ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นหยีน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pongamia pinnata (L.) Pierre
ชื่ออื่นๆ : หยีทะเล
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น เรือนยอดแผ่กว้าง ลำต้นมักคดงอ แตกกิ่งมาก เปลือกเรียบ สีเขียวแกมน้ำตาล ถึงน้ำตาลเทาคล้ำ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ แผ่นใบ รูปไข่ รูปขอบขนานหรือ รูปขอบขนานแกมรี เรียงจากเล็กไปหาใหญ่ ปลายใบเรียวแหลมฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เปลือกชั้นในสีน้ำตาลอ่อนประขาว ผิวเปลือกสีเขียว
ดอก : ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเป็นดอกสีขาวก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีชมพู ออกดอกเดือนมกราคม-พฤษภาคม
ผล : เป็นฝัก หนา โป่งออก รูปขอบขนาน โค้งเล็กน้อย ปลายฝักมีจะงอยสั้นๆ ผลเกลี้ยง เมื่อแก่สีน้ำตาล ฝักไม่แตก
เมล็ด : สีแดงคล้ำรูปโล่แกมรูปขอบขนาน
การดูแลต้นหยีน้ำ
- เจริญได้ดีในพื้นที่แห้งแล้ง ทนดินเค็ม ทนทานต่อสภาพแวดล้อม
- เป็นพืชตระกูลถั่วสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย
- มีรากฝอยหนาแน่น และรากแก้วที่หยั่งลงดินลึกมาก ทั้งมีร่มเงาทึบช่วยให้การระเหยน้ำจากผิวดินช้าลง ทนต่ออุณหภูมิสูง ได้ถึง 50 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ในที่แห้งแล้ง
- ทุกส่วนของต้นเป็นพิษทำให้ศัตรูพืชตามธรรมชาติน้อย
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นหยีน้ำ
เปลือก แก้ปวดฟัน รักษาแผลในปาก แก้รำมะนาดเลือดออกตามไรฟัน แก้ไข้ โรคขาดสารอาหารในเด็ก แก้หิดด้าน รักษาโรคผิวหนัง
ประโยชน์ของต้นหยีน้ำ
- เนื้อไม้ใช้ทำฟืน เสารั้ว ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร
- ใบและฝักหยีน้ำมีไนโตรเจนสูง เป็นแหล่งของปุ๋ยพืชสดที่ดี
- เมล็ดหยีน้ำประกอบด้วยน้ำมัน มีพิษ ใช้เป็นน้ำมันตะเกียงและน้ำมันหล่อลื่น ใช้ผลิตไบโอดีเซล
- ปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน หรือปลูกเป็นไม้ประดับ
- เปลือกไม้ มีกัมสีดำ ใช้แก้พิษปลา
- กากของเมล็ดที่สกัดน้ำมันแล้วมี โปรตีนสูง เมื่อขจัดสารพิษออกแล้ว สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้