ถุงที่ใช้เพาะต้นตอไม่ควรใช้ถุงที่มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะเมื่อนำมาอบในถุงพลาสติคจะได้ประหยัดถุงสำหรับอบ สำหรับยอดพันธุ์ดีพุทราไต้หวันจะต้องคัดเลือกยอดจากกิ่งกระโดง ไม่ควรใช้ยอดที่เกิดจากกิ่งแขนงที่ห้อย เนื่องจากเมื่อต่อติดแล้วนำไปปลูกในแปลงพบว่า ต้นจะเจริญเติบโตได้ช้ามาก ในกรณีที่มีต้นพันธุ์พุทราไต้หวันน้อยให้นำยอดพันธุ์มาตัดเป็นท่อนๆ ได้ ให้มีตาอย่างน้อยสัก 2 ตา หลังจากต่อยอดเสร็จ นำไปอบในถุงพลาสติคขนาดใหญ่ ใช้เวลาอบนานประมาณ 30-45 วัน มีข้อแนะนำว่าอย่ารดน้ำต้นตอจนแฉะเกินไป จะเกิดความชื้นในถุงอบมากเกินไป ทำให้เกิดเชื้อราเข้าแผลเน่า ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การติดน้อย ควรให้ดินของต้นตอมีความชื้นหมาดๆ ก็เพียงพอ สถานที่อบควรพรางแสงด้วยตาข่ายพรางแสง 70% หลังจากอบได้เวลา ค่อยๆ เปิดปากถุงทีละน้อย ในช่วงตอนเย็นทิ้งไว้อย่างนั้น 2-3 วัน จึงนำมาอนุบาลในตาข่ายพรางแสงต่อ
เทคนิคการเพาะเมล็ดพุทรา เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์
เมล็ด พุทรา ที่แนะนำให้มาใช้เพื่อทำต้นตอแนะนำให้ใช้เมล็ดพุทราจะดีที่สุด เมื่อเกษตรกรได้เมล็ดพุทรา ถ้าต้องการให้งอกเร็ว "เกษตรกรจะต้องทุบเอาเมล็ดข้างใน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเมล็ดกระถิน" เมื่อนำมาเพาะใส่ในถุงดำ จะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน เท่านั้น เมล็ดจะเริ่มงอก แต่ถ้าเพาะเมล็ดที่ไม่ได้ทุบจะใช้เวลานานนับเดือนกว่าเมล็ดจะงอกออกมา สำหรับอีกวิธีหนึ่งในการเพาะเมล็ดพุทราป่า โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน "เกษตรกรนำผลพุทราป่าที่สุกแล้วนำมาเป็นส่วนผสมของอาหารให้วัวหรือควายกิน เมื่อวัวและควายถ่ายมูลออกมา นำมูลที่มีเมล็ดพุทราติดมาไปหว่านในแปลงเพาะรดน้ำให้ชุ่มเมล็ดพุทราจะงอกออก มาภายใน 7 วัน" ต้นตอพุทราที่จะใช้ในการขยายพันธุ์จะต้องมีอายุ ประมาณ 8-9 เดือน
เทคนิคการฉีดพ่นสารเคมีในการปลูกพุทราไต้หวัน
สาร ปราบศัตรูพืชที่ใช้ในการฉีดพ่นให้กับพุทราไต้หวัน จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ถูกต้องและเหมาะสม จึงจะได้ผลผลิตที่ดี คุ้มต่อการลงทุน ถึงแม้พุทราจะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสารเคมี แต่ในช่วงออกดอกติดผลจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต การใช้สารเคมีจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ จะต้องฉีดพ่นสารเคมีให้ถูกต้อง หากเลือกใช้สารเคมีไม่ถูกจะมีผลทำให้พุทราได้รับผลกระทบเสียหายได้ เช่น ใบไหม้ ผลลาย ผิวดำ ผิวตกกระ เป็นขี้กลาก ผลเล็ก ผลบิดเบี้ยว และผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เป็นต้น
ข้อควรระวังในการใช้สารเคมี
1. สารเคมีที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย ฮอร์โมน และสารกำจัดศัตรูพืชที่ฉีดพ่นระยะพุทราออกดอกและติดผล ควรหลีกเลี่ยงยาที่เป็นน้ำสีดำหรือผสมน้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีดำ
2. หลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของน้ำมัน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยาร้อน"
