ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นหางนกยูงฝรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ข้อเสีย สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Delonix regia (Bojer Ex Hook.) Rafin
ชื่อภาษาอังกฤษ : Flambuoyant tree, Flame of the forest, Peacock flower
ชื่ออื่นๆ : อินทรี, หงอนยูง, นกยูง, ยูงทอง, ชมพอหลวง
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้างทรงกลมคล้ายร่ม เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมขาว ถึงสีน้ำตาลเข้ม โคนต้นเป็นพูพอน มักมีรากโผล่พ้นดินออกโดยรอบเมื่อโตเต็มที่
ใบ : เป็นใบประกอบขนนกสองชั้นเรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายกลมโคนเบี้ยว ผิวใบเกลี้ยง ขอบเรียบ
ดอก : ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง และตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกมีหลากหลายสี
ผล : เป็นฝักแบนโค้งรูปดาบ ขอบขนาน ผนังผลแข็ง สีเขียว เมื่อแห้งสีน้ำตาลอมดำ
เมล็ด : สีน้ำตาล ขอบเมล็ดสีอ่อนกว่า แบน รูปขอบขนานหรือรูปรี เรียงตามขวาง
การขยายพันธุ์ของต้นหางนกยูงฝรั่ง
เพาะเมล็ด
การดูแลต้นหางนกยูงฝรั่ง
ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด ทนทานต่อความแห้งแล้ง ดินเลว เจริญเติบโตเร็ว
ข้อเสียของต้นหางนกยูงฝรั่ง
ควรปลูกในบ้านที่มีบริเวณกว้าง เพราะลำต้นและรากมีขนาดใหญ่มาก อาจก่อความเสียหายกับสิ่งปลูกสร้าง เมื่อผลัดใบอาจทำให้ท่อระบายน้ำอุดตันได้
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นหางนกยูงฝรั่ง
- ราก เป็นยาขับโลหิตในสตรี แก้อาการบวมต่าง ๆ
- ลำต้น แก้พิษ ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
ประโยชน์ของต้นหางนกยูงฝรั่ง
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ร่มเงาบริเวณ อาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการ ริมถนน และในสวนสาธารณะ
- เมล็ดอ่อน สามารถรับประทานสดได้
- ดอก นำมาไล่แมลงหวี่ได้