ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นโมกมัน ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia pubescens R. Br.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Ivory wood, Darabela, Karingi, Lanete
ชื่ออื่นๆ : โมกน้อย, มูกมัน, มูกน้อย,โมกมันเหลือง, บักมัน
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงกลมทึบ เปลือกสีขาว สีเทาอ่อนถึงน้ำตาล แตกตามร่องตามยาวมีน้ำยางเหนียวสีขาว กิ่งใบและยอดอ่อนมีขนนุ่ม ปกคลุม
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปรีป้อมหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม หรือ เรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบใบบางคล้ายแผ่นกระดาษ แผ่นใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน มีขนสั้นนุ่มประปราย
ดอก : ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกจะมีสีขาวอมเหลืองข้างนอกเป็นสีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอม
ผล : เป็นฝักรูปทรงกระบอก พื้นผิวฝักเกลี้ยงหรือขรุขระ ฝักเมื่อแก่จะแห้งและแตกออกได้
เมล็ด : รูปรี หรือ รูปแถบสีเหลือง ที่ปลายด้านหนึ่งมีขนสีขาวเป็นพู่ติดอยู่ ซึ่งสามารถทำให้ปลิวไปตามลมได้ไกล
การขยายพันธุ์ของต้นโมกมัน
การเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
การดูแลต้นโมกมัน
ปลูกได้ในดินทุกประเภท ต้องการความชื้นปานกลาง ชอบแดดจัด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นโมกมัน
- เปลือก ใช้รักษาโรคไต ทำให้เจริญอาหาร รักษาธาตุให้ปกติ ทำให้ประจำเดือนมาปกติ แก้พิษสัตว์กัดต่อย ฆ่าเชื้อรำมะนาด
- ดอก ใช้เป็นยาระบาย
- ใบ ขับเหงื่อ แก้ตับพิการ ขับน้ำเหลืองเสีย แก้ท้องมาน
- ผล แก้โรครำมะนาด แก้ฟันผุ
- กระพี้ บำรุงถุงน้ำดี
- แก่น ขับโลหิตเสีย บำรุงถุงน้ำดี แก้ดีพิการ
- ราก ขับลม รักษาวัณโรค แก้ท้องมาน แก้ตับพิการ ขับน้ำเหลืองเสีย
- ยางจากต้น ช่วยแก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
ประโยชน์ของต้นโมกมัน
- ยอดอ่อนใช้ลวกจิ้มรับประทานได้
- เปลือก ใช้ทำกระดาษและใช้แทนใยจากฝ้ายได้
- เปลือก นำมาสกัดทำเป็นสีย้อมเส้นไหม ให้สีเขียวอ่อน
- นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับตาม ตกแต่งสวน เหมาะนำไปปลูกในสวนป่า ปลุกให้ร่มเงา ให้ร่มเงาได้ดี
- เนื้อไม้ ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์