3. สารเพิ่มประสิทธิภาพ หรือที่เรียกว่า "สารจับใบ" ควรลดอัตราการใช้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราที่แนะนำ
4. หลีกเลี่ยงสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผึ้งหรือแมลงที่มาช่วยผสมเกสรในช่วงออกดอก
5. ควรฉีดพ่นสารเคมีให้กับพุทราไต้หวันในตอนเช้า ในกรณีที่มีปุ๋ยทางใบและฮอร์โมนผสมด้วย ควรปรับหัวฉีดให้ฝอย แรงดันเหมาะสม หัวฉีดที่พ่นสารเคมีควรฉีดอยู่ห่างจากช่อดอก ประมาณ 1 เมตร ป้องกันการกระแทก ทำให้ดอกร่วง
6. ในช่วงฝนตกชุก โรคระบาดมาก ควรมีการฉีดพ่นตอนเย็น
สาร เคมีที่แนะนำให้ใช้ป้องกันและกำจัดแมลงในการปลูกพุทรา ในระยะออกดอกและติดผล ได้แก่ โปรวาโด, S-85 ฯลฯ สำหรับโรคสำคัญที่มักพบกับพุทรา ได้แก่ โรคแอนแทรกโนส ราดำ ฯลฯ ยาโรคพืชที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่ ฟลิ้นท์-แอนทราโคล (โดยเฉพาะในช่วงออกดอกติดผล และมีฝนตกมาอย่างต่อเนื่อง การฉีดพ่นสารฟลิ้นท์+แอนทราโคล จะช่วยทำให้การติดผลดีขึ้นมาก และดอกสะอาด) เมเจอร์เบน คาร์เบนดาซิม ฯลฯ ควรงดยาเชื้อราที่เป็นน้ำมัน
ปัญหา พุทราช่วงระยะออกดอกมักพบปัญหาไม่ติดผล ออกดอกแล้วร่วง อาจเป็นเพราะต้นยังไม่สมบูรณ์ ฝนตกชุก โรคระบาดรุนแรง หรือไม่มีแมลงผสมเกสร ทางชมรมเผยแพร่ฯ มีเคล็ดลับในการดูแลรักษาให้พุทราติดผลและผลผลิตมีคุณภาพ ดังต่อไปนี้
1. หลังตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยขี้วัวเก่า 10-20 กิโลกรัม (อายุ 1 ปี ขึ้นไป) และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
2. ช่วงบำรุงเลี้ยงต้นให้สมบูรณ์ 1-2 เดือนครึ่ง หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จ ใช้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูง สลับกับสูตรเสมอ เช่น 25-7-7, 16-16-16 ฯลฯ พร้อมกับฉีดพ่นปุ๋ยทางใบหรือฮอร์โมนพวกสาหร่าย เช่น แอ๊กกรีนผสมกับปุ๋ยน้ำ สูตร 18-6-6, 28-0-0, 12-12-12 ฯลฯ
3. ช่วงบำรุงดอก ปุ๋ยทางดิน ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24, 10-26-26 ฯลฯ ปุ๋ยทางใบฉีดพ่น สะสมและบำรุงดอก เช่น เฟอร์ติไจเซอร์ สูตร 10-52-17, 5-20-25 ไบโฟลานเหลือง ฯลฯ
4. ช่วงติดผล ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตรเสมอ เช่น 16-16-16, 19-19-19 ฯลฯ ทางใบฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ สูตร 12-12-12 +แคลเซียมโบรอนอี เพื่อให้ผลติดมากขึ้นและขยายขนาดผลให้โต
5. เมื่ออายุผลพุทรา 60 วัน ขึ้นไป ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตรที่มีตัวท้ายสูง เช่น สูตร 10-26-26, 13-13-21 ปุ๋ยทางใบใช้ปุ๋ยน้ำ สูตรเสมอ เช่น 12-12-12 ไฮโปส ก่อนเก็บเกี่ยว อายุ 3-4 เดือน ให้ฉีดพ่นโพแทสเซียมไนเตรต เพื่อเร่งความหวาน ปุ๋ยทางดินต้องใส่บ่อยครั้งขึ้นทุก 15 วัน เน้นปุ๋ยตัวท้ายสูงเพื่อเพิ่มความหวาน เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21, 0-0-60 ฯลฯ
