ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นบุนนาค ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ วิธีการดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นบุนนาค : Mesua ferrea L.
ชื่อภาษาอังกฤษของต้นบุนนาค : Ironwood, Ceylon Iron Wood
ชื่ออื่นๆ : สารภีดอย,นาคบุตร, ปะนาคอ
ลำต้นของต้นบุนนาค : เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปเจดีย์ต่ำ เป็นพุ่มทึบ ลำต้นเปลาตรง มีพูพอนเล็กน้อยตามโคนต้น กิ่งก้านเรียวเล็กห้อยลง เนื้อไม้สีแดงคล้ำ เป็นมันเลื่อม เปลือกชั้นในมีน้ำยางสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย
ใบของต้นบุนนาค : เป็นใบเดี่ยว รูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบสอบ ผิวใบเรียบเกลี้ยง สีเขียวเข้ม ด้านล่างมีคราบขาวนวล ใบอ่อนสีชมพู แผ่นใบหนา ขอบใบเรียบ ใบเขียวเข้มตลอดปี
ดอกของต้นบุนนาค : ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ดอกมีกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน ดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น
ผลของต้นบุนนาค : แบบมีเนื้อ รูปไข่ ปลายแหลมโค้ง เปลือกแข็ง
เมล็ดของต้นบุนนาค : แบนรูปไข่ สีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ของต้นบุนนาค
การเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
การดูแลต้นบุนนาค
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง หรือมาก ชอบแดดจัดเจริญเติบโตช้า
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นบุนนาค
- ราก แก้ลมในลำไส้
- เปลือก ใช้กระจายหนอง
- กระพี้ แก้เสมหะในลำคอ
- ใบ พอกแผลสด แก้พิษงู
- ดอก บำรุงโลหิต ระงับกลิ่นตัว
- แก่น เป็นยาแก้ลักปิดลักเปิด
- เกสร บำรุงครรภ์ ทำให้ชื่นใจ แก้ไข้
- ผล ขับเหงื่อ ฝาดสมาน
ประโยชน์ของต้นบุนนาค
- นิยมปลูกให้ร่มเงา
- ยอดอ่อนสีชมพูอ่อนมีรสเปรี้ยว อมฝาด นิยมนํามาเป็นผักจิ้ม
- ดอก ใช้ผสมสี เพื่อช่วยให้สีติดคงทน
- เมล็ด กลั่นน้ำมันใช้จุดตะเกียง และทำเครื่องสำอาง
- ดอกและเมล็ดของบุนนาค สามารถนำมาใช้กลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหย นำมาใช้ในการอบเครื่องหอมได้เป็นอย่างดี และยังใช้ในการแต่งกลิ่นสบู่ น้ำหอมและเครื่องสำอาง
- เนื้อไม้เหนียวแข็ง ทนทาน ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ ก่อสร้าง ต่อเรือ ทำพานท้าย และรางปืน และด้ามร่ม