ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นเสี้ยวป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์
ชื่ออื่นๆ : คิงโค, ชงโค, ส้มเสี้ยว, ส้มเสี้ยวโพะ, เสี้ยวดอกขาว
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใย ลำต้นขรุขระ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา ทรงพุ่มกลมเตี้ย กิ่งก้านคดงอ เนื้อไม้เปราะและหักง่าย ลายไม้ไม่เป็นระเบียบ
ใบ : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปไข่กว้าง ปลายแหลม แยกเป็น 2 พู โคนรูปหัวใจ ขอบเรียบ ใบบาง แผ่นใบสีเขียว ใต้ใบมีขนสั้นและบาง เส้นกลางใบเป็นร่องตื้น ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีหูใบขนาดเล็ก
ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ออกดอกดก มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
ผล : เป็นฝักแห้งแตกแบน รูปดาบ ช่วงปลายกว้างและโค้ง ปลายผลแหลม เปลือกสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องยาวตื้นและลึก
เมล็ด : แบนกลม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia saccocalyx Pierre
ชื่อภาษาอังกฤษ : orchid tree, purple Bauhinai
การขยายพันธุ์ของต้นเสี้ยวป่า
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ
การดูแลต้นเสี้ยวป่า
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง แสงแดดปานกลาง
ประโยชน์ของต้นเสี้ยวป่า
- ปลูกประดับสวนหรือปลูกเป็นไม้ประดับริมทาง ปลูกให้ร่มเงา
- ดอก มีน้ำหวานเป็นอาหารเลี้ยงผึ้ง
- ลำต้น ใช้ทำเป็นเสาค้ำยันให้แก่บางส่วนของบ้านได้