เป็น ที่สังเกตว่า การปลูกพุทราไต้หวันในประเทศไทยขณะนี้จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักคือ พันธุ์ซื่อมี่ หรือพันธุ์นมสด มีพื้นที่ปลูกมากในเขตภาคหนือตอนบน สำหรับพันธุ์ซุปเปอร์จัมโบ้ที่มี คุณวารินทร์ ชิตะปัญญา เป็นผู้บุกเบิกการปลูกและมีปลูกกระจายในหลายพื้นที่ของภาคกลาง การปลูกพุทราไต้หวันให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องมีการจัดการสวนที่ถูกต้อง มีระบบการให้น้ำที่ดีและให้ปุ๋ยที่ถูกต้องถึงจะได้พุทราที่มีคุณภาพดี วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว โดยเก็บพุทราเข้าห้องเย็นที่ควบคุมอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อชะลอการขายเป็นเรื่องใหม่ที่เกษตรกรผู้ปลูกพุทราไต้หวันควรจะนำไป ปฏิบัติต่อได้
เอื้อเฟื้อข้อมูล เทคโนโลยีชาวบ้าน
หัวใจสำคัญของการปลูกพุทราไต้หวันเกษตรกรจะต้องมีการตัดแต่งกิ่ง โดยตัดให้เหลือส่วนของต้นเหนือพื้นดินขึ้นมาอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และควรจะตัดแต่งในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี บำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีอย่างเต็มที่ เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์และแข็งแรง พร้อมต่อการให้ผลผลิตในฤดูกาลต่อไป การตัดแต่งแบบนี้จะช่วยลดการระบาดของแมลงวันทองได้เป็นอย่างดี
การขยายพันธุ์พุทราไต้หวัน
การทาบกิ่ง คือ การยกต้นตอพุทราป่าที่มีอายุ 8-9 เดือน (ขนาดเท่าไม้เสียบลูกชิ้นก็เริ่มนำมาใช้ได้) ขึ้นไปทาบบนต้นพุทราไต้หวันพันธุ์ดี เกษตรกรบางรายอาจจะใช้วิธีการนำไม้ค้ำต้นตอที่ขึ้นไปทาบหรืออาจใช้นั่งร้าน แขวนตุ้มต้นตอ การทาบกิ่งพุทราจะต้องใช้ฝีมือค่อนข้างประณีต เนื่องจากกิ่งพุทราพันธุ์ดีที่จะทาบจะมีขนาดเล็กและเหตุผลที่เลือกยอดพันธุ์ ที่มีขนาดเล็ก เพราะพุทราเจริญเติบโตเร็วมาก หากคัดเลือกยอดขนาดใหญ่ถึงแม้จะสะดวกต่อการทาบกิ่งก็จริง เมื่อถึงเวลาตัดกิ่งทาบลงมาจะได้พุทราที่มีขนาดของต้นใหญ่เกินไป ต้นตอจะรับน้ำหนักไม่ได้ วิธีการทาบกิ่งแบบยกต้นทาบนี้ใช้เวลานานประมาณ 1 เดือน แผลจึงจะเริ่มสนิทกันแน่น ก่อนตัดกิ่งทาบลงมาอนุบาลต่อจะต้องควั่นเตือนใต้กิ่งพุทราพันธุ์ดีก่อนที่จะ ตัด ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นนำไปพักฟื้นต้นไว้อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ ใต้ตาข่ายพรางแสงเมื่อเห็นว่าต้นพุทรามีความแข็งแรงดี ก็นำไปปลูกได้ สำหรับการขยายพันธุ์อีกวิธีหนึ่งคือ การขยายพันธุ์พุทราแบบต่อยอด เกษตรกรจะต้องคัดเลือกนำเอาต้นตอพุทราป่าที่มีอายุต้น ประมาณ 8-9 เดือน (ต้นตอที่มีขนาดใหญ่จะต่อยอดได้ง่าย) ถุงที่ใช้เพาะต้นตอไม่ควรใช้ถุงที่มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะเมื่อนำมาอบในถุงพลาสติคจะได้ประหยัดถุงสำหรับอบ สำหรับยอดพันธุ์ดีพุทราไต้หวันจะต้องคัดเลือกยอดจากกิ่งกระโดง ไม่ควรใช้ยอดที่เกิดจากกิ่งแขนงที่ห้อย เนื่องจากเมื่อต่อติดแล้วนำไปปลูกในแปลงพบว่า ต้นจะเจริญเติบโตได้ช้ามาก ในกรณีที่มีต้นพันธุ์พุทราไต้หวันน้อยให้นำยอดพันธุ์มาตัดเป็นท่อนๆ ได้ ให้มีตาอย่างน้อยสัก 2 ตา หลังจากต่อยอดเสร็จ นำไปอบในถุงพลาสติคขนาดใหญ่ ใช้เวลาอบนานประมาณ 30-45 วัน มีข้อแนะนำว่าอย่ารดน้ำต้นตอจนแฉะเกินไป จะเกิดความชื้นในถุงอบมากเกินไป ทำให้เกิดเชื้อราเข้าแผลเน่า ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การติดน้อย ควรให้ดินของต้นตอมีความชื้นหมาดๆ ก็เพียงพอ สถานที่อบควรพรางแสงด้วยตาข่ายพรางแสง 70% หลังจากอบได้เวลา ค่อยๆ เปิดปากถุงทีละน้อย ในช่วงตอนเย็นทิ้งไว้อย่างนั้น 2-3 วัน จึงนำมาอนุบาลในตาข่ายพรางแสงต่อ
