ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นแปะตำปึง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุรนไพร และประโยชน์ของต้นแปะตำปึง
ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นแปะตำปึง
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura Divaricata (L.) DC.
- ชื่อภาษาอังกฤษ : Purple passionvine, Purple velvel plant
- ชื่ออื่นๆ : จักรนารายณ์, ว่านกอบ, ใบเบก, ผักพันปี, แป๊ะตำปึง
- ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุกอวบน้ำ ทรงพุ่มเตี้ย ลำต้นเรียบ มีขนนุ่มสั้น ลำต้นสีเขียว หรือสีเขียวมีลายสีม่วง
- ใบ : เป็นใบเดี่ยว ขอบใบหยัก รูปคลื่น แผ่นใบหนา ฉ่ำน้ำ ก้านใบยาว ใบมี 2 แบบ คือ แบบกลม และแบบรี ใบกลม จะเรียกว่า “แปะตําปึง” ลักษณะของใบหนา มีขนหนานุ่มคล้ายกำมะหยี่ทั้งสองด้าน ใบเป็นสีเขียวอ่อน เส้นใบด้านหลังลึก แต่ด้านท้องใบกลับนูน กิ่งก้านเป็นสีเขียวปนสีแดง เปราะและหักง่าย ส่วนใบรี จะเรียกว่า “จินฉี่เหมาเยี่ย” ใบจะค่อนข้างยาวและแหลมกว่า ผิวใบค่อนข้างเรียบ มีขนน้อย
- ดอก : ออกเป็นช่อปลายยอดลำต้น ดอกคล้ายดาวเรืองแต่เล็กกว่า ดอกสีเหลือง ใบประดับเล็กๆ รูปแถบ หรือเป็นเส้นรูปกรอบเกลี้ยหลายอัน มีวงใบประดับรองรับช่อดอกรูปคล้ายระฆัง ออกดอกตลอดปี
- ผล : เป็นแบบผลแห้ง
- เมล็ด : เป็นเมล็ดล่อน รูปทรงกระบอกสีน้ำตาล มีขนประปรายสีขาว ลักษณะเป็นขนอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหม
การขยายพันธุ์ของต้นแปะตำปึง
โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำ
การดูแลต้นแปะตำปึง
ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำมาก ชอบแดดรำไรถึงแดดจัด โตเร็ว
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นแปะตำปึง
ช่วยฟอกโลหิตสตรี ขับสารพิษต่างๆ รักษาเริม งูสวัด ลดความดันโลหิต บรรเทาอาการภูมิแพ้ บำบัดโรคริดสีดวงทวาร แก้เบาหวาน ขับลม รักษาโรคกระเพาะ
ประโยชน์ของต้นแปะตำปึง
ใบใช้รับประทานเป็นผักสดหรือใช้ประกอบอาหาร หรือเป็นเครื่องเคียงอาหารกับลาบ น้ำตก ส้มตำ นิยมปลูกเป็นไม้คลุมดิน