ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นเต่าร้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caryota mitis Lour.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm, Burmese fishtail palm, Clustered fishtail palm, Tufted fishtail palm
ชื่ออื่นๆ : เต่าร้างแดง, เชื่องหมู่, มะเด็ง, งือเด็ง
ลำต้น : เป็นปาล์มแตกกอ ลำต้นเดี่ยว กลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่ง เห็นข้อปล้องชัดเจน เรือนยอดทึบ ผิวลำต้นสีเขียวถึงสีเทาอมเขียว หลังออกดอกเป็นผลแล้วต้นจะค่อยๆ ตายไป
ใบ : เป็นใบประกอบขนนกสองชั้น แผ่นใบรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า ปลายแหลมคล้ายหางปลา โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนาสีเขียวเป็นมัน ขอบใบหยักเว้าไม่สม่ำเสมอ กาบใบยาว โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และรยางค์สีน้ำตาลปกคลุม
ดอก : ออกเป็นช่อระหว่างกาบใบและใต้โคนกาบใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ร่วมต้น ดอกเพศผู้ดอกสีเหลืองนวล ไม่มีก้าน ดอกเพศเมียสีเขียวอ่อน เป็นพวง
ผล : เป็นผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียวทรงกลม ออกเป็นพวง ผลดิบสีเขียวแกมเหลือง ผลสุกสีแดงคล้ำหรือสีดำ
การขยายพันธุ์ของต้นเต่าร้าง
เพาะเมล็ด แยกกอหรือหน่อ
การดูแลต้นเต่าร้าง
ปลูกได้ในดินร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดเต็มวัน ทนดินเค็ม การเจริญเติบโตช้า
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเต่าร้าง
- หัวและราก ดับพิษที่ตับ ปอด และหัวใจพิการ
- ผลแก่ ใช้ในการสมานแผล ทำให้แผลแห้งและตกสะเก็ดไวขึ้น
ประโยชน์ของต้นร้าง
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
- ยอดอ่อน นำมาประกอบอาหาร
- ผลสุก นำมารับประทานสดมีรสชาติหวาน
- ช่อดอก สามารถปาดเอาน้ำหวานมาผลิตเป็นน้ำตาล
- ใบ สามารถนำมามุงหลังคา
- เส้นใบจากกาบใบ ใช้ทำเป็นเชือกสำหรับผูกของ หรือ นำไปเป็นเครื่องจักรสาน
- แกนในของลำต้นในส่วนที่มีความอ่อน นำมาประกอบอาหาร