เทคนิคการเพาะเมล็ดพุทรา เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์
เมล็ด พุทรา ที่แนะนำให้มาใช้เพื่อทำต้นตอแนะนำให้ใช้เมล็ดพุทราจะดีที่สุด เมื่อเกษตรกรได้เมล็ดพุทรา ถ้าต้องการให้งอกเร็ว "เกษตรกรจะต้องทุบเอาเมล็ดข้างใน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเมล็ดกระถิน" เมื่อนำมาเพาะใส่ในถุงดำ จะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน เท่านั้น เมล็ดจะเริ่มงอก แต่ถ้าเพาะเมล็ดที่ไม่ได้ทุบจะใช้เวลานานนับเดือนกว่าเมล็ดจะงอกออกมา สำหรับอีกวิธีหนึ่งในการเพาะเมล็ดพุทราป่า โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน "เกษตรกรนำผลพุทราป่าที่สุกแล้วนำมาเป็นส่วนผสมของอาหารให้วัวหรือควายกิน เมื่อวัวและควายถ่ายมูลออกมา นำมูลที่มีเมล็ดพุทราติดมาไปหว่านในแปลงเพาะรดน้ำให้ชุ่มเมล็ดพุทราจะงอกออก มาภายใน 7 วัน" ต้นตอพุทราที่จะใช้ในการขยายพันธุ์จะต้องมีอายุ ประมาณ 8-9 เดือน
เทคนิคการฉีดพ่นสารเคมีในการปลูกพุทราไต้หวัน
สาร ปราบศัตรูพืชที่ใช้ในการฉีดพ่นให้กับพุทราไต้หวัน จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ถูกต้องและเหมาะสม จึงจะได้ผลผลิตที่ดี คุ้มต่อการลงทุน ถึงแม้พุทราจะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสารเคมี แต่ในช่วงออกดอกติดผลจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต การใช้สารเคมีจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ จะต้องฉีดพ่นสารเคมีให้ถูกต้อง หากเลือกใช้สารเคมีไม่ถูกจะมีผลทำให้พุทราได้รับผลกระทบเสียหายได้ เช่น ใบไหม้ ผลลาย ผิวดำ ผิวตกกระ เป็นขี้กลาก ผลเล็ก ผลบิดเบี้ยว และผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เป็นต้น
ข้อควรระวังในการใช้สารเคมี
1. สารเคมีที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย ฮอร์โมน และสารกำจัดศัตรูพืชที่ฉีดพ่นระยะพุทราออกดอกและติดผล ควรหลีกเลี่ยงยาที่เป็นน้ำสีดำหรือผสมน้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีดำ
2. หลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของน้ำมัน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยาร้อน"
3. สารเพิ่มประสิทธิภาพ หรือที่เรียกว่า "สารจับใบ" ควรลดอัตราการใช้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราที่แนะนำ
4. หลีกเลี่ยงสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผึ้งหรือแมลงที่มาช่วยผสมเกสรในช่วงออกดอก
5. ควรฉีดพ่นสารเคมีให้กับพุทราไต้หวันในตอนเช้า ในกรณีที่มีปุ๋ยทางใบและฮอร์โมนผสมด้วย ควรปรับหัวฉีดให้ฝอย แรงดันเหมาะสม หัวฉีดที่พ่นสารเคมีควรฉีดอยู่ห่างจากช่อดอก ประมาณ 1 เมตร ป้องกันการกระแทก ทำให้ดอกร่วง
6. ในช่วงฝนตกชุก โรคระบาดมาก ควรมีการฉีดพ่นตอนเย็น
