ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกระท้อน (3775)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Sandoricum koetjape
ชื่อวงศ์: MELIACEAE
ชื่อสามัญ: Sentul, Santol, Red sentol, Yellow sentol
ชื่อพื้นเมือง: เตียน ล่อน สะท้อน มะต้อง มะติ๋น สตียา สะตู สะโต
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ
ใบ ใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว
ดอก ดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ
ฝัก/ผล ผล กลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง
เมล็ด เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก: ธันวาคมถึง เดือนมกราคมของทุกปี
การปลูก: ปลูกแบบสวนยกร่อง และสวนที่ดอน
การขยายพันธุ์:
- การเพาะเมล็ด ทำได้ง่ายแต่มักกลายพันธุ์
- การทาบกิ่ง
- การเสียบยอด
- การติดตา
- การตอนกิ่ง ไม่นิยมเพราะออกรากยาก
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอก
การใช้ประโยชน์:
- ไม้ประดับ
- ไม้ใช้สอย
- สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด: แถบมลายูและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร
แหล่งที่พบ: ทุกภาคทั่วประเทศ
ส่วนที่ใช้บริโภค: กินได้ทั้งเนื้อที่เป็นปุยสีขาวและเนื้อไต้เปลือกนิยมกินเป็นผลไม้สดจิ้ม พริกกับเกลือ หรือน้ำปลาหวาน ใช้ปรุงเป็นอาหารคาวหวานได้หลายชนิด เช่น แกงกบกระท้อน แกงอ่อมปลาดุก แกงฮังเลกระท้อน แกงคั่วกระท้อน (แทนสับประรด) ผัดเมี่ยง ตำกระท้อน กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว น้ำกระท้อน กระท้อนดอง กระท้อนในน้ำเชื่อม กระท้อนแช่อิ่ม แยมกระท้อน กระท้อนกวน และเยลลี่กระท้อน เป็นต้น
สรรพคุณทางยา:
- ใบสด ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้
- เปลือก รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
- ผล ฝาดสมาน เป็นอาหาร
- ราก เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้
ชื่อวงศ์: MELIACEAE
ชื่อสามัญ: Sentul, Santol, Red sentol, Yellow sentol
ชื่อพื้นเมือง: เตียน ล่อน สะท้อน มะต้อง มะติ๋น สตียา สะตู สะโต
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ
ใบ ใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว
ดอก ดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ
ฝัก/ผล ผล กลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง
เมล็ด เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก: ธันวาคมถึง เดือนมกราคมของทุกปี
การปลูก: ปลูกแบบสวนยกร่อง และสวนที่ดอน
การขยายพันธุ์:
- การเพาะเมล็ด ทำได้ง่ายแต่มักกลายพันธุ์
- การทาบกิ่ง
- การเสียบยอด
- การติดตา
- การตอนกิ่ง ไม่นิยมเพราะออกรากยาก
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอก
การใช้ประโยชน์:
- ไม้ประดับ
- ไม้ใช้สอย
- สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด: แถบมลายูและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร
แหล่งที่พบ: ทุกภาคทั่วประเทศ
ส่วนที่ใช้บริโภค: กินได้ทั้งเนื้อที่เป็นปุยสีขาวและเนื้อไต้เปลือกนิยมกินเป็นผลไม้สดจิ้ม พริกกับเกลือ หรือน้ำปลาหวาน ใช้ปรุงเป็นอาหารคาวหวานได้หลายชนิด เช่น แกงกบกระท้อน แกงอ่อมปลาดุก แกงฮังเลกระท้อน แกงคั่วกระท้อน (แทนสับประรด) ผัดเมี่ยง ตำกระท้อน กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว น้ำกระท้อน กระท้อนดอง กระท้อนในน้ำเชื่อม กระท้อนแช่อิ่ม แยมกระท้อน กระท้อนกวน และเยลลี่กระท้อน เป็นต้น
สรรพคุณทางยา:
- ใบสด ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้
- เปลือก รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
- ผล ฝาดสมาน เป็นอาหาร
- ราก เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้