ลักษณะพฤกษศาสตร์ต้นไก่ฟ้า (3423)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Aristolochia ringens Vahl.
ชื่อวงศ์: ARISTOLOCHIACEAE
ชื่อสามัญ: -
ชื่อพื้นเมือง: นกกระทุง ไก่แก้ว
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อย ต้นหรือเถา สามารถเลื้อยได้ไกลเกินกว่า 5 เมตร ลำต้นหรือเถามีต่อมเป็นจุดๆกระจายทั่ว
ใบ ใบเดี่ยวรูปหัวใจ ปลายมนถึงแหลม โคนเว้าลึก สีเขียวสด ขนาดใบกว้าง ก้านใบสั้น เวลาใบ ดกจะหนาทึบมาก
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบ ก้านดอก ยาว เหนียวและแข็งแรง ดอกเป็นสีชมพูอ่อนมีลายเป็นเส้นคล้ายเส้นตาข่าย เป็นสีม่วงแดง กลีบดอกมีชั้นเดียว โคนเชื่อมกันเป็นกระเปาะขนาดใหญ่เท่า กับตัวไก่รุ่นกระทงจริงๆ โดยส่วนหัวของดอกจะเป็น รูปทรงคล้ายคอไก่กำลังชูคอขัน ปลายดอกเป็นหางยาวเกือบ 1 ฟุต ซึ่งเมื่อคลี่กระจาย กลีบออกจะดูคล้ายหางไก่สีแดงเข้ม สวยงามมาก มีเกสรตัวผู้ซ่อนอยู่ภายในกระเปาะที่เป็นรูปลำตัวไก่
ฝัก/ผล เป็นรูปทรงกระบอก มี 6 สัน เมื่อผลแก่ แตกได้เป็นรูปคล้ายกระเช้า
เมล็ด รูปหัวใจ มีปีกคล้ายนุ่นติดที่ปลายเมล็ดด้านหนึ่ง
ฤดูกาลออกดอก: ออกตลอดปี โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์: การเพาะเมล็ด และการปักชำ
การใช้ประโยชน์: เป็นไม้ประดับ รูปทรงของดอกแปลกตาสวยงามให้ต้นหรือเถาเลื้อย พันรั้ว พันซุ้มประตู ปลูกให้เลื้อยหรือไต่ซุ้มดอกเห็ดแล้วทำม้านั่งรอบโคนต้น และปลูกเป็นอาหารสำหรับตัวอ่อนของผีเสื้อ
ถิ่นกำเนิด: อเมริกาเขตร้อน
แหล่งที่พบ: ทุกพื้นที่
ชื่อวงศ์: ARISTOLOCHIACEAE
ชื่อสามัญ: -
ชื่อพื้นเมือง: นกกระทุง ไก่แก้ว
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อย ต้นหรือเถา สามารถเลื้อยได้ไกลเกินกว่า 5 เมตร ลำต้นหรือเถามีต่อมเป็นจุดๆกระจายทั่ว
ใบ ใบเดี่ยวรูปหัวใจ ปลายมนถึงแหลม โคนเว้าลึก สีเขียวสด ขนาดใบกว้าง ก้านใบสั้น เวลาใบ ดกจะหนาทึบมาก
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบ ก้านดอก ยาว เหนียวและแข็งแรง ดอกเป็นสีชมพูอ่อนมีลายเป็นเส้นคล้ายเส้นตาข่าย เป็นสีม่วงแดง กลีบดอกมีชั้นเดียว โคนเชื่อมกันเป็นกระเปาะขนาดใหญ่เท่า กับตัวไก่รุ่นกระทงจริงๆ โดยส่วนหัวของดอกจะเป็น รูปทรงคล้ายคอไก่กำลังชูคอขัน ปลายดอกเป็นหางยาวเกือบ 1 ฟุต ซึ่งเมื่อคลี่กระจาย กลีบออกจะดูคล้ายหางไก่สีแดงเข้ม สวยงามมาก มีเกสรตัวผู้ซ่อนอยู่ภายในกระเปาะที่เป็นรูปลำตัวไก่
ฝัก/ผล เป็นรูปทรงกระบอก มี 6 สัน เมื่อผลแก่ แตกได้เป็นรูปคล้ายกระเช้า
เมล็ด รูปหัวใจ มีปีกคล้ายนุ่นติดที่ปลายเมล็ดด้านหนึ่ง
ฤดูกาลออกดอก: ออกตลอดปี โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์: การเพาะเมล็ด และการปักชำ
การใช้ประโยชน์: เป็นไม้ประดับ รูปทรงของดอกแปลกตาสวยงามให้ต้นหรือเถาเลื้อย พันรั้ว พันซุ้มประตู ปลูกให้เลื้อยหรือไต่ซุ้มดอกเห็ดแล้วทำม้านั่งรอบโคนต้น และปลูกเป็นอาหารสำหรับตัวอ่อนของผีเสื้อ
ถิ่นกำเนิด: อเมริกาเขตร้อน
แหล่งที่พบ: ทุกพื้นที่