สาร เคมีที่แนะนำให้ใช้ป้องกันและกำจัดแมลงในการปลูกพุทรา ในระยะออกดอกและติดผล ได้แก่ โปรวาโด, S-85 ฯลฯ สำหรับโรคสำคัญที่มักพบกับพุทรา ได้แก่ โรคแอนแทรกโนส ราดำ ฯลฯ ยาโรคพืชที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่ ฟลิ้นท์-แอนทราโคล (โดยเฉพาะในช่วงออกดอกติดผล และมีฝนตกมาอย่างต่อเนื่อง การฉีดพ่นสารฟลิ้นท์+แอนทราโคล จะช่วยทำให้การติดผลดีขึ้นมาก และดอกสะอาด) เมเจอร์เบน คาร์เบนดาซิม ฯลฯ ควรงดยาเชื้อราที่เป็นน้ำมัน
ปัญหา พุทราช่วงระยะออกดอกมักพบปัญหาไม่ติดผล ออกดอกแล้วร่วง อาจเป็นเพราะต้นยังไม่สมบูรณ์ ฝนตกชุก โรคระบาดรุนแรง หรือไม่มีแมลงผสมเกสร ทางชมรมเผยแพร่ฯ มีเคล็ดลับในการดูแลรักษาให้พุทราติดผลและผลผลิตมีคุณภาพ ดังต่อไปนี้
1. หลังตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยขี้วัวเก่า 10-20 กิโลกรัม (อายุ 1 ปี ขึ้นไป) และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
2. ช่วงบำรุงเลี้ยงต้นให้สมบูรณ์ 1-2 เดือนครึ่ง หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จ ใช้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูง สลับกับสูตรเสมอ เช่น 25-7-7, 16-16-16 ฯลฯ พร้อมกับฉีดพ่นปุ๋ยทางใบหรือฮอร์โมนพวกสาหร่าย เช่น แอ๊กกรีนผสมกับปุ๋ยน้ำ สูตร 18-6-6, 28-0-0, 12-12-12 ฯลฯ
3. ช่วงบำรุงดอก ปุ๋ยทางดิน ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24, 10-26-26 ฯลฯ ปุ๋ยทางใบฉีดพ่น สะสมและบำรุงดอก เช่น เฟอร์ติไจเซอร์ สูตร 10-52-17, 5-20-25 ไบโฟลานเหลือง ฯลฯ
4. ช่วงติดผล ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตรเสมอ เช่น 16-16-16, 19-19-19 ฯลฯ ทางใบฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ สูตร 12-12-12 +แคลเซียมโบรอนอี เพื่อให้ผลติดมากขึ้นและขยายขนาดผลให้โต
5. เมื่ออายุผลพุทรา 60 วัน ขึ้นไป ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตรที่มีตัวท้ายสูง เช่น สูตร 10-26-26, 13-13-21 ปุ๋ยทางใบใช้ปุ๋ยน้ำ สูตรเสมอ เช่น 12-12-12 ไฮโปส ก่อนเก็บเกี่ยว อายุ 3-4 เดือน ให้ฉีดพ่นโพแทสเซียมไนเตรต เพื่อเร่งความหวาน ปุ๋ยทางดินต้องใส่บ่อยครั้งขึ้นทุก 15 วัน เน้นปุ๋ยตัวท้ายสูงเพื่อเพิ่มความหวาน เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21, 0-0-60 ฯลฯ
เป็น ที่สังเกตว่า การปลูกพุทราไต้หวันในประเทศไทยขณะนี้จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักคือ พันธุ์ซื่อมี่ หรือพันธุ์นมสด มีพื้นที่ปลูกมากในเขตภาคหนือตอนบน สำหรับพันธุ์ซุปเปอร์จัมโบ้ที่มี คุณวารินทร์ ชิตะปัญญา เป็นผู้บุกเบิกการปลูกและมีปลูกกระจายในหลายพื้นที่ของภาคกลาง การปลูกพุทราไต้หวันให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องมีการจัดการสวนที่ถูกต้อง มีระบบการให้น้ำที่ดีและให้ปุ๋ยที่ถูกต้องถึงจะได้พุทราที่มีคุณภาพดี วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว โดยเก็บพุทราเข้าห้องเย็นที่ควบคุมอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อชะลอการขายเป็นเรื่องใหม่ที่เกษตรกรผู้ปลูกพุทราไต้หวันควรจะนำไป ปฏิบัติต่อได้
เอื้อเฟื้อข้อมูล เทคโนโลยีชาวบ้าน